สรุปเนื้อหาสอบสภาคร่าวๆวิชาชุมชนและการรักษาโรคเบื้องต้น

สรุปเนื้อหา  วิชา อนามัยชุมชนและการรักษาโรคเบื้องต้น
##(เก็งข้อสอบ)####
1.การสาธารณสุข
§  เป้าหมายของการสาธารณสุข คือ ประชาชนมีสุขภาพดีสามารถเพิ่งพาตนเองได้มีส่วนร่วมในทุกภาคส่วน(ให้ชุมชนมีส่วนร่วม ยึดชุมชนเป็นศูนย์กลาง สร้างพลังอำนาจพึ่งตนเองได้)
§  เป้าหมายที่สำคัญที่สุดของการพยาบาลอนามัยชุมชน คือ ต้องการให้สมาชิกในครอบครัวมีพฤติกรรมที่ถูกต้อง
§  โรคติดต่อครั้งแรกในไทย(ยุครัตนโกสินทร์) มีการจัดการสืบสวนและป้องกันโรค โดย หมอ บรัดเลย์
§  กลวิธีในการพัฒนาระบบบริการสาธารณสุขให้สำเร็จและยั่งยืน คือ ส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมให้มากที่สุดในการแก้ไขปัญหาด้วยตัวเอง
§  บัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า เป็นการบริการทางสาธารณสุขที่ส่งเสริมในเรื่องความเท่าเทียมกัน
§   
Key word บทนี้  =ดูแลต่อเนื่อง องค์รวม ผสมผสาน สร้างความเข้มแข็ง ความร่วมมือ คนส่วนใหญ่ กลุ่มเสี่ยง
สาระสำคัญ/แนวคิดหลักแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ
ฉบับที่ 1 2504-2509 =เน้นซ่อมมากกว่าสร้างการบริการสาธารณสุขไม่ทั่วถึง
ฉบับที่2 2510-2514=เน้นซ่อมมากกว่าสร้างเพิ่มการผลิตบุคลากรสาธารณสุข ขยายบริการให้ครอบคลุม
ฉบับที่ 3 2515-2519=บริการวางแผนครอบครัวอนามัยแม่และเด็กเน้นการกระจายอำนาจ
ฉบับที่ 4 2520-2524 =ฝึกอบรมผู้ช่วยสาธารณสุข (ผสส.) และ(อสม.) เน้นการมีส่วนร่วม
ของประชาชนโดยจัดโครงการสาธารณสุขมูลฐาน
ฉบับที่ 5 2525-2529=การเร่งรัดดำ เนินงานสาธารณสุขมูลฐาน ให้ประชาชนมีส่วนใช้สาธารณสุขมูลฐานในการพัฒนา
ฉบับที่ 6 2530-2534=การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนซึ่งมีเป้าหมาย สุขภาพดีถ้วนหน้า
ฉบับที่ 7 2535-2539=ครอบครัวในเขตเมือง ชนบท มีความสามารถในการดูแลสุขภาพตนเองและบรรลุคุณภาพชีวิต โดยอาศัยกลวิธีทางสาธารณสุขมูลฐาน
ฉบับที่ 8 2540-2544=ประชาชนทุกระดับ สามารถดูแลสุขภาพตนเองให้มีสุขภาพดีทั้งร่างกายและ
จิตใจ ตลอดจนมีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาสาธารณสุขของชุมชน
ฉบับที่ 9 2544-2549=เน้นการประสานพลังทุกภาคส่วน โครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า
ฉบับที่ 10 2550-2554=ระบบสุขภาพไทยมุ่งสู่ระบบสุขภาพพอเพียง เพื่อสร้างให้ สุขภาพดี บริการดี สังคมดีชีวิตมีความสุขอย่างพอเพียง
ฉบับที่ 11 2555-2559=ใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียง สร้างกระบวนการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน การสร้าง
หลักประกันสุขภาพให้บริการที่ครอบคลุม เป็นธรรม รวมถึงการใช้ภูมิปัญญาไทย สังคมสุขภาวะ

2. วิทยาการระบาด         
·       การศึกษาวิทยาการระบาด หมายถึง การศึกษาเพื่อทราบถึงลักษณะและการกระจายของโรคของกลุ่มบุคคลในชุมชน
·       ประโยชน์ในการป้องกันและควบคุมโรคแก้ไขปัญหาสุขภาพ ค้นหาสาเหตุของโรคและปัจจัยที่เสี่ยงต่อการเกิดโรค ช่วยในการสืบหาสาเหตุของการเกิดโรค เป็นแนวทางในการเฝ้าระวังโรค หาข้อเท็จจริงนำไปสู่การตั้งสมมุติฐานการเกิดโรค
         ศาสตร์ที่ต้องใช้มากที่สุดในการแสดงสาเหตุของการเกิดโรคได้มากที่สุด คือ สถิติเพื่อการวิจัย
การศึกษาการกระจายโรค (Distribution)   
*    1. การศึกษาการกระจายโรคในแง่บุคคล(Person) อายุและเพศ เชื้อชาติรายได้อาชีพ ศาสนา
*    2. การกระจายโรคตามสถานที่ (Place) บริเวณที่ราบสูงเป็นภูเขาพบ Goiter สูง ภาคใต้พบได้น้อย
*     3. การกระจายโรคตามเวลา (Time) การเปลี่ยนแปลงในระยะเวลาสั้นๆ (Short-term variation)   
-Sporadic หมายถึงโรคที่เกิดขึ้นนานๆครั้ง
-Endemic หมายถึงโรคที่เกิดขึ้นในท้องถิ่น หมู่บ้าน
-Epidemic หมายถึง โรคระบาดขึ้นมาผิดปกติจากที่เคยเป็นอยู่ในท้องถิ่น โรคที่ไม่เคยเกิดในท้องถิ่นแล้วเกิดขึ้นและมีการแพร่ กระจายออกไป
-Pandemic หมายถึงโรคที่ระบาดไปทั่วหลายประเทศ หรือทั่วโลก
*      EXP.ถ้าท่านเป็นพยาบาลชุมชนได้รับรายงานว่ามีคนป่วยด้วยโรคอหิวาห์ท่านจะดำเนินการสืบสวนโรคอย่างไร=ศึกษาข้อมูลว่าใครป่วย ที่ไหน เวลาใด(time person place)
*      EXP.ผู้ที่แพร่กระจายเชื้อมากที่สุด คือผู้ที่ไม่แสดงอาการของโรค Asymtomatic carrier
*      EXP.การติดเชื้อจากมารดาสู่ลูกเป็นการแพร่กระจายเชื้อโดยตรง

