สาธารณภัยในงานอนามัยชุมชน

บทที่ การบรรเทาสาธารณภัย

กัลยาวีร์ อนนท์จารย์    ผู้รวบรวม


ขอบเขตเนื้อหา
1.   ความหมายของสาธารณภัย
2.  แนวคิดและหลักการบรรเทาสาธารณภัยในชุมชน
3.   บทบาทพยาบาลในการจัดการสาธารณภัย
ความหมายของสาธารณภัย
             คำว่า สาธารณภัย ตรงกับคำศัพท์ในภาษาอังกฤษว่า “Public hazard” หรือ Diaster หมายถึง ภัยที่เกิดกับคนหมู่มาก
             องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ให้ความหมายของ “สาธารณภัย” ไว้ว่า เหตุการณ์ใด ๆ ที่เป็นสาเหตุของความเสียหาย ทำลายสิ่งแวดล้อม สูญเสียชีวิต หรือทำให้การบริการสุขภาพเสื่อมโทรมลงในระดับที่ต้องได้รับการช่วยเหลือจากภายนอกเขตที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์นั้น
                 ดังนั้น สาธารณภัย ภัยพิบัติ วินาศภัย (Diaster) จึงหมายถึง ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นทันที และอาจเกิดได้ทุกเวลา สร้างความเสียหายแก่ส่วนรวม ประชาชนได้รับความเดือดร้อน เจ็บปวด
ทุกข์ทรมาน สูญเสีย อันเป็นผลกระทบต่อการดำรงชีวิต เช่น ขาดที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม อาหาร ยารักษาโรค ขาดเสถียรภาพในสังคมนั้นๆ และนอกจากนี้ยังส่งผลกระทบต่อทรัพย์สิน ความมั่นคงและเศรษฐกิจของประเทศเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งต้องการความช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ที่เหมาะสมอย่างทันท่วงที

ประเภทของสาธารณภัย องค์การอนามัยโลกจำแนกสาธารณภัยออกเป็น 2 ประเภท คือ
1.   สาธารณภัยที่เกิดจากธรรมชาติ (Natural Diaster หรือ God made diaster) ได้แก่
    1.1    ภัยจากแรงดันธรรมชาติ เช่น แผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด ทำให้เกิดภัยตามมา ได้แก่ ตึกถล่ม บ้านเรือน แหล่งสาธารณประโยชน์ พื้นที่เกษตรและอุตสาหกรรมถูกทำลาย เป็นต้น
1.2    อุทกภัย เป็นภัยจากน้ำท่วม เช่น ฝนตกหนัก เขื่อนพัง น้ำป่าไหลหลาก ท่วมบ้านเรือน ทรัพย์สินเสียหาย เป็นต้น
1.3    วาตภัย ภัยจากลม ได้แก่ ลมมรสุมดีเปรสชั่น ลมใต้ฝุ่นทอร์นาโด ไซโคลน
1.4    อัคคีภัย ภัยจากไฟไหม้ ได้แก่ ไฟไหม้ป่าโดยธรรมชาติและการวางเพลิง
1.5    ภัยจากธรรมชาติอื่น ๆ ได้แก่ โรคระบาด ความอดอยาก ภัยจากความแห้งแล้งหรือภัยแล้ง ภัยจากอากาศหนาว เป็นต้น
2.  สาธารณภัยที่เกิดจากมนุษย์ (Man-made Diaster) แบ่งเป็น
2.1.     ภัยจากความมั่นคงและการก่อวินาศกรรม
การก่อวินาศกรรม หมายถึง การกระทำใดๆ อันเป็นการมุ่งทำลายทรัพย์สินของประชาชนหรือของรัฐ หรือสิ่งอันเป็น
สาธารณูปโภค หรือรบกวนขัดขวางหน่วงเหนี่ยวระบบการปฏิบัติงานใดๆ ตลอดจนการประทุษร้ายต่อบุคคลอันเป็นการก่อให้เกิดความปั่นป่วนทางการเมือง การเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โดยมุ่งที่จะก่อให้เกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของรัฐ (สำนักงานเลขาธิการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน, 2539 หน้า 2)
2.1.1     ภัยจากการขัดแย้งระหว่างมนุษย์ มีแนวโน้มสูงขึ้นทั่วโลก ทั้งการรุกรานจากภายนอก ภัยจากต่างชาติ สงครามกองโจรชายแดน กองโจรในประเทศ ขบวนการแบ่งแยกดินแดน ตลอดจนแผนการแทรกซึมต่างๆ  การจลาจลรุนแรงจนถึงการเกิดสงครามในที่สุด
2.1.2     ภัยจากเหตุร้ายในต่างประเทศ ปัญหาอพยพหนี สงคราม ขบวนการแบ่งแยกดินแดน
2.1.3     ภัยจากการขัดแย้งในผลประโยชน์ระหว่างกลุ่ม เช่น ยกพวกตีกัน ปล้นสะดมเผาบ้าน เป็นต้น
2.1.4     ภัยจากการก่อสร้างที่ไม่ได้มาตรฐาน  หรือข้อบกพร่องอื่นๆ จนทำให้เกิดปัญหาบ่อยๆ เช่น โรงงานหรือโรงแรมไม่มีบันไดหนีไฟ หรือทางออกฉุกเฉิน ตึกพัง อาคารสูงถล่ม ลิฟต์ตก สะพานพัง เป็นต้น
2.2      ภัยจากการจราจร
2.2.1     ทางบก เป็นปัญหาใหญ่ที่สุดในปัจจุบัน เช่น รถโดยสาร รถไฟตกราง หรือชนกัน
2.2.2     ทางน้ำ ได้แก่ เรือล่ม เรือชนกัน ไฟไหม้เรือ
2.2.3     ทางอากาศ เช่น เครื่องบินระเบิด เครื่องบินตก
2.3      ภัยจากสารเคมีและวัตถุอันตราย ได้แก่
2.3.1     การอุตสาหกรรม เช่น เครื่องจักรไอน้ำระเบิด โรงเคมีภัณฑ์มีสารพิษ ไอพิษรวมถึงโรงไฟฟ้าปรมาณู
2.3.2     การเกษตร จากสารพิษทางการเกษตร
2.3.3     จากครัวเรือน เช่น แก๊สหุงต้มรั่ว หรือ ระเบิด






สาเหตุของสาธารณภัยบางประเภท

สาธารณภัยที่พบบ่อยในประเทศไทย
1.   น้ำท่วม สาเหตุที่จะทำให้เกิดน้ำท่วมได้ง่าย เพราะมีการทำลายป่าอย่างมากมาย เมื่อป่าถูกทำลายจนหมดสภาพแล้ว เกิดฝนตกหนักเมื่อใด น้ำจะท่วมอย่างรวดเร็ว หรือเกิดจากระบบการระบายน้ำในเมืองใหญ่ไม่เหมาะสม เกิดน้ำท่วมขังทำให้เกิดความเสียหายแก่ระบบการจราจร สถานที่สาธารณะและบ้านเรือน เป็นต้น
2.   ไฟไหม้ป่า มีการเผาป่ากันมากในฤดูแล้ง ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ไปจนถึงเดือนพฤษภาคม เมื่อป่าถูกเผาไหม้ ทำให้เกิดหมอกควันปกคลุมไปทั่ว เป็นอันตรายต่อการจราจรทางบก ทางอากาศ และเกิดพายุในบริเวณนั้นได้ง่าย
3.   การวางเพลิง เป็นสาธารณภัยอันเกิดจากการกระทำของมนุษย์ เช่น การวางเพลิงเผาตึก และที่อยู่อาศัย เพื่อผลประโยชน์และจากการประมาทเลินเล่อ มีสถิติสูงทุกปี
4.       ภัยแล้ง พื้นที่ส่วนใหญ่โดยเฉพาะพื้นที่ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เกิดความแห้งแล้งของธรรมชาติ
ฝนไม่ตก ฝนทิ้งช่วงทำให้พืชผลเสียหาย ชาวไร่ ชาวนาหมดอาชีพ มีการโยกย้ายอพยพเข้าเมืองใหญ่ เกิดปัญหาสังคมเกิดโจรผู้ร้าย จี้ปล้นตามมา
5.    ภัยธรรมชาติจากระบบนิเวศน์ที่ไม่สมดุล
การสูญเสียจากการเกิดสาธารณภัย แบ่งออกได้เป็น 3 ทางคือ
1.  การสูญเสียทางด้านร่างกายและชีวิต เช่น การบาดเจ็บ ทนทุกข์ทรมาน การสูญเสียชีวิตทันทีทันใดหรือ
จากภาวะแทรกซ้อน การพิการ หรือการเจ็บป่วยจากโรคระบาดที่เกิดตามมาจากสาธารณภัย
2.  การสูญเสียทางด้านจิตสังคม การเกิดสาธารณภัยทำให้จิตใจของผู้ประสบภัยส่วนใหญ่ถูกทำลายจากการ
เจ็บปวดทางกายและการสูญเสียทรัพย์สิน ตลอดจนสูญเสียขวัญและกำลังใจของตัวเอง ญาติพี่น้องและของสังคม ประชาชนผู้พบเห็นได้รับการทำลายทางจิตใจจากการได้พบเห็นภาพของความทุกข์ทรมานของคนจำนวนมากเกิดความรู้สึกหดหู่เศร้าหมอง และการที่บุคคลต้องเสียชีวิตไป ทำให้ขาดผู้รับผิดชอบในครอบครัว เสียค่าใช้จ่ายต่างๆ ทำให้ครอบครัวเดือดร้อนและเสียกำลังคนอันเป็นกำลังการพัฒนาประเทศชาติ มีภาระเลี้ยงดูเด็กกำพร้าและคนพิการมากขึ้น ทำให้ประเทศชาติและองค์กรอื่นๆ ทำงานมากขึ้น
3.  การสูญเสียทางด้านทรัพย์สิน ซึ่งมีการสูญเสียทางด้านทรัพย์สินทั้งทางตรงและทางอ้อม
3.1       ทางตรง เช่น ทำให้ต้องสูญเสียค่ารักษาพยาบาล ค่าชดเชย ค่าอวัยวะเทียม ค่าดูแลครอบครัวต่างๆ และการสูญเสียจากทรัพย์สินถูกทำลาย เช่น สิ่งก่อสร้างหักพัง เสียน้ำมันเชื้อเพลิงในการช่วยเหลือ ค่าแรงงานที่ควรจะได้จากการประกอบอาชีพถ้าไม่เกิดสาธารณภัย
3.2       ทางอ้อม เช่น ทรัพยากรในการป้องกันอุบัติเหตุที่จะเกิดขึ้นในครั้งต่อไป การจราจรติดขัด เสียเวลา
แรงงานที่สูญเปล่า เสียความนิยม หมดความเชื่อถือ เช่น กรณีเครื่องบินตก รถไฟชนกัน และตลอดจนสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ
             ดังนั้น สิ่งสูญเสียทั้ง 3 ลักษณะ ดังกล่าวนี้ กระทบกระเทือนต่อเศรษฐกิจของชาติอย่างมาก และมีผลกระทบกระเทือนต่อสังคมเช่นเดียวกัน