         John Gordon ได้มีการอธิบายธรรมชาติของการเกิดโรคระบาด ในระยะ prepathogenesis record ไว้ว่า เกิดจากความไม่สมดุลของปัจจัยการเกิดโรค สามปัจจัย(3 factor are in unquilibium stage)คือ host agent environment (ระยะ pathogenesis record)และเมื่อเกิด ความไม่สมดุลแล้วจะมีปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นระหว่าง3ปัจจัยคือ เกิด 5 D,s
         สิ่งแวดล้อมที่ทำให้เกิดโรคมีหลายด้าน เช่น
-          Socio-economic environment
-          Chemical environment
-          Physical environment
-          Biological environment
ต้องทราบว่าการเกิดโรคแต่ละชนิดนั้น เกิดจากสิ่งแวดล้อมอะไร เช่น
*    การเกิดโรค COPD  เกิดจาก Chemical environment คือสารนิโคตินจากบุหรี่ เป็นต้น
*    สารอฟาทอกซินในถั่วลิสงที่ทำให้เกิดโรคมะเร็ง เกิดจาก Physical environment (สิ่งแวดล้อมทางกายภาพที่ทำให้เกิดโรค)
*    การที่ชาวญี่ปุ่นและจีนนิยมทานอาหารที่ร้อนๆจึงพบการป่วยด้วยโรคมะเร็งหลอดอาหาร เพราะฉะนั้นโรคนี้เกิดจาก วัฒนธรรมและเชื้อชาติ  
v การศึกษาสาเหตุของการเกิดโรค
1.  มีความสมดุลระหว่าง H A และ E จะไม่มีโรคหรือการระบาดของโรคเกิดขึ้น 
2. เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงของ Agent 
- จำนวนมากขึ้น- เป็นสิ่งใหม่ (new agent)
- การผ่าเหล่า (mutation) ซึ่งเท่ากับเป็นการเพิ่มน้ำหนักของ A ทำให้คานเอียงไปเสียความสมดุลย์ หมายถึงมีการเกิดโรคขึ้น
   3. เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงของ Host - ไม่มีภูมิคุ้มกันโรคต่าง ๆ - ความหนาแน่นของประชากร- สัดส่วน ที่มีความไวต่อโรคเพิ่มมากขึ้น- มีอายุมาก สูงขึ้นซึ่งเท่ากับเป็นการเพิ่มน้ำหนักของ H ทำให้คานเอียงไป หมายถึงการเกิดโรคขึ้น
4 .การเปลี่ยนแปลงของ Environment ช่วยสนับสนุนการแพร่กระจายของAgentเช่น - ฝนตกน้ำท่วมขังเป็นการส่งเสริมการแพร่พันธ์ยุงลาย ยุงก้นปล่อง ,คนมีฐานะดีจึงเป็นเบาหวาน
5.การเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมทำให้ความไวของการติดเชื้อของ Host เพิ่มขึ้นได้แก่ ฤดูฝนทำให้ไม่สามารถนำสัตว์ออกไปนอกโรงเรือนได้ ต้องอยู่รวมกันหนาแน่น เป็นการเพิ่มโอกาสในการแพร่โรค
§  อุบัติเหตุยานยนต์ในกรุงเทพ ส่วนใหญ่เป็นรถมือสอง ขนาดเล็กและเกิดมากในเวลาจราจรคับคั่ง แสดงความสัมพันธ์ของ agent and environment
 ดัชนีอนามัย (Health Index) ที่ใช้บ่อย (ต้องจำ)  
*    rate เป็นการเปรียบเทียบจำนวนของเหตุการณ์ที่สนใจในช่วงระยะเวลาหนึ่งต่อจ ำนวน ประชากรที่เกี่ยวข้อง 
*    ratio and proportion เป็นการเปรียบเทียบจำนวน 2 จำนวนของสิ่งที่สนใจ ศึกษาซึ่งเกิดขึ้นในขณะเดียวกัน ณ ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง
*     prevalence rate = จำนวนคนที่เป็นโรคต่อจำนวนประชากร ทั้งหมดในระยะเวลาที่กำหนดหรือจำนวนประชากรกลางปี(หน่วย คือ จำนวนประชากร 1,000 คนต่อปี) 
PR = จำนวนคนที่เป็นโรคที่พบ (new + old case) X 1000  /จำนวนประชากรทั้งหมดในช่วงเวลานั้น
*    incidence rate = จำนวนผู้ป่วยใหม่ (new case) ที่พบต่อ จำนวนประชากรทั้งหมดที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคในปีที่กำหนด (หน่วย คือ จำนวนประชากร 1,000 คนต่อปี)
 IR = จำนวนคนที่เป็นโรค (new case) X 1000  /จำนวนประชากรที่เสี่ยงต่อการเกิดโรค
*    สูตรการคำนวณอัตราการเกิดของทารก =(อัตราการเกิดของทารก/จำนวนประชากรในปีนั้น)*100
*    อัตราเจริญพันธุ์ทั่วไป (general fertility rate) =จำนวนเด็กเกิดมีชีพต่อหญิงวัยเจริญพันธุ์ 1,000 คนต่อปี อัตราเจริญพันธุ์ทั่วไป = จำนวนเด็กเกิดมีชีพในระหว่างปี X 1000 / จำนวนหญิงวัยเจริญพันธุ์ (15-49 ปี)
*     crude death rate=จำนวนคนตายด้วยสาเหตุต่างๆ ทั้งหมด/ ประชากรกลางปี 1,000 คนต่อปี
การสอบสวนโรคเฉพาะราย (Individual case investigation)    
โรคที่กระทรวงสาธารณสุข กำหนดให้ทำการสอบสวนผู้ป่วยมี 8 โรค คือ 1. โรคอหิวาตกโรค 2. โรคอุจจาระร่วง (เฉพาะผู้ เสียชีวิตที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป) 3. กลุ่มอาการกล้ามเนื้ออัมพาตอ่อนปวกเปียกเฉียบพลัน (AFP) 4. โรคคอตีบ 5. โรคบาดทะยักและบาดทะยักในทารกแรกเกิด 6. โรคไอกรน 7. โรคหัด 8. โรคพิษสุนัขบ้า
*    ตย.ข้อสอบ การตายของบุคคลใดไม่ใช่การตายที่สมศักศรีของความเป็นมนุษย์ เช่น ตายด้วยโรคบาดทะยัก

การสอบสวนการระบาด (Epidemic/Outbreak investigation)
การระบาดแบ่งได้เป็น 2 แบบ คือ     
1 Outbreak =การเกิดเหตุการณ์ผิดปกติ ตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ในระยะเวลาอัน สั้นๆ เช่น เกิดโรคอาหารเป็นพิษในงานเลี้ยงโต๊ะจีนแห่งหนึ่ง
2 Epidemic =การเกิดเหตุการณ์ที่ผิดปกติ โดยที่มีความถี่หรือจำนวนของคนเกิด โรคมากผิดปกติเกินกว่าจ ำนวนที่มีอยู่ในช่วงระยะเวลาเดียวกันของปีก่อนๆ มากกว่าค่าเฉลี่ยรวมกับ 2 เท่าของ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( X + 2SD)
การป้องกันและควบคุมโรค (Prevention and Control)
Exp.ในการสอบสวนโรคควรเริ่มที่กลุ่มบุคคลใด=ผู้ป่วยและผู้ใกล้ชิด ผู้ป่วยและผู้ที่อยู่ในครอบครัวผู้ป่วย ผู้ที่ไม่ได้รับวัคซีนป้องกันโรคนั้นๆ
การควบคุมและป้องกันโรคในระยะต่างๆ 
*    ปฐมภูมิ (Primary Prevention) มนุษย์ปกติยังไม่เป็นโรค ต้องดำเนินการส่งเสริมสุขภาพและป้องกัน เช่น การให้สุขศึกษา เพื่อลดอัตราการเกิดโรค
*    ทุติยภูมิ (Secondary Prevention) มนุษย์มีโรคเกิดขึ้นได้แต่ยังไม่ปรากฏอาการ การควบคุมและป้องกันคือ ดำเนินการคัดกรองและรักษาโรคตั้งแต่ระยะเริ่มแรก
*    ตติยภูมิ (Tertiary Prevention) มนุษย์-มีอาการของโรค หรือพิการ หรือตาย ให้ดำเนินการรักษาและฟื้นฟูสภาพยับยั้งความพิการลดภาวะแทรกซ้อน
*     Exp.มีรายงานพบว่าแนวโน้มการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดเพิ่มสูงขึ้นทุกปี ทั้งนี้เกิดจากปัจจัยหลายสาเหตุ พยาบาลชุมชนควรดำเนินการป้องกันและควบคุมโรคระดับใด= Primary Prevention
*    Exp. การป้องกันโรคในระยะทุติยภูมิในโรงพยาบาลคือการค้นหาแหล่งของการติดเชื้อ จำกัดการไร้สมรรถภาพ
*    Exp.การคัดกรองผู้ป่วยเป็นการป้องกันโรคระดับทุติยภูมิ
*    โรคติดต่ออันตราย 
โรคติดต่ออันตรายที่ต้องแจ้งให้องค์การอนามัยโลกทราบภายใน 24 ชั่วโมง เมื่อพบโรค มี 5 โรค ได้แก่
กาฬโรค ไข้ทรพิษ อหิวาห์ ไข้เหลือง และ SARS


โรคที่ต้องแจ้งกระทรวงสาธารณสุข ( ท่องจำ)
1. อหิวาห์      2. กาฬโรค   3. ไข้ทรพิษ     4. ไข้เหลือง   5. คอตีบ      6. บาดทะยักในเด็กเกิดใหม่  7. โปลิโอ      8. ไข้สมองอักเสบ   9. โรคพิษสุนัขบ้า  10. ไข้รากสาดใหญ่   11. แอนแทร็กซ์    12. โรคทริคิโบซิส  13. ไข้กาฬหลังแอ่น    14. โรคคุดทะราดระยะติดต่อ   15. ไข้หวัดนก    16. SARS   17. โรคติดเชื้อไวรัสอีโบล่า   18. ไข้หวัดใหญ่  19. วัณโรค      20. โรคอัมพาตกล้ามเนื้ออ่อนปวกเปียกเฉียบพลันในเด็ก  21. โรคปวดข้อยุงลาย   22. ไข้เลือดออก  23. โรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง (เมิร์ส)
3.กระบวนการพยาบาลชุมชน
3.1 ขั้นตอนการประเมินชุมชน
รวบรวมข้อมูล          จัดเรียงข้อมูล         ตีความ และวิเคราะห์         นำเสนอข้อมูล
*    การศึกษาข้อมูลชุมชนที่ทำให้ทราบปัญหาและความต้องการที่แท้จริงของชุมชน คือ ต้องศึกษาทั้งข้อมูลปฐมภูมิและทุติยภูมิ
*    เมื่อรวบรวมข้อมูลได้ต้องการนำเสนอข้อมูลให้มีความเหมาะสม รูปแบบของการนำเสนอข้อมูลมีหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นรูปบทความ รูปแบบกราฟ รูปแบบตาราง รูปแบบแผนภูมิแท่ง เช่นถ้าต้องการนำเสนอข้อมูลอัตราป่วยและอัตราตายของแม่และเด็กเพื่อให้เห็นถึงความแตกต่างอย่างชัดเจน ควรนำเสนอเป็นแบบแผนภูมิแท่ง
3.2 ขั้นตอนการวินิจฉัยชุมชน
ระบุปัญหา           ลำดับความสำคัญของปัญหา           โยงใยสาเหตุของปัญหา
*    *การระบุปัญหาของชุมชนที่ถูกต้องและเหมาะสมมากที่สุด คือ การนำเสนอข้อมูลด้านขนาด ความรุนแรงของปัญหาแก่ชุมชน แล้วให้ประชาชนพิจารณาร่วมกันว่าสิ่งใดคือปัญหา
*    *ถ้าผลรวมคะแนนการจัดลำดับความสำคัญของปัญหาจากการวินิจฉัยชุมชนเท่ากัน ทั้งวิธีการบวกและคูณ ควรแก้ปัญหา โดยการใช้กระบวนการกลุ่มจัดลำดับใหม่เฉพาะปัญหาข้อที่เท่ากัน
*    *ประเด็นความรุนแรงของปัญหา ถ้าถามว่าโรคใดมีความรุนแรงมากที่สุด ให้คำนึงถึงว่าโรคนั้นทำให้เกิดการตายได้มากที่สุด
*    ในขั้นตอนการวินิจฉัยชุมชนข้อมูลทางวิทยาการระบาดที่นำมาใช้เทียบเพื่อกำหนดปัญหาคืออัตราป่วยของโรคประจำถิ่นในชุมชน
3.3 ขั้นตอนการวางแผนแก้ปัญหาชุมชน
3.4 ขั้นตอนการปฏิบัติการแก้ปัญหาชุมชน
3.5 ขั้นตอนการประเมินผล
*    การระบุเป้าหมายของโครงการได้ชัดเจนที่สุด ต้อง ระบุกลุ่มเป้าหมาย เพศ อายุ ร้อยละของเป้าหมาย ระยะเวลาที่ต้องการให้เกิดความสำเร็จ เช่น หญิงวัยเจริญพันธ์อายุ 35 ปีขึ้นไป ร้อยละ 60 มารับการตรวจมะเร็งปากมดลูกในระยะเวลา 3 เดือน

4. บทบาทพยาบาลอนามัยชุมชน
พยาบาลอนามัยชุมชนต้องมีทักษะการสร้างสัมพันธภาพเป็นเยี่ยม
·       บทบาทของพยาบาลอนามัยชุมชน มีดังนี้
1.       เป็นผู้บริการด้านสุขภาพ (Health care provider) ทั้งผู้ป่วยและผู้ที่ไม่ป่วยจึงเป็นการให้บริการ แบบครบถ้วนผสมผสานทั้งด้านการรักษา การฟื้นฟูสภาพ การป้องกันโรค การรักษาและการฟื้นฟูสภาพ โดยเน้นการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคเป็นสำคัญ
2.       เป็นผู้ให้ความรู้ด้านสุขภาพ ( Health educator ) พยาบาลอนามัยชุมชนต้องมีคุณสมบัติเด่นในเรื่องการให้สุขศึกษาในรูปแบบต่างๆให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายมากที่สุด
3.       เป็นผู้พิทักษ์ผลประโยชน์ ( Advocator ) ทำให้ประชาชนได้มีความรู้เกี่ยวกับสิทธิต่างๆของตนเองในด้านสุขภาพตามหลักสิทธิผู้ป่วย 
4.       เป็นผู้บริหารจัดการ (Manager) ให้การดำเนินงานต่างๆเป็นไปอย่างราบรื่น การจัดวางกำลังคน จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์เวชภัณฑ์พร้อมพอเพียงในการดำเนินงาน