             ปัญหาและผลกระทบจากสาธารณภัย (Problem and Impact of Diaster)
             ปัญหาและผลกระทบที่เกิดจากเหตุการณ์สาธารณภัยนั้นจะมีลักษณะเกี่ยวเนื่องกับ ประเภท และชนิดของสาธารณภัย ความรุนแรง  ระยะเวลาที่เกิด รวมทั้งสภาพความเสียหายต่างๆที่เกิดจากสาธารณภัยนั้นๆ ซึ่งสรุปได้ดังนี้
ะยะเกิดภัย
1.    ปัญหาและผลกระทบทางสาธารณสุข
-     ผู้ประสบภัย  เสียชีวิต พิการหรือทุพพลภาค  บาดเจ็บตั้งแต่เล็กน้อยจนกระทั่งสาหัส  สภาพจิตใจ
ได้รับความความกระทบกระเทือน ตกใจหวาดผวา  รู้สึกสูญเสียสิ่งที่ตนรัก เครียด จิตใจอ่อนล้าหรือบางรายอาจใช้กลไกทางจิตในการเผชิญปัญหาที่ไม่เหมาะสมอื่นๆ ได้อีกซึ่งขึ้นกับพื้นฐานลักษณะนิสัยของบุคคลนั้นๆ
-     ระบบการสุขภาพ  ถ้าสถานบริการสุขภาพที่อยู่ในพื้นที่หรือที่อยู่ใกล้เคียงพื้นที่หรือที่อยู่ใกล้เคียงพื้นที่เกิดเหตุ   ขาดประสิทธิภาพ  บุคลากรและ / หรืออุปกรณ์  ไม่พร้อม  จะเป็นปัจจัยสำคัญที่สามารถเพิ่มความรุนแรงของปัญหา ในทางตรงข้าม  ถึงแม้ระบบบริการสุขภาพจะดี  แต่ถ้าสาธารณภัยมีขนาดใหญ่มาก  รุนแรกบุคลากรอาจจะไม่ปฏิบัติงานได้เต็มที่เนื่องจากความเครียด  ความเหนื่อยล้า รวมไปถึงบุคลากรที่มีประสบการณ์การรับสาธารณภัยน้อย  จะทำให้บริการต่างๆที่จำเป็นต้องให้ในช่วงนี้ด้อย ประสิทธิภาพลงได้เช่นกัน
2.    ปัญหาและผลกระทบทางเศรษฐกิจ
-     ผู้ประสบภัย สูญเสียทรัพย์สิน แหล่งทำมาหากิน  เช่น พื้นที่ทางการเกษตร ร้านค้า  โรงงาน
คลังสินค้า เป็นต้น  และ/ หรือ ที่พักอาศัยถูกทำลาย ไม่สามารถดำเนินกิจการใดๆ ไม่มีผลผลิต  ไม่มีรายได้ประเทศชาติ  ต้องจัดสรรงบประมาณเพื่อบรรเทาสาธารณภัยกู้ภัยและควบคุมภัยให้เข้าสู่ภาวะปกติ  ทำให้สูญเสียงบประมาณเพิ่มขึ้นในขณะที่รายได้จากผลผลิตไม่มีหรือลดต่ำลง
3.    ปัญหาและผลกระทบทางสังคม  การเมืองและการปกครอง
             สังคมสับสนวุ่นวาย  อาจเกิดความขัดแย้งในหมู่ประชาชนที่ประสบภัยเนื่องจากการแก่งแย่ง ความคิดเห็นในการบรรเทาภัยหรือการกู้ภัยไม่ตรงกัน การเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัวรวมทั้งอาจเกิดการแทรกแซงจากบุคคลที่มุ่งร้ายต่อชาติ
4.    ปัญหาและผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม
             เมื่อสภาพสิ่งแวดล้อมถูกทำลายหรืออยู่ในสภาพที่ขาดสมดุล ย่อมมีผลกระทบต่อการดำรงชีวิตย่างปกติสุขของบุคคล  รวมทั้งสัตว์ต่างๆ ที่อาศัยอยู่ในบริเวณที่เกิดภัยนั้นๆ และบางครั้งสิ่งแวดล้อมนั้นๆ อาจกลายเป็นแหล่งเอื้อต่อการแพร่ระบาดของโรคได้ เช่น เมื่อมีการปนเปื้อนสิ่งสกปรกต่างๆ ทางน้ำ เป็นต้น
             ระยะหลังเกิดภัย
             ผลกระทบภายหลังเกิดสาธารณภัยนอกจากจะขึ้นอยู่กับประเภทและชนิดของสาธารณภัย ความรุนแรง ระยะเวลาที่เกิดแล้วยังขึ้นอยู่กับการจัดการเมื่อเกิดสาธารณภัยว่า มีประสิทธิภาพมากแค่ไหน  ถ้ามีการจัดการที่ดี มีประสิทธิภาพมากแค่ไหน  ถ้ามีการจัดการที่ดี มีความเสียหายลงได้ ปัญหาและผลกระทบต่างๆ ที่สามารถพบได้ในระยะหลังเกิดภัยนี้สามารถสรุปได้ดังนี้
1.    ปัญหาและผลกระทบทางสาธารณสุข
-     ผู้ประสบภัย หรือญาติ ได้รับผลการะทบต่อเนื่องจากระยะเกิดภัย คือ การเสียชีวิตพิการหรือทุพพล
ภาพภายหลัง  ส่วนปัญหาด้านจิตใจจะพบได้ทั้งตัวผู้ประสบภัย และญาติที่ต้อสูญเสียสิ่งที่ตนรัก  มีภาวะเครียด  ซึ่งถ้าไม่สามารถใช้กลไกทางจิตในการเผชิญปัญหาที่เหมาะสม  อาจก่อให้เกิดโรคทางจิตได้
-     ผู้ให้บริการ ได้รับผลกระทบจากระยะเกิดภัย ซึ่งอาจทำให้เกิดภาวะเหนื่อยล้าทั้งทางกายและทาง
จิตใจ จากการเข้าไปช่วยเหลือผู้ประสบภัย และอาจทำให้คุณภาพในการปฏิบัติงานไม่เต็มที่ รวมไปถึงอาจพบว่า มีผู้ประสบภัย ญาติ บางรายเข้าไม่ถึงบริการที่จัดให้ได้
2.    ปัญหาและผลการะทบทางเศรษฐกิจ
             ประเทศชาติ ต้องจัดสรรงบประมาณเพื่อฟื้นฟู บูรณะสิ่งที่เสียหายให้กลับคืนสู่สภาพเดิม  เช่น การขจัดสิ่งปรักหักพัง  การจัดการกับผู้ที่ไม่มีที่พักอาศัย  การฟื้นฟูแหล่งทำมาหากิน  การซ่อมแซมสาธารณประโยชน์ต่างๆ  และการสงเคราะห์ทางการเงินหรือสิ่งของที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตแก่ผู้ประสบภัย  รวมถึงการสูญเสียงบประมาณเพิ่มเติมไปในระบบบริการสาธารณสุข และการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม  นอกจากนี้รัฐต้องสูญเสียรายได้จากผู้เสียชีวิตก่อนวัยอันควร  และการฟื้นฟูสภาพ  ผู้พิการหรือทุพลภาพ
3.    ปัญหาและผลกระทบทางสังคม  การเมือง  และการปกครอง
             ปัญหาด้านนี้จะชัดเจนและอาจก่อความรุนแรงในภายหลังได้  หากเป็นกรณีที่สาธารภัยนั้นต้องมีการอพยพผู้ประสบภัยจำนวนมากมาพักอาศัยร่วมกันชั่วคราว  ซึ่งนอกจากความขัดแย้งในการแก่งแย่งสิ่งของหรือแหล่งประโยชน์ต่างๆ ที่มีจำกัดแล้ว  อาจเกิดความขัดแย้งเรื่องประเพณีวัฒนธรรมต่างๆ ขึ้นได้ เช่นกัน รวมไปถึงอาจพบปัญหาการจัดระบบระเบียบต่างๆ ในการอยู่ร่วมกันในหมู่ผู้ประสบภัยเหล่านี้ด้วย
4.    ปัญหาและผลกระทบทางสาธารณูปโภค  การคมนาคมขนส่ง
             เนื่องจาการถูกตัดขาด  และทำลายสาธารณูปโภค  การคมนาคมขนส่งก่อให้เกิดความล่าช้า และส่งผลกระทบต่อสินค้าที่จำเป็นอาจขาดแคลน  ทำให้ราคาสินค้าสูงขึ้นเกิดตลาดมืดที่รัฐไม่สามารถควบคุมได้  รวมทั้งอาจส่งผลให้เกิดอาชญากรรมในรูปแบบต่างๆ ขึ้นได้
5.    ปัญหาและผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม
             เป็นปัญหาที่เกิดต่อเนื่องมาจากระยะเกิดภัย  เมื่อระบบนิเวศที่สมดุลถูกทำลายย่อเกิดปัญหาที่เป็นลูกโซ่ต่างๆ ตามมา  หรือในบางครั้งสาธารณภัยนั้นอาจส่งผลรุนแรงถึงขั้นก่อให้เกิดมลพิษในอากาศ ในน้ำ  จนกระทั่งคนและสัตว์ไมรถอาศัยในแหล่งที่เดิมได้อีกต่อไป
กิจกรรมการบรรเทาสาธารณภัย
             กิจกรรมพื้นฐานในการบรรเทาสาธารณภัย ในการวางแผนเพื่อป้องกัน ควบคุมและลดความรุนแรงจาก     สาธารณภัยที่จะเกิดขึ้นควรครอบคลุมทั้ง 3 ระยะ ของการเกิดภัย องค์การอนามัยโลกได้เสนอแนวกิจกรรมไว้ ดังนี้
1.    การลดความรุนแรงของภัย (Reduction) โดยการศึกษากลไกการเกิด วิเคราะห์สาเหตุ กลไกการทำลาย
ตลอดจนวิธีการลดความรุนแรงลง
2.    การป้องกันและการบรรเทาสาธารณภัย เพื่อให้หมดหรือเบาบางลง (Prevention and Mitigation)
3.    การเตรียมคน เตรียมอุปกรณ์ (Preparedness) เพื่อผจญกับภัย ให้ความรู้โดยการฝึกอบรมให้รู้จักสาเหตุ
การวางแผนป้องกันและเตรียมรับสถานการณ์ต่างๆ การกู้ภัยและการหนีภัยอย่างปลอดภัย
4.    การช่วยผู้ประสบภัยในภาวะฉุกเฉิน (Relief) การป้องกันภัยซ้ำซ้อน การบรรเทาทุกข์ และการ
รักษาพยาบาลผู้บาดเจ็บและตาย ผู้ประสบภัยอื่นๆ การรักษาความปลอดภัยที่เกิดเหตุ และการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม
5.    การฟื้นฟูสมรรถภาพของผู้ประสบภัย (Rehabilitation) ทั้งการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า และการฟื้นฟูใน
ระยะยาวเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี
6.    การซ่อมแซมบูรณะ และการพัฒนาทั้งบุคคล ครอบครัว ชุมชน ระบบสังคม ได้แก่ การซ่อมแซมที่อยู่
อาศัย ที่ทำกิน การสาธารณูปโภค การสุขาภิบาล
2. การวางแผนการดูแลผู้ประสบปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ ณ ที่จุดเกิดเหตุและระหว่างการเคลื่อนย้ายไปโรงพยาบาล