5.       เป็นผู้ให้คำปรึกษา(Counselor) พยาบาลเป็นผู้ให้คำปรึกษากับผู้ที่มีปัญหากับทุกฝ่ายทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิต รวมทั้งให้คำปรึกษาทางสุขภาพกับทีมสหสาขาวิชาชีพอื่นๆด้วย เช่น เจ้าพนักงานสาธารณสุข
6.       เป็นผู้วิจัย (Researcher) การทำวิจัยหรือร่วมวิจัยมีส่วนสำคัญในการพัฒนาวิชาชีพการพยาบาลให้มีความก้าวหน้า เพื่อปรับปรุงการพยาบาลอนามัยชุมชนให้เป็นที่ยอมรับและเกิดประโยชน์สูงสุดสำหรับประชาชนผู้รับบริการ
7.       เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง(Chang agent) เป็นผู้กระตุ้นหรือทำให้ชุมชนเกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น
8.       เป็นผู้นำ (Leader) การมีความรู้ด้านการดูแลสุขภาพ พยาบาลเป็นผู้ที่ชุมชนเชื่อถือเป็นผู้นำในด้านสุขภาพที่ช่วยชี้แนะแนวทางให้ชุมชนในการตัดสินใจในโครงการต่างๆ ของชุมชนเพื่อส่งเสริมเพื่อส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันและแก้ไขปัญหาสุขภาพชุมชน ครอบครัวหรือบุคคล
9.       เป็นผู้ประสานงาน (Co- ordinator) การพยาบาลอนามัยชุมชนเป็นงานที่ต้องประสานงานทุกระดับ
10.   เป็นผู้ให้ความร่วมมือ (Collaborator) กับทุกฝ่ายที่จะช่วยกันพัฒนาชุมชน
·       บทบาทด้านอาชีวอนามัย คือ การส่งเสริมและคงไว้ซึ่งสุขภาพที่ดีของคนทำงาน
โดยแสดงบทบาท เช่น การตรวจสุขภาพประจำปีให้พนักงานเป็นการดำเนินงานหรือการให้บริการดูแลสุขภาพอนามัยและความปลอดภัยของผู้ประกอบอาชีพทุกอาชีพ
·       บทบาทด้านการพยาบาลชุมชน ได้แก่ การส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในชุมชน โดยการให้สุขศึกษาเป็นต้นเช่น เมื่อร่วมกับ สสจ.ไปตรวจสถานประกอบการรายหนึ่งพบว่ามีการนำวัตถุดิบในการผลิตทั้งหมดมาจากจีน บทบาทของพยาบาลคือ การให้สุขศึกษาเรื่องการปนเปื้อนเชื้อโรคในอาหารเท่านั้น (บทบาทอื่น เช่น ประเมินสุขาภิบาลอาหาร ตรวจมาตรฐานวัตถุดิบไม่ใช่บทบาทหน้าที่ของพยาบาลชุมชน)
·       ลักษณะงานอนามัยชุมชน ต่างจากงานพยาบาลในโรงพยาบาลคือ จะเน้นการส่งเสริมสุขภาพมากกว่าการดูแลเมื่อเกิดการเจ็บป่วย

5. งานอนามัยโรงเรียน  
·       บทบาทของครูอนามัยโรงเรียน คือ เมื่อนักเรียนไม่สบายหรือเจ็บป่วยขณะอยู่ที่โรงเรียนต้องเป็นคนพาไปพบแพทย์
·       การสำรวจภาวะโภชนาการของเด็กวัยเรียนวิธีที่เที่ยงตรงที่สุด คือ การชั่งน้ำหนักและการวัดส่วนสูง
·       (การเฝ้าระวังภาวะโภชนาการทำได้โดยการชั่งน้ำหนักและการวัดส่วนสูง การสำรวจนักเรียนที่มีปัญหาทางโภชนาการ )
·       ถ้าไปตรวจสายตานักเรียนแล้วพบการมองเห็นน้อยกว่า 6/12ต้องส่งจักษุแพทย์
·       ถ้านักเรียนเป็นโรคตาแดง พยาบาลประจำห้องพยาบาลต้องแนะนำให้นักเรียนหยุดเรียน(เพราะสามารถติดกันได้)
·       การป้องกันฟันผุในโรงเรียนตามบทบาทของพยาบาล คือจัดทำโครงการสอนแปรงฟันในโรงเรียน
การทดสอบสายตา  
·        - แผ่นทดสอบสายตาด้วย Snellen’s chart
   V.A. = ระยะทางที่ยืน/ระยะตัวอักษรที่อ่านได้ เช่น 6/60, 6/36, 6/24, 6/18, 6/12, 6/9, 6/6 => แถวบนสุด7 6 5 4 3 2 1 ล่างสุด  
- Pinhole เป็นที่ปิดตา ช่วยรวมแสงให้อยู่ในระนาบเดียวกัน ทำให้มองชัดในคนสายตาผิดปกติ สั้น ยาว ต้อกระจก ส่งต่อวัดสายตาประกอบแว่น
*      วิธีวัดตามลำดับขั้นตอน ดังนี้   
1) วัดตาเปล่า นั่งเก้าอี้ตัวตรง วัดทีละข้างตาขวาก่อนเสมอ อ่านแถวที่ 1 ลงไปเรื่อยๆ ถ้า ปกติจะอ่านได้ถึงแถวที่ 7 ให้ลงบันทึก 6/6 แปลว่าสายตาปกติ ถ้ำผู้ที่สายตาผิดปกติ มักจะอ่านได้ไม่ถูกต้อง ทุกตัว โดยถ้าอ่านได้มากกว่าครึ่งหนึ่งของแต่ละแถว ให้อ่านไปเรื่อยๆจนถึงแถวใดแถวหนึ่งที่อ่านผิดมากว่า ครึ่งหนึ่ง หรืออ่านไม่ได้เลย ให้บันทึกผลตามตัวอย่างนี้ ถ้าอ่านถึงแถวที่ 5 อ่านผิดสองตัว แถวที่ 6 อ่านผิดมากกว่าครึ่งให้บันทึกว่า 6/12-2 ถ้ำอ่านถึงแถวที่ 5 ได้ถูกต้องทั้งหมด และแถวที่ 6 อ่านเพิ่มได้อีก 2 ตัวให้บันทึกว่า 6/12+2   2) การวินิจฉัยภาวะสายตา
- ถ้ำมองเห็น 6/9 แถวที่ 2 เฝ้าระวังวัดสายตาปีละครั้ง หรือเมื่อมีอาการผิดปกติ   
- มองเห็นน้อยกว่าหรือเท่ากับ 6/12 แถวที่ 3 ต้องส่งจักษุแพทย์   
- ตาสองข้างต่างกันเกิน 2 แถว เช่น 6/6 กับ 6/24 รีบส่งจักษุแพทย์วัดสายตาประกอบแว่น

6.อนามัยสิ่งแวดล้อม  
§  ส้วมบนรถประจำทาง  เครื่องบิน เรือโดยสาร รถไฟ ควรใช้ส้วมเคมี โดยใช้โซดาไฟหรือน้ำยาที่ใช้ฆ่าเชื้อแล้วยังดับกลิ่นด้วย ใช้น้ำเล็กน้อยชะสิ่งปฏิกูลลงถังเก็บกัก
§  การกำจัดน้ำเสียในหมู่บ้านที่อยู่ติดริมแม่น้ำ ควรทำท่อระบายลงสู่บ่อพักโสโครกภายในหมู่บ้าน (ไม่ให้ปล่อยลงแหล่งน้ำ)
§    บ่อน้ำที่ห่างจากบ่อพักปฏิกูล30เมตร ลึก3เมตร รัสมีกว้าง2ฟุตสามารถนำมาบริโภคได้ด้วยการต้ม
แหล่งน้ำ
- บ่อน้ำ ที่ถูกสุขลักษณะ ไม่เคยเป็นที่ทิ้งขยะมาก่อน ห่างจากแหล่งโสโครกเช่น  ส้วม 30 เมตร (ถ้า ห่างไม่ถึง 30 เมตรให้ทดสอบโดยใช้แป้งมันครึ่งกิโลผสมน้ำ 20 ลิตรเทลงในโถส้วม ต่อมานำน้ำในบ่อ 1 แก้วไปหยดทิงเจอร์ไอโอดีน ถ้ำเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงินแสดงว่าน้ำ จากส้วมไหลลงบ่อ)  
- ถ้ำขุดเป็นบ่อต้องมีวงขอบคอนกรีตสงูจากผิวดิน 60 cm
  - ยารอยต่อระหว่างวงขอบปูนซีเมนต์ลึกลงไป 5 เมตร 
 - ท ำชานบ่อกว้างรอบบ่อ 1.50 เมตร ถ้ำไม่มีให้อัดดินเหนียวรอบขอบบ่อสูง 30 cm
  - การกำจัดน้ำเสียในหมู่บ้านที่อยู่ติดริมแม่น้ ำ ควรทำท่อระบายลงสู่บ่อพักโสโครกภายในหมู่บ้าน (ไม่ให้ปล่อยลงแหล่งน้ ำ)  
7. อาชีวอนามัย      
§  โรงงานขนาดกลางมีคนงาน 200 คนขึ้นไป ต้องจัดให้มีพยาบาลประจำ 1 คน แพทย์ประจำบางเวลาและมีอุปกรณ์ในการปฐมพยาบาล
§  ความร้อนในการทำงานในสถานประกอบการ ไม่ควรเกิน 45 องศา เพราะถ้าความร้อนมากไป อุณหภูมิร่างกายสูงเกิดการเสียเหงื่อมากกว่าปกติอาจทำให้เกิดอันตรายได้ เช่น ลมชักเพราะความร้อน เป็นตะคริวหรือเหนื่อยอ่อนจากความร้อน ตัวอย่างในโรงงานหลอมเหล็ก ถ้ามีคนเป็นตะคริวหรือชักแสดงว่าเกิดจากร้อนเกินไป
§  โรงงานน้ำตาล คนงานจะเสี่ยงต่อการเกิดโรคปอดจากฝุ่นชานอ้อย (Bagassosis)
§  การป้องกันการบาดเจ็บจากเครื่องจักรในโรงงาน ป้องกันจากปัจจัยการเกิดคือ การบำรุงรักษาเครื่องจักรให้สมบูรณ์อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน
8. เยี่ยมบ้านในแต่ละกลุ่มวัย อนามัยครอบครัว   
§  การจัดลำดับการเยี่ยมครอบครัวต้องดูจาก 1.ความเร่งด่วน  2. การป้องกันการแพร่กระจายโรค
เช่น หญิงตั้งครรภ์ 8 เดือนญาติมาตามแจ้งว่ามีเลือดอออก ถือเป็นภาวะเร่งด่วนต้องไปเยี่ยมทันทีภายในวันนั้น
·       แนวคิดของการอนามัยครอบครัว การวินิจฉัยครอบครัว และความต้องการของครอบครัวต้องให้ครอบครัวมีส่วนร่วมในทุกขั้นตอนอย่างครอบคลุมๆด้าน
·       ประเภทของการเยี่ยมบ้าน 4 กลุ่ม คือ
  ประเภทที่ 1 การเยี่ยมบ้านกรณีเจ็บป่วย แบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่
  1.1 กรณีฉุกเฉิน   1.2 โรคฉับพลัน   1.3 โรคเรื้อรัง 
 ประเภทที่ 2 การเยี่ยมบ้านผู้ป่วยใกล้เสียชีวิต 
 2.1 การดูแลระยะสุดท้าย    2.2 ประกาศการเสียชีวิต   2.3 ประคับประคองภาวะโศกเศร้า
 ประเภทที่ 3 การเยี่ยมบ้านเพื่อประเมิน
 ประเภทที่ 4 การเยี่ยมบ้านหลังออกจากโรงพยาบาล
การจัดลำดับในการเยี่ยมบ้าน 
 1 ความเร่งด่วน จำเป็นต้องให้การช่วยเหลือโดยเร็ว มิฉะนั้นจะเกิดผลเสียแก่ผู้ป่วยได้ เช่น ผู้ที่ ได้รับอุบัติเหตุหรือตกเลือด  
 2 การป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ
การรักษาโรคเบื้องต้น

8. การพยาบาลสาธารณภัย
·       การช่วยเหลือผู้ประสบภัยก๊าชพิษและควันพิษในที่เกิดเหตุควร ประกาศให้คลานติดพื้นเพื่อหลีกเลี่ยงการสำลักควัน และหลีกเลี่ยงก๊าชพิษเพราะก๊าชจะลอยตัวขึ้นที่สูง
หลักการคัดกรองผู้ประสบสาธารณภัยเบื้องต้น คือ ช่วยเหลือผู้ประสบภัยในภาวะฉุกเฉินให้รอดชีวิตมากที่สุด
การเตรียมอุปกรณ์ในการบรรเทาสาธารณภัย ควรเตรียมให้พร้อม ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ป้องกันกระดูกหัก ยาและสารน้ำทางหลอดเลือดดำ เครื่องดูดเสมหะ แต่ในที่เกิดเหตุอุปกรณ์ที่มีความจำเป็นน้อยที่สุดคือ อุปกรณ์ในการเย็บแผล(เพราะจะไม่เย็บแผลในที่เกิดเหตุ)
Triage ในสาธารณภัย
·       เขตควบคุมชั้นใน หากทีม BLS หรือ ALS ไปถึงจุดเกิดเหตุเป็นทีมแรก,ให้เจ้าหน้าที่คัดแยก (Triage officer) ทำการคัดแยก,ผู้ป่วยขั้นต้นโดยการทำ Primary triage: triage  sieve  , หากทีม FR ไปถึงจุดเกิดเหตุเป็นทีมแรก ให้คัดแยกผู้ป่วยขั้นต้น โดยการแยกผู้ป่วยบาดเจ็บเล็กน้อย (สีเขียว) ออกจากจุดเกิดเหตุ
·       เขตควบคุมชั้นนอก ต้องมีการคัดแยกผู้ป่วยขั้นต่อมา (Secondary triage:  triage sort) ในหน่วยรักษาพยาบาล,จะต้องมีการซ้อมการคัดแยกเป็นระยะเพื่อให้ผู้ปฏิบัติ  มีความคุ้นเคย และความชำนาญในการคัดแยกผู้ป่วย  อย่างถูกต้อง
                                 การแบ่งประเภทของผู้ป่วยในER*(ต้องจำ)


แดง
       Cardiac Arrest
       Disability : ซึมมาก ตั้งแต่ Semicoma, Coma, Severe HI, Status epilepticus, Multiple trauma ซีดมาก BP drop ต้อง load IV, Bleeding BP drop ต้อง stop bleeding load IV ,Burnมากกว่า80%
แดงอ่อน(ชมพู)
       High risk situation, Acute alteration of cons.
       Severe pain & distress   pain score  ≥ 7 Chest pain ต้องรีบทำ EKG
       หายใจหอบเหนื่อย ต้องรีบตรวจร่างกาย ฟังปอด พ่นยา,Stroke   MI รวม fast tract,อาละวาด acute psychosis  suicide มีโอกาสทำร้ายตนเอง/ผู้อื่น
       กินสารพิษMCA กู้ชีพนำส่ง on LSB รู้ตัว ปวดท้อง
       HI GCS<15,UGIB  PR เร็วเลือดออก abortion
       Sepsis, Role out ect.preg, Peritonitis ruptured appendicitis, Ruptured AAA  ABCดี,ซึมสับสน แต่ไม่ถึง semicoma,ปวดมาก pain ≥7 ต้องรีบประเมิน ตรวจร่างกาย ให้ยา,กรด ด่างเข้าตา,เด็กอ่อน <3 ด.  Temp 38   ผื่นลมพิษทั่วตัว
เหลือง
       แผลฉีกขาดที่ต้องเย็บ,ข้อเท้าพลิกไม่ผิดรูป  บวมไม่มาก,ปัสสาวะแสบขัด
เขียว
       บุคคลที่เจ็บป่วยแต่ไม่ใช่ผู้ป่วยฉุกเฉิน ซึ่งอาจรอรับหรือเลือกสรรการบริการสาธารณสุขในเวลาทำการปกติได้โดยไม่ก่อให้เกิดอาการที่รุนแรงขึ้นหรือภาวะแทรกซ้อนตามมายาหมด- ไอ เจ็บคอ เสมหะเขียว ปวดหัวไมเกรนเล็กน้อยปวดท้อง dyspepsia เล็กน้อย, ปวดหลัง,ท้องเสีย เดินได้ อ่อนเพลีย,แผลถลอกช้ำ