แนวทางในการวางแผนป้องกันสาธารณภัย ใช้หลัก 5E คือ
1.       Engineering การสร้างสิ่งต่างๆ เพื่อป้องกันภัยไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ในยานพาหนะ ถนนบ้านเรือนที่อยู่
อาศัย สิ่งแวดล้อมต่าง ๆ เพื่อป้องกันภัย ไม่ว่าทางกายภาพ ทางเคมี ทางชีวภาพ หรือทางสังคมเศรษฐกิจ จะต้องมีการศึกษาอย่างละเอียดลึกซึ้ง
2.       Education การให้ความรู้แก่ประชาชนในด้านความปลอดภัย แก้ไขความเชื่อ และค่านิยมที่ผิดๆ การให้ความรู้ที่ถูกต้องตั้งแต่วัยเด็กสืบต่อมาจนถึงวัยผู้ใหญ่อย่างต่อเนื่อง โดยใช้สื่อทุกแขนงทั้งทางโรงเรียนและสังคม มีความจำเป็นสูงมาก ในบ้านเราที่กำลังเปลี่ยนสังคมเกษตรกรรมมาเป็นสังคมอุตสาหกรรมหรือสังคมเมือง พฤติกรรมสังคมเกษตรกรรมที่อิสรเสรีไร้พรมแดนต้องเปลี่ยนมาอยู่ระเบียบวินัย มีกรอบ มีกฎเกณฑ์โดยไม่คุ้นเคย จึงมักจะเป็นเหตุให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่ายๆ
3.       Enforcement การบังคับใช้ การบังคับนี้จะเป็นทั้งทางบวก และทางลบก็ได้ การบังคับใช้ถ้าผู้ประพฤติ
ตามก็จะชมเชยให้รางวัล ประกาศความดีความชอบ ถ้าฝ่าฝืนก็จะถูกลงโทษ การบังคับใช้ต้องมีผู้มีอำนาจที่เกี่ยวข้องดูแลรักษากฎเกณฑ์อย่างเคร่งครัดจึงจะบังคับได้ผล ผู้มีอำนาจต้องมีความรู้ความสามารถบังคับใช้ให้เป็นไปตามระเบียบได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4.       Evaluation  การประเมินผล ประเมินทั้งด้าน engineering ด้าน education และด้าน enforcement  
โดยอาศัยข้อมูลหลังจากใช้แก้ปัญหาทั้ง 3 ด้านแล้ว ต้องมีการเก็บข้อมูลวิเคราะห์และประเมินผลเป็นประจำ เมื่อพบข้อบกพร่องก็ทำการปรับปรุงแก้ไขโดยทันที
5.       Evolution การพัฒนาปรับปรุงแก้ไขสิ่งบกพร่องที่เกิดขึ้นจนได้มาตรฐานที่เหมาะสมแก่สังคมนั้น ๆ

ปัจจัยที่สัมพันธ์กับกิจกรรมการรับสาธารณภัย มีดังนี้
1.       ความสามารถคาดคะเน และรู้ถึงผลของภัยนั้นได้เป็นอย่างดี การคาดคะเนและทราบผล ดังกล่าวขึ้นอยู่กับ
1.1    ประสบการณ์ที่ผ่านมา
1.2    การศึกษาสาธารณภัยในรูปแบบเดียวกันจากเหตุการณ์สาธารณภัยในอดีต ปัจจุบัน และสาธารณภัยจากต่างประเทศหรือต่างท้องที่
1.3    การศึกษาพฤติกรรมของสาธารณภัยตั้งแต่ก่อนเกิดภัย ขณะเกิดภัย และภายหลังเกิดภัยว่ามีลักษณะการดำเนินการของภัยที่ทำลายทรัพย์สิน สุขภาพของมนุษย์อย่างไร รู้จุดอ่อนจุดแข็งของสาธารณภัย รู้ลักษณะภูมิประเทศที่เอื้ออำนวยต่อการรับสาธารณภัยก็จะเป็นแนวทางที่ใช้ป้องกัน และบรรเทาสาธารณภัยได้
2.       การเตือนภัย ถ้าหากชุมชนได้รับการเตือนภัยไว้ก่อนแล้ว จะได้มีการเตรียมตัว เตรียมปฏิบัติการเพื่อรับสาธารณภัยตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายได้ดีกว่าสมบูรณ์กว่าการปฏิบัติการฉุกเฉินที่ไม่รู้ตัวล่วงหน้า
3.       การวางแผนรับสาธารณภัย แผนรับสาธารณภัยแต่ละชนิดแต่ละรูปแบบนั้นมีข้อแตกต่างในรายละเอียด
ปลีกย่อยแต่จะมีหลักการและแนวทางเดียวกัน การวางแผนรับสาธารณภัยที่ดีพร้อมทั้งได้ฝึกซ้อมเพื่อรับสาธารณภัยมาแล้ว ซึ่งจะเป็นการทดสอบความรู้ความพร้องเพรียงและความแม่นยำในการใช้แผน ซึ่งจะเอื้ออำนวยประโยชน์ต่อการรับสาธารณภัยของชุมชนอย่างยิ่ง
4.       การคมนาคม ประกอบด้วย
4.1    การจัดการจราจรและประสิทธิภาพของยานพาหนะ การจราจรที่คล่องตัวภายในสถานที่เกิดเหตุใกล้ที่เกิดเหตุ และห่างไกลที่เกิดเหตุ ซึ่งจะต้องคำนึงที่ยานพาหนะ วิธีการใช้แผนระบบต่าง ๆ ถ้าประสิทธิภาพสูงก็จะมีประโยชน์มากในการรับสาธารณภัย
4.2    การสื่อสาร จะต้องคล่องตัวและใช้อุปกรณ์ และวิธีการสื่อสาร ที่รวดเร็วแม่นยำ
4.3    ข่าวสารที่แม่นยำ กะทัดรัดจะเป็นตัวแปรต่อการรับสถานการณ์ และขวัญกำลังใจของชุมชนที่เผชิญเหตุการณ์อยู่
5.       ผู้นำในชุมชนที่รอบรู้ เข้มแข็ง เด็ดขาด และดำเนินการได้ถูกต้อง มีส่วนสำคัญในการรับสาธารณภัย
6.       ความสามารถ และประสิทธิภาพของชุมชน กลุ่มชนที่มีวินัยจะช่วยควบคุมสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ดีกว่ากลุ่มชนที่ขาดวินัย การฝึกซ้อม ถ้ากลุ่มชนเตรียมการตามแผน จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของชุมชนในการรับสาธารณภัยมากขึ้น
7.       ลักษณะการทำงานของกลุ่มชน ในชุมชนที่ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ และประสานกันตามหน้าที่ที่ระบุไว้ก่อนอย่างชัดเจน มีการทำงานคล้องจองกัน ร่วมมือกันเป็นอย่างดี และมีทิศทางดำเนินการไปทางเดียวกัน ย่อมทำให้ชุมชนสามารถควบคุมสาธารณภัยได้ดี
ขั้นตอนการช่วยเหลือเมื่อเกิดสาธารณภัย
           สาธารณภัยมีการทำลายทั้งทรัพย์สิน และชีวิตของมนุษย์ ดังนั้น การช่วยเหลือผู้ประสบภัยในช่วงเกิดเหตุนั้นแบ่งออกได้ 2 กลุ่มด้วยกัน คือ
1.       ทรัพย์สิน จะมีการดำเนินการในด้าน
1.1    อพยพขนของออกจากที่เกิดเหตุ
1.2    การบรรเทาภัย และระงับภัยให้ที่สุดถ้าทำได้
1.3    การกู้ภัย และป้องกันภัยที่จะลุกลามต่อไป
วิธีการดังกล่าวต้องอาศัยความชำนาญงาน เทคโนโลยี ตลอดจนอุปกรณ์ต่าง ๆ เพื่อบรรลุถึงการป้องกัน
บรรเทา กู้และระงับภัย
1.4    การป้องกันภัยที่จะเกิดขึ้นซ้ำซ้อนในบริเวณเกิดเหตุ โดยการประกาศเป็นเขตอันตรายห้ามเข้า
2.       ผู้ประสบภัย ผู้ประสบภัยประกอบด้วย 2 กลุ่มใหญ่ คือ ผู้บาดเจ็บตาย ผู้ไม่บาดเจ็บ ซึ่งมีความหลากหลาย
ในอารมณ์จากการตอบสนองต่อภัยไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ หน้าที่รับผิดชอบ ตลอดจนนิสัยใจคอของแต่ละคนไป
2.1    ในกลุ่มผู้ไม่บาดเจ็บ จะต้องมีกิจกรรม ดังนี้
1)       การหนีภัย คือ การหนีออกจากภัยที่คุกคามอยู่ไปยังที่พักชั่วคราวที่ปลอดภัย
2)       การบรรเทาทุกข์ในเบื้องต้น ประกอบด้วย
(1)     อาหาร
(2)     เครื่องนุ่งห่ม
(3)     ที่พักชั่วคราว
(4)     น้ำสะอาด
(5)     ส้วม และการกำจัดสิ่งปฏิกูล
3)       การบรรเทาทุกข์ในเวลาต่อมา จะมีลักษณะเดียวกันกับการบรรเทาทุกข์เบื้องต้น แต่ภาระหน้าที่ส่วนใหญ่จะเป็นงานที่ผู้ประสบภัยต้องร่วมมือ ได้แก่
(1)     อาหาร อุปกรณ์ประกอบอาหาร อาหารสำเร็จรูป
(2)     ที่พักอาศัยแข็งแรงขึ้น โดยการอพยพไปอยู่ในสถานที่ที่เตรียมการไว้ให้พร้อมทั้งมีเครื่องอุปโภค บริโภค และการสุขาภิบาลที่ดี
(3)     การป้องกันโรคติดต่อ เช่น โรคทางเดินอาหาร โรคทางเดินหายใจ
(4)     การบำรุงขวัญ กำลังใจ
4)       การบูรณะซ่อมแซม (Reconstruction) ประกอบด้วย
(1)     ที่อยู่อาศัย
(2)     แหล่งประกอบอาชีพ
(3)     ทุนทรัพย์ เพื่อเป็นเงินทุน
(4)     การรักษาพยาบาลและการบริการทางสาธารณสุข
(5)     การอพยพกลับคืนภูมิลำเนาเดิมและการจัดสังคมใหม่ให้เหมาะสม
2.2    ในกลุ่มผู้บาดเจ็บ ขั้นตอนดำเนินงาน คือ
1)       การช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ จะมีทั้งการค้นหา และพาออกจากบริเวณอันตรายไปยังที่ปลอดภัย (Search and Rescue)
2)       การปฐมพยาบาล และเคลื่อนย้ายก่อนไปถึงโรงพยาบาล
3)       การนำส่งโรงพยาบาล
4)       การรักษาในโรงพยาบาล
5)       การฟื้นฟูสมรรถภาพ (Rehabilitation) ในระยะสั้นและระยะยาว
6)       การส่งกลับภูมิลำเนาเดิม
2.3    กลุ่มที่ตาย มีขั้นตอนดำเนินงานตั้งแต่เคลื่อนย้ายศพออกจากที่เกิดเหตุ รวบรวมหลักฐานเพื่อการชันสูตรพลิกศพทางด้านนิติเวช และกฎหมาย การฌาปนกิจศพ เป็นต้น
ขั้นตอนการรักษาพยาบาลผู้บาดเจ็บจากสาธารณภัย
ผู้ป่วยโดยสาธารณภัยนั้น ประกอบด้วยกลุ่มใหญ่ ๆ 3 กลุ่มด้วยกัน คือ
1.       กลุ่มที่ต้องอาศัยศัลยกรรมในการรักษา กลุ่มนี้มักเกิดจากผลกระทบทางกายภาพและบางส่วนของเคมี และ
ชีวภาพ มักจะเกี่ยวข้องกับการมีบาดแผล มีการเสียเลือดทั้งภายใน และภายนอกร่างกาย
2.       กลุ่มที่ต้องอาศัยอายุรกรรมในการรักษา กลุ่มนี้มักจะเกี่ยวข้องกับพิษ รังสี
3.       กลุ่มที่ต้องอาศัยจิตเวชกรรมในการรักษา กลุ่มนี้อาจจะมีอยู่ในกลุ่มศัลยกรรมหรืออายุรกรรมหรืออยู่ใน
กลุ่มที่ไม่ได้รับบาดเจ็บ พบได้ประมาณร้อยละ 10 ของผู้ป่วยที่เข้ามารักษาในโรงพยาบาล
           อย่างไรก็ดี ยังแบ่งผู้ป่วยออกเป็น 4 กลุ่มตามอาการ เพื่อง่ายต่อการดำเนินการรักษา คือ
1.     กลุ่มที่มีอาการไม่รุนแรง โดยมากถือว่าถ้าเดินได้ อาการจะไม่มากนัก
2.     กลุ่มอาการหนัก พวกนี้จะต้องหามมา นอน หรือนั่งมา อาการและอาการแสดงยังคลุมเครือ ต้องใช้การ
ตรวจพิเศษต่าง ๆมาสนับสนุนการวินิจฉัยโรค
3.     กลุ่มอาการหนักมากหรือสาหัสมาก กลุ่มนี้ต้องให้การรักษาโดยด่วน หรือดำเนินการช่วยชีวิตทันที
4.     กลุ่มที่ถึงแก่กรรม ในกลุ่มนี้มักจะรวมผู้ป่วยที่หมดหวังจริง ๆในการรักษาเข้าไปด้วย
จากหลักสำคัญตามขั้นตอนในการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยดังกล่าวข้างต้น จะเห็นว่าการวางแผนเตรียมพร้อมเพื่อสาธารณภัยนั้นเป็นสิ่งสำคัญยิ่งและเป็นงานระดับประเทศ ซึ่งรัฐบาลของแต่ละประเทศจำเป็นต้องจัดวางมาตรการป้องกันและบรรเทาภัยไว้ในนโยบายของประเทศ เช่น การวางแผนป้องกันฝ่ายพลเรือนในกรณีภัยพิบัติ ฝ่ายทหาร ตำรวจ รวมทั้งแผนการร่วมมือ ประสานงานให้ความช่วยเหลือระดับโลก ซึ่งมีองค์การหลายองค์การร่วมมือประสานงานเช่น องค์การสหประชาชาติ องค์การอนามัยโลก องค์การอาหารและการเกษตร สภากาชาดสากล เป็นต้น

แผนป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนแห่งชาติ พ.ศ. 2541
เพื่อรับสาธารณภัยเมื่อเกิดวินาศภัยทั่วไป รัฐได้มีการกำหนดวัตถุประสงค์ในการกำหนดแผนการเตรียมการและช่วยเหลือให้มีการสูญเสียน้อยที่สุด และแก้ไขฟื้นฟูบูรณะภายหลังเกิดสาธารณภัย โดยมีกิจกรรมแบ่งเป็น 3 ขั้นตอน คือ
1.       เตรียมการก่อนเกิดสาธารณภัย
2.       ปฏิบัติการขณะเกิดสาธารณภัย
3.       ฟื้นฟูบูรณะภายหลังเกิดสาธารณภัย
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งส่วนราชการทหาร ตำรวจ พลเรือน เอกชน มูลนิธิต่าง ๆ อาสาสมัครตลอดจนองค์การต่าง ๆ ระดับชาติ ซึ่งมีการวางแผน กำหนดหน้าที่ประสานงานกันตามภาระหน้าที่ของแต่ละหน่วยงาน
แนวทางการดำเนินการเพื่อรับสาธารณภัยในเขตจังหวัด
จัดให้มีศูนย์อำนวยการควบคุมและรู้วินาศภัยในจังหวัด โดยแบ่งระดับต่างๆ ดังนี้
1. ระดับจังหวัด ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้อำนวยการศูนย์ โดยมีรองผู้อำนวยการศูนย์ฝ่ายต่างๆ 3 ฝ่าย คือ ฝ่ายรักษาความสงบ ฝ่ายสาธารณภัย และฝ่ายประชาสงเคราะห์ หัวหน้าส่วนราชการในจังหวัดเป็นกรรมการ
2. ระดับอำเภอ นายอำเภอหรือหัวหน้าเขตเป็นผู้อำนวยการและหัวหน้าหน่วยงานของอำเภอเป็นกรรมการ
3. ระดับตำบล กำนันเป็นผู้อำนวยการ มีกรรมการตามความเหมาะสม
4. ระดับหมู่บ้าน ผู้ใหญ่บ้านเป็นผู้อำนวยการและกรรมการหมู่บ้านหรือผู้อื่นเป็นกรรมการตามความเหมาะสม
ศูนย์อำนวยการรับวินาศภัยประกอบด้วยหน่วยงานต่างๆ ดังนี้
1.       หน่วยรับข้อมูลข่าวสาร
2.       หน่วยกู้ภัย
3.       หน่วยปฐมพยาบาล
4.       หน่วยรักษาความสงบ
5.       หน่วยลำเลียง
6.       หน่วยบรรเทาทุกข์
7.       หน่วยฟื้นฟูบูรณะ
ซึ่งในแต่ละหน่วยจะมีหน่วยราชการ องค์การและรัฐวิสาหกิจ หน่วยอาสาสมัคร ได้แก่ ลูกเสือชาวบ้าน เหล่ากาชาด สตรีอาสารักษาดินแดน (ส.อ.ร.ด.) ลูกเสือ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อ.ส.ม.) นักศึกษา นักเรียน ข้าราชการพลเรือน ผู้นำชุมชนของเอกชน ประชาชนทั่วไป
แนวทางการปฏิบัติงาน ให้ผู้อำนวยการศูนย์มีหน้าที่ ดังต่อไปนี้
1.       กำหนดเขตปฏิบัติการ
2.       กำหนดหน้าที่ขอบข่ายความรับผิดชอบของแต่ละหน่วยที่เกี่ยวข้องให้ชัดเจน ไม่ซ้ำซ้อน
3.       ให้แต่ละหน่วยงานส่งแผนและประสานซึ่งกันและกัน
4.       ให้มีการประชุมซักซ้อมเพื่อให้เกิดความเข้าใจในแผนงาน ภารกิจของแต่ละบุคคลและถือเป็นนโยบายหลัก
5.       ให้ศูนย์อำนวยการประสานงานกับจังหวัดอื่นๆ และหน่วยเหนือ
6.       ให้มีการติดตาม ประเมินผลการปฏิบัติงาน มีการปรับปรุงแผนให้ทันสมัยและมีประสิทธิภาพ
ขอบเขตการติดต่อสื่อสาร มีวิธีการและอุปกรณ์ที่ใช้ได้ดังนี้
1.       การนำเสนอข่าวสาร
2.       โทรศัพท์ ซึ่งอาจให้ของส่วนกลางหรือของทางราชการ ศูนย์โทรคมนาคม
3.       โทรสาร
4.       วิทยุ หน่วยงานที่สามารถติดต่อได้ เช่น ตำรวจทางหลวง ศาลากลางจังหวัด ตำรวจตะเวนชายแดน ทหาร การไฟฟ้า กรมชลประทาน หน่วยงานสาธารณสุข เป็นต้น
5.       สื่อสารมวลชน ได้แก่ วิทยุกระจายเสียงทั้งของส่วนกลางและท้องถิ่น โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ สิ่งพิมพ์อื่น
ข้อเสนอแนะในการเตรียมพร้อมในด้านต่างๆ
           1.  ด้านพัสดุ  ได้แก่  อาหาร  น้ำสะอาด  เวชภัณฑ์  น้ำมันเชื้อเพลิง
           2.  ด้านอุปกรณ์  ได้แก่  เครื่องมือ  สื่อสาร  ยานพาหนะ  เครื่องกำเนิดไฟฟ้า  เครื่องสูบน้ำ  เครื่องมือ  เครื่องใช้อื่นๆ  ที่จำเป็น
           3.  ด้านบุคลากร  ให้มีการเตรียมการกำหนดอยู่เวรยามระดับเจ้าหน้าที่ระวังภัย  24  ชั่วโมง
การวางแผนรักษาความปลอดภัยสถานที่ราชการ ซึ่งเป็นหัวใจของการบังคับบัญชา แก้ไขสถานการณ์  ควรจัดให้มีกิจกรรมดังนี้
           1.  การจัดให้มีการรักษาความปลอดภัยรอบนอกอาคาร  เช่น  แสงสว่าง  การเดินตรวจ
           2.  จัดยามตรวจในจุดสำคัญ
           3.  การตรวจตระเวนภายใน
           4.  การจำกัดทางเข้าออก
           5.  การกำหนดเขตหวงห้าม
           6.  การเสริมกำลังและส่งกำลังบำรุง
           7.  การจัดเวรชั้นผู้ใหญ่
           8.  การอารักขาบุคคลสำคัญ ฯลฯ
           การวางแผนด้านการพยาบาลในการบรรเทาทุกข์
           จากหลักการวางแผนบรรเทาสาธารณภัยมีจุดมุ่งหมายตามลำดับ  2  ประการ  ได้แก่
           1.  เพื่อใช้ทรัพยากรต่างๆ  ทั้งกำลังคน  และเครื่องมือ  วัสดุอุปกรณ์ต่างๆ  ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด
           2.  ช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติและขจัดความเดือดร้อนให้ได้มากที่สุด
           จากหลักการดังกล่าวนำมากำหนดแนวทางในการปฏิบัติ ดังนี้
           1.  การเลือกให้ความช่วยเหลือ  จำกัดเพียงแค่การปฐมพยาบาล  โดยใช้หลักการคัดเลือกแยกผู้ป่วย
           2.  การให้ความช่วยเหลือ  จำกัดเพียงแค่การปฐมพยาบาล  โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อฟื้นชีวิตและป้องกันความพิการ
           3.  บุคลากรที่จัดเตรียมไว้มีหน้าที่เฉพาะตามแผนที่กำหนดไว้เท่านั้น  เพื่อป้องกันการสนับสนวุ่นวายในขณะเกิดภาวะฉุกเฉิน
           4.  ผู้บาดเจ็บที่ต้องได้รับการช่วยเหลือรีบด่วน  ทางเดินหายใจขัดข้อง  เลือดออกมาก