ขาว
       บุคคลซึ่งมารับบริการสาธารณสุขหรือบริการเพื่อผู้อื่นโดยไม่จำเป็นต้องใช้ทรัพยากร,ผู้เสียชีวิต,มาขอใบรับรองแพทย์,ติดต่อใบประกันชีวิต
 
9. การซักประวัติและการประเมินภาวะสุขภาพ 
·       การซักประวัติที่ดีและเหมาะสม ควรปล่อยให้ผู้ป่วยได้แสดงถึงอารมณ์และความรู้สึก ควรใช้คำถามปลายเปิด
·       การซักประวัติอย่างถี่ถ้วน ช่วยในการวินิจฉัยโรคได้ดียิ่งขึ้น
·       ถ้ามีอาการหายใจแน่นหน้าอก ทำงานในโรงงานทอกระสอบมานาน การตรวจเพื่อวินิจฉัยที่ผู้ป่วยที่จำเป็นคือ การX-ray
·       CC: อาการ1-2 อาการ ตามด้วยระยะเวลา
10.การตรวจร่างกายเพื่อวินิจฉัยโรคเบื้องต้น
              ควรนึกถึงการตรวจที่มีความเฉพาะเจาะจงที่สัมพันธ์กับอาการ เช่น เมื่อผู้ป่วยปวดที่ใต้ชายโครงขวา ปวดมากสัมพันธ์กับการหายใจ มีอาการปวดมากเมื่อหายใจแรงๆ การตรวจร่างกายที่เฉพาะเจาะจงกับการอาการ คือ การตรวจ Murphy’s sign
           เมื่อผู้ป่วยมีเสียง murmur หลังเสียงs1ที่ตำแหน่งซี่โครงที่5 ตัดกับ mid-clavicular line ควรตรวจร่างกายตรงตำแหน่ง การตรวจลิ้นหัวใจตรงตำแหน่ง mitral vale ((ต้องจำตำแหน่งของลิ้นหัวใจในแต่ละตำแหน่งให้ได้)และรู้ว่า murmur นั้นเป็นเสียงลิ้นหัวใจรั่ว)
            ตำแหน่งลิ้นหัวใจ มีดังนี้
จุดที่1 ในช่องซี่โครงที่2 ด้านขวาชิดกับ sternum เป็น aortic valve
จุดที่2 ในช่องซี่โครงที่2 ด้านซ้ายชิดกับ sternum เป็น pulmonic  valve
จุดที่3ในช่องซี่โครงที่4-5ชิดกับชิดกับ sternum เป็นtricuspid valve
จุดที่4 ในช่องซี่โครงที่5 ด้านซ้าย เลื่อนออกด้านนอก พบกับจุดตัดของเส้นกึ่งกลางกระดูกไหปลาร้า ด้านซ้ายเป็นบริเวณ mitral valve
-ถ้าผู้ป่วยปวดศรีษะ ชัก คอแข็ง  ควรต้องตรวจ Kernig’s sign(สงสัย meningitis)
-ขั้นตอนการตรวจร่างกายระบบท้อง(abdomen) = ดู ฟัง คลำ เคาะ
ระบบทั่วไปGA
    
                          โรคในแต่ละระบบ(ที่ควรจำ) 
·       โรคผิวหนัง
ลักษณะตุ่ม ถ้าเป็นตุ่มน้ำใสๆเล็กๆขอบนูน เป็นวงๆรอบเอว มีอาการคันร่วมด้วย  นึกถึงผื่นจากเชื้อรา ใช้ยาตระกูลที่ลงท้ายด้วยnazole เช่น ketoconazole
Herpes Zoster จะมีผื่นแบบ Vesicle
·       บาดแผลถูกตะปูและของมีคมตำ
- ต้องเปิดปากแผลกากบาท ** - ตรวจสิ่งแปลกปลอม - ฉีดล้างในแผลด้วย NSS
Pack ด้วยก็อซชุบ NSS  ใส่ใน แผลหลวมๆ ,ทำแผลวันละครั้ง,พิจารณายา ATB & VACCIN DT         ****ไม่เย็บแผล****
·       สารเคมีที่เป็นกรดกระเด็นเข้าตา ให้ใช้น้ำสะอาดล้างจะช่วยลดความเข้มข้นของกรดที่เข้าสู่ดวงตา ลดความรุนแรงที่จะเกิดกับสายตาได้
·       ถ้าถูกตะขาบกัดขาบวม มาพบพยาบาลที่รพ.สต ควรปฐมพยาบาลลำดับแรกคือ ทาแอมโมเนีย เพื่อลดอาการแพ้
·       เมื่อแมลงเข้าหู การพยาบาลลำดับแรกคือ การหยอดน้ำมันมะกอก เพื่อให้แมลงตาย
·       ไข้ ไข้หวัดใหญ่แตกต่างจากไข้อื่นคือ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ กระสับกระส่าย ปวดศรีษะมาก ไข้สูง
ถ้ามีไข้สูงลอย3 วัน การตรวจที่ต้องได้รับคือ เจาะ Platlet (สงสัยDHF)
·       Malaria อาการ ไข้ หนาวสั่น ปวดศรีษะ ทานไม่ได้ ซีด ผิวหนังแห้ง (ระบาดแถวกาญจนบุรี)
·       เลือดกำเดาไหล การพยาบาลคือ ก้มหน้า บีบจมูก หายใจทางปาก
·       การจัดการบาดแผล เลือดที่ออกจากหลอดเลือดดํา ต้องกดไว้สักพัก เลือดจะหยุดเอง
- เลือดออกจากหลอดเลือดแดง ต้องใช้คีมจับแล้วผูกหรือเย็บ
เลือดออกบริเวณหนังศรีษะมักจะหยุดเองโดยใช้มือกดและเย็บแผลไม่นิยมผูก หลอดเลือด
- เลือดที่ออกจากหลอดเลือดฝอยจะกระจัดกระจายไม่เป็นจุด จะท่วมเอ่อขึ้นมา ให้กดด้วยผ้าก๊อซ
 – แผลสกปรกถ้าไม่เกิน 6 ชม.เย็บ ถ้าเกิน 6 ชม.ไม่ต้องเย็บ
ผ่าฝีจะไม่ฉีดยาชาถ้าฝีสุกแล้ว จะฉีดยาชา ในกรณีที่ฝียังไม่สุก
·       โรค Shigellosis ติดต่อกันทาง อุจจาระ
·       โรค Tracoma ถ้าอยู่ในชุมชนติดต่อกันทาง สิ่งขับจากเยื่อบุตา
·       โรคคอตีบติดต่อกันทาง สิ่งคัดหลั่งจากทางเดินหายใจ
·       ตารางวัคซีนเด็ก update (ต้องจำ)
คำแนะนำเพิ่มเติม:
  • การฉีดวัคซีนบีซีจี ไม่ควรฉีดที่สะโพก เพราะแผลอาจปนเปื้อนอุจจาระหรือปัสสาวะ และตรวจดูแผลเป็นยากกว่า
  • การฉีดวัคซีนคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน หญิงมีครรภ์ควรได้รับการฉีดที่อายุครรภ์ 27-36 สัปดาห์ทุกการตั้งครรภ์
  • การฉีดวัคซีนไข้สมองอักเสบ โดยเฉพาะแบบเจอีชนิดเชื้อมีชีวิต ที่ปัจจุบันมี 2 ชนิด โดยทั้ง 2 ชนิดสามารถใช้แทนกันได้ต้องฉีดห่างกันอย่างน้อย 12 เดือน และหากเคยได้รับวัคซีนชนิดเชื้อมีชีวิตมาก่อน 1 ครั้ง  หากจำเป็นต้องฉีดกระตุ้นด้วยวัคซีนชนิดเชื้อไม่มีชีวิตให้ฉีดอีก 1 ครั้งห่างกัน 12 เดือน
  • การฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ให้ฉีดก่อนเข้าฤดูฝน อย่างไรก็ตามสามารถฉีดได้ตลอดปี  นอกจากนี้สามารถใช้วัคซีนชนิด 3 หรือ 4 สายพันธ์ทดแทนกันได้