           5.  การช่วยเหลือผู้ประสบภัยในขณะที่เกิดเหตุเพลิงไหม้ เคลื่อนย้ายผู้ป่วยด้วยความรวดเร็วเพื่อนำออกมาจากที่เกิดเหตุ แล้วจึงปฐมพยาบาลในเขตที่ปลอดภัย       
6.  รถไฟตกราง ปฐมพยาบาลผู้ที่ได้รับบาดเจ็บในเหตุการณ์ก่อนแล้วจึงเคลื่อนย้ายผู้ป่วยออกจากที่เกิดเหตุอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ
การวางแผนงานสาธารณภัยในโรงเรียน
           ผู้มีบทบาทที่สุด  คือ  ผู้บริหารโรงเรียน  ในการดำเนินงาน  หรือมอบหมายหน้าที่รับผิดชอบ  โดยอาจยึดหลักปฏิบัติดังนี้
           1.  ควรมีแผนที่แสดงถึงขอบเขต  เส้นทางผ่าน  ฤดูกาลของภัยธรรมชาติ  เพื่อให้ครูและนักเรียนรู้ถึงธรรมชาติการเกิด  และความรุนแรง  เช่น  น้ำท่วม  ใต้ฝุ่น  เป็นต้น
           2.  จัดตั้งทีม  โดยมีครูใหญ่เป็นผู้นำ  ให้ความรู้ด้านปฐมพยาบาลแก่นักเรียนในชั้นเรียนต่างๆ  จัดแบ่งกลุ่มนักเรียน  วางแผนให้การช่วยเหลือ  ส่วนมากจะจัดเป็นกลุ่มอาสาสมัคร  ลูกเสือ  เนตรนารี  อนุกาชาด  ฯลฯ
           3.  วางแผนติดต่อกับผู้ปกครองนักเรียน  เพื่อความเข้าใจตรงกัน  และความร่วมมือต่างๆ
           4.  จัดอบรมครูและเจ้าหน้าที่โรงเรียน  ด้านความรู้เกี่ยวกับปฐมพยาบาลและการเป็นอาสาสมัครหน่วยงานต่างๆ  เพื่อเตรียมพร้อมรับภัยพิบัติต่างๆ  อันจะเกิดขึ้น
           5.  มีการติดต่อประสานงานกับหน่วยงานที่มีหน้าที่โดยตรง
           6.  จัดแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบให้ครู  เจ้าหน้าที่และนักเรียน  ตัวอย่าง  เช่น  การกำหนดแผนดับเพลิง  โดยแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบออกเป็น  4  กลุ่ม
                     กลุ่มที่  1  มีหน้าที่ดับเพลิง
                     กลุ่มที่  2  มีหน้าที่อพยพสิ่งที่มีค่าต่างๆ  เอกสารสำคัญ
                     กลุ่มที่  3  มีหน้าที่เป็นกำลังสำรองแล้วแต่จะได้รับคำสั่ง
                     กลุ่มที่ 4  คือ กลุ่มที่ไม่มีหน้าที่ เมื่อเกิดเพลิงไหม้ให้รวมกันอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่ง  ที่จัดบอกไว้ เพื่อความเรียบร้อยและความคล่องตัวในการปฏิบัติงานของกลุ่มอื่นๆ และเพื่อความปลอดภัยของตัวเอง
           7.  จัดให้มีการฝึกซ้อมเป็นประจำ  เพื่อการเตรียมพร้อมอยู่เสมอ
           ในสภาพการณ์ของประเทศไทย  ในท้องที่ชนบทขาดกำลังเจ้าหน้าที่ในด้านสาธารณสุขและหน่วยงานบรรเทาทุกข์ต่างๆ  ซึ่งนักเรียนที่รับการฝึกฝนจะเป็นกำลังสำคัญของชุมชน  ในการให้ความช่วยเหลือประชาชนผู้เคราะห์ร้าย  และให้ความช่วยเหลือด้านอื่นๆ  เป็นอย่างดี
บทบาทของพยาบาลในการบรรเทาสาธารณภัย
ความหมาย  (Definition of  Disaster Nursing)
           การพยาบาลสาธารณภัยเป็นการพยาบาลที่ต้องนำความรู้และทักษะทางการพยาบาลทั่วไป และด้านการพยาบาลฉุกเฉินมาประยุกต์ใช้ในสถานการณ์สาธารณภัยทั้งในระยะก่อนเกิด ขณะเกิด และหลังเกิดสาธารณภัยเพื่อป้องกันและหรือลดความสูญเสียที่จะเกิดกับชีวิตและทรัพย์สิน  รวมทั้งการฟื้นฟูสภาพร่างกายและจิตใจของผู้ประสบภัยและญาติ
ความหมายของการพยาบาลสาธารณภัยยังไม่เป็นที่ตกลงที่ชัดเจนสมาคมพยาบาล สาธารณภัยของประเทศญี่ปุ่น  ให้ความหมายของการพยาบาลสาธารณภัยว่า  การดำเนินกิจกรรมที่มุ่งลดความเสียหายต่อชีวิตและสุขภาพของมนุษย์ที่เกิดจากสาธารณภัย  โดยใช้องค์ความรู้และทักษะทางการพยาบาล อย่างระบบ ยืดหยุ่น  โดยร่วมมือกับวิชาชีพอื่น
ลักษณะของการปฏิบัติการพยาบาลสาธารณภัย
           เป็นการปฏิบัติการพยาบาลให้ครอบคลุมทุกระยะของการเกิดสาธารณภัยโดยเป็นบริการเพื่อ
1.    ป้องกันและลดความรุนแรงที่จะเกิดจากสาธารณภัย
2.    มุ่งเน้นหนักด้านการพยาบาลฉุกเฉินที่ให้แก่ผู้ประสบภัย จำนวนมากในขณะเกิดภัย
3.     ช่วยฟื้นฟูสภาพของผู้ประสบภัยและญาติ ทั้งด้านร่างกายและจิตใจ

คุณสมบัติของพยาบาลพื้นฐานของพยาบาลทั่วไปแล้ว  ควรจะต้องมีความรู้และทักษะ ดังนี้
1.  มีความรู้ทางการพยาบาลและมีประสบการณ์การปฏิบัติงานการพยาบาล  ฉุกเฉิน  การพยาบาลวิกฤต  และด้านการรักษาขั้นต้น
2.  มีความรู้ด้านสาธารณภัย มีความสามารถในการประเมินสถานการณ์และคาดการณ์ถึงปัญหาสุขภาพที่จะเกิดจากสาธารณภัยชนิดต่างๆได้ มีความสามารถให้การพยาบาลได้ครอบคลุมทุกระยะของสาธารณภัย
           3.  มีทักษะในการตัดสินใจที่ดี    มีภาวะของการเป็นผู้นำ  และสามารถแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
           4.  มีทักษะในการสื่อสาร  และการบันทึกข้อมูลต่างๆได้อย่างถูกต้องครบถ้วน  ชัดเจน
           5.  มีวุฒิภาวะ  มีสติ จิตใจเข้มแข็ง  รอบคอบ  อดทน  และต้องมีสุขภาพกายและจิตแข็งแรง
บทบาทหน้าที่ของพยาบาลที่ปฏิบัติงานด้านการพยาบาลสาธารณภัย
           บทบาทหน้าที่ของพยาบาลต้องครอบคลุมบริการพยาบาลด้านการส่งเสริม สุขภาพ  การรักษาพยาบาล  การควบคุมและป้องกันโรค  การพื้นฟูสภาพทั้งด้านร่างกาย  จิตสังคม  จิตวิญญาณ ในทุกๆ ระยะของการเกิด  สาธารณภัย  ทั้งนี้ถ้าพิจารณาตามวงจรของการเกิดสาธารณภัยแล้วจะสามารถจำแนกบทบาทหน้าที่ของพยาบาลในงานสาธารณภัยแต่ละระยะ ได้ดังนี้
1.       บทบาทหน้าที่ของพยาบาลในระยะก่อนเกิดสาธารณภัย
1.1   การประเมินสถานการณ์สาธารณภัย
-             การประเมินสาธารณภัย  โดยการรวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูลที่คาดว่าจะทำให้เกิดสาธารณภัย  ได้แก่  การประเมินภัย ( Hazard assessment ) การประเมินจุดอ่อนหรือกลุ่มเสี่ยงภัย (Vulnerability  assessment ) การประเมินการจัดการ (Manageability assessment ) และการประเมินความเสี่ยงที่จะเกิดภัย  ( Risk assessment )
-             การประเมินความสามารถในการให้บริการเพื่อตอบสนองต่อสาธารณภัยโดยการประเมินการปฏิบัติการพยาบาลเมื่อเกิดสาธารณภัยในอดีตการประเมินความพร้อมรับสาธารณภัยตั้งแต่ความพร้อมของแผนสาธารณภัยความพร้อมของเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมาย  การเตรียม อุปกรณ์ เครื่องมือ เวชภัณฑ์  ยา ฯลฯ การประเมินจุดอ่อนในการปฏิบัติการพยาบาลและการแก้ไข
1.2   การจัดทำแผนหรือร่วมจัดทำแผนสาธารณภัย
           1.2.1 แผนสาธารณภัยกับโรงพยาบาล
           พยาบาลเป็นส่วนหนึ่งของบุคคลกรที่ต้องปฏิบัติงานเมื่อเกิดสาธารณภัย  ดังนั้นพยาบาลควรต้องมีส่วนร่วมในการจัดทำแผน  ทั้งนี้การวางแผนต้องคำนึงถึง  จำนวนผู้มารับบริการจะมีมากน้อยเพียงใดและกำหนดตามความเหมาะสมกับความสามารถที่จะให้บริการได้ แผนจะต้องกำหนดบทบาทหน้าที่ของบุคลากร ต่างๆ ให้ชัดเจน เช่น ผู้รับผิดชอบการลงทะเบียนและสถิติ ผู้รับผิดชอบการให้บริการรักษาพยาบาล ผู้รับผิดชอบการจัดเก็บทรัพย์สินของมีค่าของผู้ป่วย ผู้รับผิดชอบการจัด Supply ต่างๆ รวมทั้งผู้รับผิดชอบการจัดสาธารณูปโภค เป็นต้น   โดย ควรมีการจัดอัตรากำลังให้มีเพียงพอในการให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง เป็น เวลา 3-5 วัน หรือนานกว่านั้นถ้าเหตุการณ์ยังไม่สงบ
           สำหรับการจัดแพทย์  พยาบาลออก ไปช่วย ณ ที่เกิดเหตุนั้น  ควรจัดบุคคลที่มีประสบการณ์ด้านการบรรเทาสาธารณภัย  เป็นผู้มีการตัดสินใจดีและถูกต้อง มีความคล่องตัว  ว่องไว ปฏิภาณไหวพริบดี  มีความสังเกตดี  มีมนุษย์สัมพันธ์ดี  ให้ออกไปปฏิบัติงาน
           1.2.2 แผนสาธารณภัยชุมชน
           พยาบาลเป็นที่ปรึกษา  และเป็นผู้ให้ข้อมูลความรู้ในเรื่องระบบบริการสุขภาพเพื่อช่วยเหลือให้ชุมชนมีความสามารถในการเขียนแผนสาธารณภัยของชุมชนได้  โดยยึดหลักการเช่นเดียวกันและช่วยชุมชนให้มีความพร้อมในการรับสาธารณภัยที่อาจจะเกิดขึ้นให้มากที่สุดเท่าที่ทรัพยากร / แหล่งประโยชน์ของชุมชนจะเอื้อให้ได้
1.3   การเตรียมการเพื่อรับสาธารณภัย
-             การเตรียมความพร้อมของบุคลากร  ในการเตรียมการเพื่อสาธารณภัย  หน้าที่ต่างๆ  ที่มีความสำคัญในการตัดสินใจและสั่งการจะต้องกำหนดไว้ล่วงหน้าและการกำหนดตัวผู้รับผิดชอบนั้นควรกำหนดตามตำแหน่งหน้าที่มากกว่ากำหนดตัวบุคคล  โดยจัดเตรียมบุคลากรต่างๆตามที่กำหนดไว้ในแผนและทุกคนที่ต้องปฏิบัติงานตามแผนต้องได้รับการชี้แจงให้ทราบหน้าที่ และมีการซ้อมแผนและการฝึกอบรมความรู้ที่เกี่ยวข้องที่ต้องรับผิดชอบเพิ่มเติมให้แก่บุคลากรต่างๆ ได้แก่ แพทย์  พยาบาล  เภสัชกร  เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์  นักสังคมสงเคราะห์  ผู้ช่วยพยาบาลคนงาน เจ้าหน้าที่ธุรการ  เจ้าหน้าที่เวชระเบียน  พนักงานสื่อสาร  คนขับรถ  เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย
-             การเตรียมอุปกรณ์  เครื่องมือ เครื่องใช้ในการรักษาพยาบาลให้เพียงพอกับการปฏิบัติงาน เครื่องมือที่จำเป็นต้องใช้ใน ภาวะฉุกเฉิน ที่ควรจัดเตรียมให้พร้อมใช้ในรถ พยาบาล  ควรมีเครื่องมือทำการช่วยฟื้นฟูชีพ (Airway Resuscitation )
-             การเตรียมเวชภัณฑ์ยาที่จำเป็น ให้เพียงพอ โดยต้องเก็บสำรองไว้ให้พร้อมใช้ได้ทันที และสามารถจะเบิกจากคลังได้ตลอดเวลา  ได้แก่ยาที่ต้องใช้ในภาวะฉุกเฉินตางๆ เช่น Adrenaline , sodium  bicarbonate , atropine, dopamine รวมทั้ง sterile water เป็นต้น
-             การจัดเครื่องอุปโภคบริโภค  ได้แก่ อาหาร เสื้อผ้า ฯลฯ เพื่อให้การสงเคราะห์ผู้ประสบภัย
-             การเตรียมความพร้อมของระบบการสื่อสาร  ทั้งเครื่องมือ เครือข่ายการติดต่อสื่อสารกับหน่วยงานต่างๆที่ภาครัฐ และเอกชน ในการวางแผนระบบการสื่อสาร ผู้วางแผนควรคำนึงถึงระบบการติดต่อสื่อสารในกรณีที่มีดารตัดขาดหรือทำลายของสิ่งสาธารณูปโภคสำคัญ
-             การเคลื่อนย้าย  และลำเลียง ซึ่งจะต้องกำหนดวิธีเคลื่อนย้าย เส้นทางการจราจร  จำเป็นต้องมีผู้ควบคุมการจาจร  รวมทั้งการประสานงานกับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับจราจร  และการเคลื่อนย้าย
1.4   การซ้อมแผนสาธารณภัย
           เมื่อจัดทำแผนสาธารณภัยเสร็จเรียบร้อยแล้ว  ควรได้มีการซ้อมแผน เป็นระยะๆเพื่อประเมินแผนว่ามีข้อบกพร่องหรือไม่ อย่างไร และประเมินแผนว่ามีข้อบกพร่องหรือไม่  อย่างไร และการประเมินความพร้อมของบุคลากรที่จะปฏิบัติหน้าที่จามแผนตลอดจนสถานที่ และอุปกรณ์ที่ จำเป็นต้องใช้  เป็นการปรับแผนที่มีอยู่แล้วให้อยู่ในลักษณะที่ปฏิบัติได้มากขึ้น การซ้อมปฏิบัติตามแผน  อาจทำได้ 2 ลักษณะ คือ
ก.        ซ้อมเพื่อให้เกิดความเข้าใจ การซ้อมลักษณะนี้จะมีการบอกให้ทราบล่วงหน้าเพื่อให้บุคลากรระดับต่างๆ  ตื่นตัวที่จะเรียนรู้แผนและมีโอกาสซ้อมฝึกปฏิบัติ
ข.        ซ้อมเพื่อทดสอบความพร้อมและตรวจสอบข้อบกพร่อง เป็นการซ้อมซึ่งมีการเตรียมสถานการณ์โดยไม่บอกให้บุคลากรในหน่วยงานทราบล่วงหน้า
                1.5 การให้ความรู้แก่ประชาชน
ความรู้ที่ควรให้แก่ประชาชน  ควรเป็นในเร่องเกี่ยวกับสาธารณภัยที่พบบ่อย  ปัญหาและผลกระทบจากสาธารณภัย การป้องกันและลดความรุนแรงจากสาธารณภัย  การเตรียมพร้อมรับสาธารณภัย การทำบ้านเรือนและชุมชนปลอกภัย  การช่วยเหลือตนเองและผู้อื่นเมื่อเกิดสาธารณภัย
2.                 บทบาทหน้าที่พยาบาลในระยะการช่วยผู้ประสบภัย
บทบาทหน้าที่ระยะนี้เน้นการช่วยการช่วยผู้ประสบภัยอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ  โดยทั้งผู้ให้การช่วยเหลือ และผู้ประสบภัยต้องมีความปลอดภัย ซึ่งจะต้องประกอบด้วย
1)    การประเมินสถานการณ์สาธารณภัยต้องรวบรวมและสรุปได้ว่าเกิด อะไร  กับใคร  ที่ไหน อย่างไร  ขนาด
เท่าใด  รุนแรงเพียงใด  เพื่อจะได้ทราบว่าควรใช้แผนรับสาธารณภัยใด
2)    การใช้แผนและประเมินความพร้อมรับสาธารณภัย เมื่อประเมินสถานการณ์สาธารณภัยได้แล้วว่าจะใช้แผนรับสาธารณภัยใด จึงประกาศใช้แผน  เรียนระดมบุคลากรพร้อมอุปกรณ์ทุกชนิด  และให้ปฏิบัติตามแผนรวมทั้งประเมินความสามารถในการรับสาธารณภัย
3)    การปฏิบัติการพยาบาลในขณะเกิดสาธารณภัยจะมีประสบภัยที่ต้องการการดูแลช่วยเหลือเป็นจำนวนมาก สิ่งสำคัญคือการช่วยเหลือ ณ จุดเกิดเหตุ  ซึ่งต้องมีประสิทธิภาพดีรวดเร็วมีการจำแนกและเคลื่อนย้ายถูกต้องและนำส่งโรงพยาบาลที่เหมาะสมการช่วยเหลือ ณ จุดเกิดเหตุ  มีหลักในการช่วยเหลือผู้ประสบภัย เมื่อได้รับข่าวหรือพบกับเหตุการณ์สาธารณภัย  ให้ปฏิบัติดังนี้
-             วิเคราะห์สาเหตุและความรุนแรงของภัยที่เกิดขึ้น  โดยการซักถามผู้อยู่ในเหตุการณ์เพื่อประเมินสถานการณ์และประเมินจำนวนผู้บาดเจ็บเพื่อวางแผนในการช่วยเหลือ ถ้าเกินกำลังจะได้แจ้งขอความช่วยเหลือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่อยู่ใกล้เคียง
-             ทำการช่วยเหลือผู้บาดเจ็บโดยวัตถุประสงค์เพื่อช่วยชีวิต  ป้องกันอันตรายและลดความเจ็บปวดถ้าผู้บาดเจ็บหรือผู้ป่วยอยู่ในบริเวณที่ ไม่ปลอดภัย ต้องพยาบาลเคลื่อนย้ายออกมายังที่ๆ ปลอดภัยกว่า  โดยมีหลักว่า ถ้าอยู่ในที่ต่ำและคับแคบให้ย้ายไปที่ราบหรือที่ๆ คิดว่าปลอดภัยและพยายามอยู่ทิศทางเหนือลมเพราะถ้าเกิดระเบิดแล้วเกิดเพลิงไหม้จะได้มีเวลาหนีได้ทัน  การเข้าไปช่วยต้องมั่นใจว่าตัวเราปลอดภัย จากนั้นรับประเมินอาการของผู้บาดเจ็บ  ถ้ามีหลายคนให้ช่วยคนที่เร่งด่วนก่อนและคิดว่าจะรอดชีวิตได้แล้วจึงช่วยผู้ที่มีอาการ รองลงมาตามลำดับโดยจะต้องกระทำอย่างถูกต้องและทันเวลา  ซึ่งต้องนำระบบการจำแนกผู้บาดเจ็บเข้ามาช่วย  นอกจากนี้พยาบาลควรดำเนินการตามอุดมการณ์โดยให้การช่วยเหลือไม่เลือกว่าเป็นเชื้อชาติใด  ศาสนาใด  คนทุกคนมีสิทธิมนุษยชนเท่าเทียมกันควรได้เกิดและตายอย่างมีศักดิ์ศรี  และนอกจากนี้ควรดำเนินการตามมาตรฐานการพยาบาลด้วย
-             การจำแนกความรุนแรงของผู้บาดเจ็บเพื่อจัดลำดับการรักษาและส่งต่อไปยังจุดต่าง ๆ นิยมแบ่งผู้ป่วยเป็น 4 ประเภท โดยใช้บัตรที่มีแถบสีผูกข้อมือผู้ป่วย
4)    การประสานงานเพื่อช่วยเหลือ  และส่งต่อผู้ประสบภัย การช่วยเหลือ ณ จุดเกิดเหตุเป็นเพียงการปฐม
พยาบาล ผู้บาดเจ็บหรือผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการดูแลจากแพทย์  การส่งต่อผู้ป่วยได้ อย่างรวดเร็วและปลอดภัยจึงมีความจำเป็น โดยต้องมีการประสานทั้งภายในหน่วยงานและนอกหน่วยงาน  เพื่อให้ผู้ประสบภัยได้รับการช่วยเหลืออย่างเหมาะสมต่อไป
5)    การจัดทำทะเบียนบันทึกเหตุการณ์ และการรายงานเหตุการณ์สาธารณภัย ได้แก่จำนวนผู้ประสบภัยแต่ละชนิด ประสบภัยอะไร  ที่ไหน  อย่างไร  เป็นต้น
6)    การประเมินสถานการณ์ หลังจากปฏิบัติตามแผนแล้ว  หัวหน้าทีมต้องประเมินสถานการณ์สาธารณภัยว่า
รุนแรงมากขึ้นหรือสงบลง  เพื่อพิจารณาปรับแผนระดมคนเพิ่มขึ้นหรือยกเลิกแผน
3.       บทบาทหน้าที่ของพยาบาลในระยะหลังเกิดสาธารณภัย