§  ตัวอย่างคำถามสอบสภาการรักษาโรคเบื้องต้น
1.เด็ก 7 ปีได้รับวัคซีนที่อนามัย 1 ครั้ง ไม่ทราบว่าวัคซีนอะไร ตรวจไหล่ซ้ายไม่พบรอย ควรให้วัคซีนอะไร ให้DTและ BCG เสมือนเริ่มวัคซีนใหม่
เด็กหญิงอายุ 4 ปี มาด้วยอาการเป็นไข้ ไม่มีน้ำมูก  ไอ เจ็บคอ เสียงแหบ (คล้าย เป็นหวัด) 3 ก่อนมา รพสต. ต่อมาประมาณ 1 วัน มีอาการอาเจียน 2 ครั้ง อ่อนเพลียมากขึ้น แม่สังเกตเห็นว่ามีผื่นและตุ่มน้ำใสที่บริเวณปาก ฝ่ามือ และฝ่าเท้า เมื่อให้อ้าปาก พบว่ามีตุ่มน้ำใสขนาดเล็กและแตกเป็นแผลตื้นๆ บริเวณลิ้นและกระพุ้งแก้ม
2.จะวินิจฉัยโรคในเด็กหญิงรายนี้ ได้ในข้อใด
ก.      Rubella
ข.      Measle
ค.      Chicken pox
ง.       Hand Foot Mouth Disease