บทบาทหน้าที่ของพยาบาลในการดูแลช่วยเหลือผู้ประสบภัยในระยะนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้การช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง โดยมุ่งหวัง ให้ผู้ประสบภัย  รวมทั้งญาติของผู้ประสบภัยสามารถกลับคืนสู่สภาพปกติได้สามารถดำรงชีวิอยู่ได้อย่างปกติสุข  ซึ่งประกอบด้วย
                3.1 การประเมินสถานการณ์หลังเกิดสาธารณภัย
                     เป็นการประเมินสาธารณภัย ภายหลังจากภัยสงบ  เพื่อรวบรวมข้อมูลความเสียหายของผู้ประสบภัยโดยเฉพาะภาวะสุขภาพทั้งด้าน ร่างกายจิตใจ อารมณ์และสังคมเพื่อวางแผนให้การช่วยเหลือได้ตรงตามสภาพปัญหาที่เกิดขึ้น
3.2   การปฏิบัติการพยาบาล
           ในระยะนี้เป็นการปฏิบัติการพยาบาลเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลในรายที่บาดเจ็บหรือเจ็บป่วย  การดูแลที่ต่อเนื่องในบางรายที่ป่วยเรื้อรัง การฟื้นฟูสภาพในรายที่พิการ  และการพยาบาลฉุกเฉินหรือวิกฤตในรายที่เจ็บป่วยฉุกเฉินเฉียบพลันระยะหลังภัยสงบโดยไม่เลือกเชื้อชาติ ศาสนา แ ละเป็นไปตามจรรยาบรรณพยาบาลและมาตรฐานการพยาบา
3.3   การจัดทำบันทึกรายงาน
                     บันทึกรายงานรวมถึงการจัดทำบัญชีชื่อผู้บาดเจ็บ  ชนิดของการบาดเจ็บต่างๆ  โดยสรุปจำนวนผู้ที่บาดเจ็บ  คนที่ต้องได้รับการดูแลที่ต่อเนื่อง  พิการ  ตาย  หายเป็นปกติ  สรุปรวมจำนวนผู้เข้ารับบริการทั้งหมด
3.4   การประสานงานกับแหล่งสนับสนุน
                     การประสานงานมีวัตถุประสงค์เพื่อให้การรักษาต่อเนื่อง  การฟื้นฟูสภาพและการสงเคราะห์แก่ผู้ประสบภัยทั้งด้านการเงิน  ที่อยู่อาศัย และร่วมมือกับหน่วยงานในท้องที่ในการดำเนินการป้องกันโรคหรืออันตรายอื่นๆที่อาจจะเกิดไดเหลังการเกิดสาธารณภัยนั้น
3.5   การประเมินผลการปฏิบัติการในสถานการณ์สาธารณภัยที่เกิดขึ้น
                     การประเมินผลนี้เพื่อดูว่าการดูแลช่วยเหลือประสบผลอย่างไร  มีปัญหาอะไร  ควรปรับแก้อย่างไรในครั้งต่อไป  สำรวจความเสียหายของอุปกรณ์  และจำนวนวัสดุเวชภัณฑ์ที่ใช้ไปพร้อมทั้งจัดหามาทดแทนให้อยู่ในสภาพเตรียมพร้อมเหมือนเดิม
บทบาทของพยาบาลในการฟื้นฟูสมรรถภาพของผู้ประสบภัย
           หลังจากผ่านภาวะวิกฤตจากการเจ็บป่วยจากสาธารณภัย ผู้ป่วยบางส่วนอาจมีอาการเจ็บป่วยเรื้อรังหรือเกิดความพิการ พยาบาลมีส่วนในการช่วยฟื้นฟูสมรรถภาพ และติดตามดูแลผู้ป่วยได้อย่างต่อเนื่อง แม้ว่าผู้ป่วยจะจำหน่ายจากโรงพยาบาลแล้วก็ตามเยี่ยมบ้านได้ การฟื้นฟูสมรรถภาพไม่ใช่ว่าจะเริ่มทำเมื่อผู้ป่วยจะกลับบ้าน แต่การฟื้นฟูทำได้ทุกระยะของการเจ็บป่วย เพราะในบางครั้งการรอให้ผู้ป่วยหายดีเสียก่อน อาจทำให้การฟื้นฟูทำได้ยากขึ้น และใช้เวลานาน ตัวอย่างเช่น ในผู้ป่วยที่มีกระดูกต้นขาหัก จะต้องทำการผ่าตัด และเข้าเฝือกอยู่เป็นเวลานาน การต้องงดใช้ขาข้างนั้นเป็นเวลาแรมเดือนโดยไม่ได้ออกกำลังกาย จะทำให้เกิดปัญหากล้ามเนื้อลีบ และข้อติด การฟื้นฟูก็จะต้องใช้เวลานานหรือผู้ป่วยอาจจะพิการถาวรไปเลยก็ได้ ดังนั้นบทบาทของพยาบาลชุมชนจึงต้องคำนึงถึงการฟื้นฟูสมรรถภาพของผู้ป่วยจากการประสบภัยอยู่เสมอ เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยกลับสู่สังคมอย่างมีคุณภาพ สิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการช่วยฟื้นฟูสมรรถภาพ ได้แก่
1.       การฟื้นฟูด้านจิตใจ โดยการประเมินสภาพจิตใจ ผู้ที่ผ่านเหตุการณ์ที่เลวร้าย สภาวะทางจิตอาจจะยังไม่
ปกติ ถ้าไม่ได้รับการฟื้นฟูทางด้านจิตใจให้ดีก่อน การฟื้นฟูทางกายก็ได้ผลน้อย ผู้ป่วยต้องเห็นคุณค่าของการมีชีวิตอยู่ และมั่นใจว่าจะใช้ชีวิตได้เหมือนคนปกติ จึงจะมีกำลังใจในการฟื้นฟูทางด้านร่างกาย
2.       การฟื้นฟูทางด้านร่างกาย ทำโดยการประเมินทั้งความพิการที่เป็นอยู่ และความเสี่ยงที่จะเกิดได้หากไม่
ป้องกันไว้ก่อน
3.       หาสิ่งสนับสนุน อาจเป็นอุปกรณ์หรือบุคคลที่จะเป็นกำลังใจให้ผู้ป่วยเกิดความกระตือรือร้นที่จะฟื้นฟู
สมรรถภาพ
4.       แนะนำแหล่งประโยชน์ที่จะช่วยให้การฟื้นฟูเป็นไปได้อย่างราบรื่น และได้ผลสมบูรณ์  ทั้งทางด้านการให้ข้อมูล ด้านทุนทรัพย์และอื่น ๆ หัวใจของการฟื้นฟูคือ ผู้ป่วยต้องมีความพร้อมที่จะปฏิบัติ และทั้งผู้ป่วยและครอบครัวต้องมีส่วนร่วมในการรับรู้และร่วมมือ การฟื้นฟูจึงจะได้ผลดี และถ้ายังมีความพิการหลงเหลืออยู่ ควรแนะนำการฝึกอาชีพที่เหมาะกับผู้ป่วย การมีงานทำจะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่า และสามารถหาเลี้ยงชีพได้ โดยเฉพาะปัญหาด้านจิตใจเป็นเรื่องซับซ้อน เนื่องจากเกี่ยวข้องกับความคิด ความรู้สึกและพฤติกรรมของบุคคล ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นในแต่ละบุคคลต่อเหตุการณ์เดียวกันจะแตกต่างกันไป ทั้งนี้ขึ้นกับพื้นฐานและประสบการณ์เดิมของแต่ละบุคคล พยาบาลชุมชนที่ต้องให้การดูแลด้านจิตใจแก่ผู้ประสบภัยนั้น นอกจากความเข้าใจในเรื่องปฏิกิริยาของบุคคลแล้ว จะต้องติดตามเยี่ยมให้กำลังใจ สร้างกลุ่มที่จะช่วยประคับประคองดูแลซึ่งกันและกันในกลุ่มผู้ประสบภัย และญาติมิตร ประสานงานกับหน่วยงานสุขภาพจิตที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ในการวางแผนสนับสนุน และส่งต่อเพื่อให้ผู้ประสบภัยได้รับบริการที่เหมาะสม
 การดูแลสภาพจิตใจของผู้ช่วยเหลือผู้ประสบภัย
1.       ปฏิกิริยาของผู้ช่วยเหลือผู้ประสบภัยระหว่างการดำเนินการ
1)  ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นทันที ได้แก่  วิตกกังวลซึ่งอาจเนื่องจากมีเวลาจำกัด  ไม่มีเครื่องมือ /  อุปกรณ์ที่
จำเป็นต้องใช้ในการปฏิบัติงานที่เหมาะสม  โกรธ / ขัดแย้งซึ่งอาจเนื่องจากการช่วยเหลือมีปริมาณน้อยหรือช้า  สับสน  เหนื่อยล้า  มีความยุ่งยากใจในการแก้ไขปัญหา   คลื่นไส้  มือสั่น  เหงื่อออกมาก  ปวดศีรษะ
2)  ปฏิกิริยาระยะหลังได้แก่  รู้สึกสูญเสีย  รู้สึกผิด  ตำหนิตนเองหลีกหนีจากสังคมและผู้ร่วมงาน   
โกรธง่าย  ฉุนเฉียวง่าย  มีความรู้สึกต่อต้าน ขาดความตั้งใจ สับสน หลงลืม นอนไม่หลับ ฝันร้าย คลื่นไส้ ลดความสนใจเรื่องเพศสัมพันธ์  เบื่ออาหาร  อ่อนล้ายาวนาน   ใช้เครื่องดื่มแอลกอฮอล์และยาเสพติด
2.       กลวิธีในการลดความเครียดผู้ช่วยเหลือผู้ประสบภัย
1)  ในขณะที่เกิดสาธารณภัย  ควรปฏิบัติดังนี้
-             หยุดพักการทำงานทุก ๆ ชั่วโมง อย่างน้อย 5 นาที
-             หมุนเวียนผู้ปฏิบัติงานที่ต้องเผชิญกับเหตุการณ์โดยตรงเมื่อปฏิบัติงานหยุดพักตรวจวัดความดันโลหิต  บาดแผลและอื่น ๆ
-             ติดตามดูแลผู้ช่วยเหลือถ้าพบว่ามีความว้าวุ่น  ตาพร่ามัวสูญเสียการประสานงานมีปัญหาในระบบทางเดินหายใจ  สับสน  สั่นหรือมีอาการช็อก 
-             จัดหาที่พักที่สะอาดสบาย  มีห้องน้ำ  น้ำร้อน  น้ำเย็นสำหรับดื่ม
-             ถ้ามีลักษณะของความเครียดมาก  ต้องให้คำแนะนำปรึกษาและให้การรักษาถ้าจำเป็น
2)  ในระยะหลังเกิดสาธารณภัย
-             มีการจัดเวลาสำหรับการลดความเครียดให้กับผู้ช่วยเหลือจัดชั่วโมงการบริการความเครียด
-             จัดเวลาพักผ่อนในสถานที่ทำงาน  จัดกลุ่มอาสาสมัครในการช่วยเหลือ
-             ส่งต่อไปรับคำแนะนำปรึกษา
บทบาทของพยาบาลในการบริการในชุมชน
การป้องกันการเกิดอันตรายจากภาวะฉุกเฉินและสาธารณภัยในชุมชน
           ภาวะฉุกเฉินหรือสาธารณภัยที่เกิดขึ้น พยาบาลมีบทบาทเข้าไปเกี่ยวข้องได้ ดังนี้
1.       จัดสถานการณ์กระตุ้นและฝึกซ้อมการเกิดสาธารณภัย เพื่อให้บุคคลในชุมชนได้รับความรู้และฝึก