3.การรักษาในข้อใดเหมาะสม สำหรับผู้ป่วยเด็กรายนี้
ก.      เช็ดตัว ให้ยาลดไข้ นำส่งโรงพยาบาลทันที
ข.      เช็ดตัว ให้ยาปฏิชีวนะ พิจารณาให้นอนโรงพยาบาล
ค.      เช็ดตัว ให้ยาลดไข้ ให้ทานอาหารอ่อนๆ และอาหารที่มีความเย็น
ง.       สังเกตอาการอยู่ที่บ้าน และให้ยาลดไข้เป็นระยะๆ เพราะ โรคนี้หายเองได้ใน 5-7 วัน
4.“ลักษณะผื่นขึ้นบริเวณใต้สะบักขวา มีอาการปวดนำมาก่อน  1 วันต่อมาผื่นบริเวณใต้สะบักกลายเป็นตุ่มน้ำใสเล็กๆ มีอาการปวดแสบร่วมด้วย ตุ่มใสเริ่มลุกลามเป็นแนวยาวไปตามแผ่นหลัง ปวดแสบมากขึ้น” จากประโยคดังกล่าวสามารถ  ระบุได้ว่าเป็นลักษณะเฉพาะของโรคในข้อใด
ก.      Measle
ข.      Rubella
ค.      Herpes zoster
ง.       Herpes simplex
5.เด็กชายอายุ 12 ปี มาด้วยผื่นนูนตามร่างกาย มีอาการคัน เป็นหลังจากทานอาหารทะเลกับครอบครัวเมื่อ 2 ชั่วโมงก่อน ประวัติไม่เคยแพ้อาหารทะเล มารับการตรวจรักษาครั้งแรก การหายใจปกติ ไม่มีไข้ จะให้การดูแลเบื้องต้นผู้ป่วยรายนี้อย่างไร
ก.      ให้ออกซิเจน
ข.      ตรวจร่างกาย
ค.      วัดสัญญาณชีพ
ง.       ฉีดยาแก้แพ้ทันที
6.หญิงไทย สถานภาพสมรส คู่ อายุ 32 ปี อาชีพขายส้มตำ มาด้วยอาการปวดท้องน้อย ปัสสาวะบ่อยและขัด ไม่มีเลือดปน เมื่อ 2 วันก่อน ไปหาหมอที่คลินิก ได้ยาปฏิชีวนะมาทาน อาการปัสสาวะขัด และปัสสาวะบ่อยยังไม่หาย เมื่อวานเริ่มปวดเอวมากขึ้น เริ่มมีไข้ตั้งแต่ตอนตี 3 ทานยาลดไข้มาแล้วจากบ้าน
จากสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ท่านคิดว่าผู้ป่วยหญิงรายนี้มีอาการของโรคใด
ก.      Cystitis
ข.      Urethritis
ค.      Urinary  Tract Infection
ง.        Bacterial pyelonephritis
7.ผู้ป่วยชายไทยอายุ 22 ปี ดื่มน้ำยาล้างห้องน้ำประมาณ 1 ขวด ก่อนมา รพ. 45 นาที การรักษาโรคเบื้องต้นในการขจัดและลดความรุนแรงของสารพิษในข้อใด ไม่ควรปฏิบัติ ในผู้ป่วยรายนี้
ก.      ทำให้อาเจียนในรายรู้สึกตัวดี
ข.      ถอดเสื้อผ้าที่เปื้อนสารพิษออก
ค.      ให้งดน้ำและงดอาหารทางปาก
ง.       ล้างท้องโดยใส่สายยางเข้าสู่กระเพาะอาหาร
ผู้ป่วยชายไทย อายุ 18 ปี มูลนิธินำส่ง ทราบประวัติว่า 30 นาที ก่อนมา รพ. ขี่ MC ชนกับรถปิคอัพที่หน้าร้านขายของชำ เดินไม่ได้ ขาข้างขวาผิดรูป  ปวดมาก แรกรับ รู้สึกตัวดี สื่อสารรู้เรื่อง ร้องครวญครางตลอดเวลา ตรวจร่างกาย พบว่า มีแผลเปิดที่ขาข้างขวา มีกระดูกต้นขาโผล่ออกมา และเลือดออกมาก ที่ข้อเท้าข้างขวามีแผลถลอก บ่นปวดมาก  พยาบาลสังเกตเห็นว่าผิวหนังเริ่มซีด บ่นใจสั่น  Vital signs  แรกรับ B.P. 110/70 mmHg.  Pulse 100 ครั้ง/min.  R. 22  ครั้ง/min. T= 36.0 o C
8.การรักษาพยาบาลเบื้องต้นข้อใดที่ควรทำเป็นอันดับแรก
ก.      ประเมินความรู้สึกตัว ABCs
ข.      ล้างแผลให้สะอาดด้วย NSS จำนวนมาก
ค.      ประคบเย็นเพื่อลดบวมและความเจ็บปวด
ง.       ประเมินตำแหน่งบาดแผล ทำการห้ามเลือด
9.ผู้ป่วยถูกเศษโลหะกระเด็นเข้าตา ติดแน่น มีอาการเคืองตา ปวดตามาก และมีน้ำตาไหล  จะให้การรักษาเบื้องต้นอย่างไร
ก.      หยอดยาชา แล้วส่งต่อทันที
ข.      ให้ยาแก้ปวด แล้วส่งต่อทันที
ค.      หยอดยาชา ให้ยาแก้ปวด แล้วส่งต่อทันที
ง.       หยอดยาปฏิชีวนะ ให้ยาแก้ปวด แล้วส่งต่อทันที
10.การห้ามเลือดในรายที่มีแผลบริเวณแขน ควรทำด้วยวิธีใด ดีที่สุด                                      
ก.      ยกส่วนที่เสียเลือดให้สูง
ข.      ใช้ Cramps หนีบเส้นเลือด
ค.      กดบริเวณจุดที่มีเลือดออก โดยใช้แรงที่เหมาะสม                                                 
ง.       ใช้การรัดห้ามเลือด (Tourniquet) รัดบริเวณเหนือแผลที่มีเลือดออก
11.ผู้ป่วยชายไทย อายุ 25 ปี ตกต้นไม้สูงประมาณ 1 เมตร รับการตรวจที่แผนกอุบัติเหตุฉุกเฉิน ตรวจร่างกายพบ บาดแผลฉีกขาดที่ขาท่อนล่างขวา ยาว 3 ซม. ลึกประมาณ 1 ซม. จะให้การรักษาเบื้องต้นอย่างไร               
ก.      ทำความสะอาดแผลและฉีด TT.
ข.      ทำความสะอาดแผล ปิดด้วยผ้าสะอาด แล้วส่งต่อโรงพยาบาลศูนย์
ค.      ทำความสะอาดแผลด้วย NSS และ Paint ด้วย Antiseptic solution แล้วเย็บแผล             
ง.       ทำความสะอาดแผลด้วย NSS และ Scrub ด้วย Antiseptic solution แล้วเย็บแผล
12.ชายไทย อายุ 38 ปี ถูกกระจกบาดฝ่ามือซ้ายไม่สามารถงอนิ้วมือได้ จะให้การพยาบาลเบื้องต้นอย่างไร             
ก.      เย็บแผลแล้วส่งต่อแพทย์ทันที
ข.      เย็บแผล แล้วนัด Follow up 1 สัปดาห์
ค.      ทำความสะอาดแผลไม่ต้องเย็บแล้วส่งต่อแพทย์ทันที
ง.       ทำความสะอาดแผล ให้ยาแก้อักเสบแล้วนัด Follow up 1 สัปดาห์
13.การรักษาเบื้องต้นสำหรับผู้ป่วยที่ถูกมีดปลายแหลมเสียบคาบริเวณช่องท้อง ยกเว้น ข้อใด                   
ก.      ประเมินความรู้สึกตัว, ABCS
ข.      ดูแลให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ
ค.      ดูแลดึงมีดที่เสียบคาออก เพื่อทำแผล
ง.       ดูแลทางเดินหายใจให้โล่ง ให้ออกซิเจน
14.ผู้ป่วยมาด้วยอาการถูกแทงมีแผลที่หน้าท้อง ลำไส้ทะลักออกมา รู้สึกตัวดี ท่านได้รับมอบหมายให้ไปรับผู้ป่วยที่ เกิดเหตุ ข้อใดเป็นการดูแลเบื้องต้น ณ จุดเกิดเหตุที่ถูกต้องที่สุด                                                      
ก.    ใช้ผ้าก๊อสชุบ NSS ปิดแผลแล้วนำส่งโรงพยาบาล                                         
ข.    ใช้ผ้าก๊อสรัดแบบแน่น ๆ เพื่อป้องกันลำไส้หลุดออกมาอีก
ค.    ล้างแผลด้วย NSS 2000 ml. แล้วนำลำไส้เก็บไว้ในช่องท้อง
            ง.    ดูแลทางเดินหายใจให้โล่งและให้ออกซิเจน รีบนำส่งโรงพยาบาล    
15.ผู้ป่วยรถจักรยานยนต์หกล้ม ศีรษะได้รับการกระแทก มีน้ำใสๆ ไหลออกจากหูข้างขวา มีอาการปวด  ข้อใดเป็นการรักษาเบื้องต้นก่อนการส่งต่อไปยังโรงพยาบาล                                                           
ก.      ให้ยาแก้ปวด
ข.      Absolute Bed Rest
ค.      ใส่สำลี Sterile Pack หู                                     
ง.หยอดยาปฏิชีวนะหูข้างที่มีน้ำไหลออกมา
16.การเลือกใช้ยาชาระงับความรู้สึกในการถอดเล็บที่ เหมาะสมที่สุด คือข้อใด                                               
ก.      Local anesthesia ด้วย 1% Xylocaine without adrenaline
ข.      Digital nerve block ด้วย 1% Xylocaine without adrenaline                                      
ค.      Local anesthesia ด้วย 1% Xylocaine with adrenaline                                         
Digital nerve block ด้วย 1% Xylocaine with adrenaline 
17.นาย ก ขับรถมอเตอร์ไซด์ชนรั้ว รู้สึกตัวดี  มีแผลถลอกตามร่างกาย ขาขวาหัก บวมผิดรูปควรให้การรักษาเบื้องต้นอย่างไรจึงจะถูกต้องที่สุด                                                                               
ก.      ประเมินความรู้สึกตัว
ข.      ดาม (Splint) บริเวณที่หัก                                                                                        
ค.      ประคบเย็น เพื่อลดความเจ็บปวดและลดบวม
            ง.ประเมินตำแหน่งที่มีการบาดเจ็บ ให้การดูแลบาดแผล     
18.ผู้ป่วยหญิง อายุ 30 ปี ถูกลูกบอลกระแทกตา ปวดตามาก ตรวจพบ เลือดออกใต้เยื่อบุตา (subconjunctiva hemorrhage) 30 นาทีก่อนมาโรงพยาบาล การช่วยเหลือเบื้องต้น คืออะไร                               
ก.      ให้ยาลดปวด
ข.      ปิดตา นอนหัวสูง
ค.      ประคบด้วยความเย็น
ง.       ให้ยาหยอดตา ลดความดันลูกตา
19.ลักษณะของการซักประวัติการเจ็บป่วยในงานด้านปัจจุบันพยาบาล ควรมีลักษณะอย่างไร
ก.      ถามถึงอาการก่อนมา รพ.
ข.      วัดสัญญาณชีพอย่างเดียว ไม่ต้องซักประวัติ
ค.      ซักถามแบบละเอียดเหมือนผู้ป่วยในหอผู้ป่วยใน
ง.       ซักถามให้มากพอที่จะทราบว่า ปัญหาฉุกเฉินของผู้ป่วยคืออะไร              

  


                                                                          




























ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ทฤษฏีแบบแผนความเชื่อทางสุขภาพ(health belief model)

บทบาทพยาบาลอนามัยชุมชน

แนวข้อสอบกระบวนการชุมชน(part2)