ทักษะที่จำเป็นเกี่ยวกับ
1)             การตรวจสอบบริเวณที่เกิดเหตุ
2)             การช่วยเหลือผู้บาดเจ็บที่ถูกวิธี ตั้งแต่การประเมินและจัดลำดับความสำคัญของการให้การดูแลในเบื้องต้นโดยพิจารณาช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ ด้วยการยึดหลักการช่วยเหลือ 4B ตามลำดับ
1.          Breathing ช่วยหายใจ
2.          Bleeding ช่วยห้ามเลือด
3.          Brain ช่วยการไหลเวียนเลือดเพื่อให้ไปเลี้ยงที่สมองมากที่สุด
4.          Broken Bone ช่วยเข้าเฝือกชั่วคราว ในกรณีที่กระดูกหัก
3)             ฝึกการ Support ทางด้านจิตใจผู้บาดเจ็บและครอบครัว ให้กับอาสาสมัครได้เข้าใจและสามารถ
     นำมาใช้ได้
4)             มีแนวทางการจัดเตรียมหน่วยบรรเทาทุกข์ให้สมาชิกได้เข้าใจ
2.       จัดฝึกซ้อมการแยกผู้บาดเจ็บ การช่วยเหลือผู้บาดเจ็บตามสภาพและลำดับความสำคัญ ตลอดจนการส่งต่อ
ผู้บาดเจ็บ
3.       ฝึกซ้อมและจัดเตรียมบุคคลที่เป็นอาสาสมัคร เพื่อการวางแผนตำแหน่งบทบาทหน้าที่ เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน
ต่างๆ ให้มีความพร้อมอยู่เสมอ
4.       มีการวางแผนร่วมกับอาสาสมัคร ในการประเมินสภาพชุมชน โดยทั่วไปเพื่อจัดเตรียมการณ์ เกี่ยวกับ
สถานที่เมื่อเกิดเหตุ ตลอดจนอุบัติเหตุที่เกิดบ่อยหรือมีแนวโน้มที่อาจเกิดได้ชุมชนว่ามีอะไรบ้าง
5.        มีการวางแผนจัดหน่วยบรรเทาทุกข์ เมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้นในชุมชน หน่วยบรรเทาทุกข์จะต้องมีองค์กร
เอกชนเข้าร่วม โดยเป็นแหล่งทุนช่วยเหลือทางด้านอาหาร เครื่องอุปโภค บริโภค  บริหารจัดการด้าน   ต่าง ๆ เช่น โทรศัพท์ วิทยุสื่อสาร อาสาสมัครร่วมทีมสุขภาพ เป็นต้น
           ในปัจจุบัน เนื่องจากมีอุบัติเหตุฉุกเฉินเกิดขึ้นบ่อยและสูญเสียชีวิตทรัพย์สินจำนวนมาก ได้มีการจัดเครือข่าย โดยจัดวางกำลังคนและเครื่องมืออุปกรณ์ไว้ตามสถานที่ต่าง ๆ กระจายอยู่ตามพื้นที่ต่าง ๆ เมื่อมีภัยเกิดขึ้นจะมีบุคลากรที่ได้รับการอบรมและมีความสามารถ ในการช่วยชีวิตและส่งต่อให้ถูกวิธี จะไปถึงที่เกิดเหตุได้อย่างรวดเร็วและให้การช่วยเหลือได้ ภารกิจดังกล่าวนี้เรียกว่า ปฏิบัติการปฐมพยาบาลและกู้ชีวิตผู้ประสบภัย โดยสำนักงานอาสากาชาดร่วมกับสำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์สภากาชาดไทย ได้จัดตั้งเครือข่าย บรรเทาทุกข์ (ช่วยชีวิต) ผู้ประสบภัยขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยกู้ชีวิตและปฐมพยาบาลแก่ผู้ประสบอัคคีภัยให้ทันการณ์ ปัจจุบันมีเครือข่ายประมาณ 155 สาขาในกรุงเทพฯ โดยมีขั้นตอนการปฏิบัติงาน ดังนี้
1)       เมื่อรับข่าวอุบัติเหตุแล้วตอบรับ
2)       ผู้จัดการออกเดินทางไปยังที่เกิดเหตุ พร้อมอุปกรณ์
3)       เมื่อถึงที่เกิดเหตุแล้ว ตั้งฐานปฏิบัติการ
4)       เริ่มปฏิบัติงาน เช่น การทำแผล เข้าเฝือก กู้ชีวิต
5)       ดูแลแบ่งงานให้อาสากาชาดและยุวกาชาดที่เข้าร่วมปฏิบัติงาน
6)       หน่วยรถเคลื่อนที่ประกอบด้วย แพทย์ พยาบาล จากสำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ เข้าร่วมปฏิบัติการ
7)       เหตุสงบแล้วถอนตัว
           ผู้ที่ปฏิบัติการเครือข่ายนี้ นอกจากมีโอกาสช่วยเหลือผู้ประสบเคราะห์กรรมจากภัยต่าง ๆ แล้ว อาจช่วยชีวิตผู้ได้รับบาดเจ็บทุกกรณี ได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ความรู้ที่ได้รับยังเป็นประโยชน์ต่อตนเองและครอบครัว โดยสามารถจะใช้ได้ในยามฉุกเฉินได้เสมอ

การส่งต่อในภาวะฉุกเฉิน (Emergency Care Delivery)
           ในภาวะฉุกเฉินต่าง ๆ ดังกล่าวข้างต้น เมื่อมีการช่วยเหลือผู้ได้รับบาดเจ็บในเบื้องต้นแล้ว ในบางครั้งจะต้องมีการส่งต่อผู้บาดเจ็บเพื่อรับการรักษาดูแลต่อไป ซึ่งการส่งต่อที่ถูกต้องและรวดเร็วจะสามารถช่วยชีวิตผู้บาดเจ็บได้ ดังนั้น จึงต้องมีการจัดเตรียมเกี่ยวกับการส่งต่อระหว่างชุมชนและโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาล โดยประสานงานการติดต่อกับโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลที่จะสามารถรับการส่งต่อผู้ป่วยจากชุมชน ได้มากน้อยเพียงใด เพื่อเตรียมการให้เหมาะสมต่อไป ควรมีการเตรียมการดังนี้
1.       เตรียมชุมชน โดยจัดกลุ่มอาสาสมัคร (Emergency medical care committee) ซึ่งจะเป็นกลุ่มที่มี
กิจกรรมร่วมกัน มีความสนใจแนวนโยบายร่วมกัน และแนวปฏิบัติสำหรับการเตรียมการเมื่อเกิดอุบัติเหตุสาธารณภัยขึ้นในชุมชน กลุ่มดังกล่าวเป็นผู้ได้รับการฝึกฝนและมีทักษะในการปฏิบัติการช่วยเหลือที่ถูกวิธี และสามารถช่วยเหลือได้ทันทีเมื่อเกิดเหตุขึ้น
2.       เตรียมโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลที่เกี่ยวข้องกับชุมชน เพื่อการรับการส่งต่อผู้บาดเจ็บต่างๆ ได้ทันที
ซึ่งจะเป็น Hospital Emergency Room (ER) ที่จะต้องมีวิทยุสื่อสารที่สามารถติดต่อได้ทันที และมีเจ้าหน้าที่ที่ได้รับการฝึกเกี่ยวกับการคัดเลือกผู้บาดเจ็บ มีทักษะเฉพาะที่คล่องเช่น การให้สารละลายทางหลอดเลือดดำ การใช้เครื่องกระตุ้นหัวใจ การช่วยฟื้นคืนชีพ การใส่ท่อทางเดินหายใจ นอกจากนี้พยาบาลที่ประจำในหน่วยงานนี้จะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้เกี่ยวกับกฎหมายในการรักษาดูแลผู้บาดเจ็บ ซึ่งบางครั้งจะต้องได้รับความยินยอมจากผู้ปกครองหรือผู้ใกล้ชิด เป็นต้น
การวางแผนและดูแลในสถานการณ์ต่าง ๆ
           สถานการณ์ของโลกในปัจจุบันมีแนวโน้มที่จะทำให้ภัยจากธรรมชาติและการกระทำของมนุษย์สูงมากขึ้น จึงขอสรุปแนวทางปฏิบัติในการป้องกันอันตรายจากสาธารณภัยไว้ ดังนี้
1. การป้องกันและบรรเทาอุทกภัยและวาตภัย
1.       แจ้งเตือนก่อนเกิดเหตุ เช่น ข่าวอากาศและคำเตือน คาดหมายกำลังลม  ปริมาณฝน ระดับน้ำในแม่น้ำและ
ทะเล  พื้นที่ที่คาดว่าจะเกิดวาตภัยและอุทกภัย
2.       ประชาสัมพันธ์ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบ  และมีการเตรียมการช่วยเหลือ  ได้แก่  เตรียมสถานที่อพยพ
ประชาชนไปอยู่  จัดอุปกรณ์อพยพประชาชน เช่น เรือท้องแบน รถยนต์บรรทุก เครื่องสูบน้ำ หน่วยกู้ชีพ  อาหาร  เสื้อผ้า  เครื่องนุ่งห่ม  ยารักษาโรค
3.       ขณะเกิดเหตุ  กองอำนวยการป้องกันภัยต้องระดมการช่วยเหลือผู้ประสบภัยให้ได้มากที่สุด  ช่วยอพยพ
ประชาชน  และจัดระบบสื่อสารให้แก่ประชาขนที่อพยพไป
4.       จัดส่งเครื่องอุปโภค  เช่น  อาหาร  เสื้อผ้า  เครื่องนุ่งห่ม  ยารักษาโรค  ให้ทั่วถึงและเพียงพอแก่
ผู้ประสบภัย
5.       ช่วยเคลื่อนย้ายทรัพย์สินของประชาชน  กรณีที่เกินขีดความสามารถ  ให้ขอความช่วยเหลือจากกอง
อำนวยการป้องกันพลเรือนระดับสูงขึ้นไป  และในเขตใกล้เคียง
6.       ให้บริการรักษาพยาบาล  ปรับปรุงสิ่งแวดล้อม  เพื่อป้องกันและควบคุมโรคติดต่อที่จะตามมา  เช่นโรค
หวัด  ปอดบวม  อุจจาระร่วง  เท้าเปื่อย  โรคผิวหนัง เป็นต้น ส่งเสริมฟื้นฟูสภาพจิตใจและสังคมของผู้ประสบภัย  เช่น การช่วยเหลือผู้พิการ เด็กกำพร้าหรือผู้ที่สูญเสียสมาชิกครอบครัว โดยเฉพาะผู้ที่หารายได้หรือดูแลครอบครัว
7.       สำรวจความเสียหายและให้ความช่วยเหลือตามขีดความสามารถ  และรายงานความเสียหายและขอความ
ช่วยเหลือจากหน่วยเหนือ
8.       สรุปผลการให้ความช่วยเหลือ

การป้องกันและบรรเทาอัคคีภัย
1.       จัดตั้งกรรมการอำนวยการป้องกันอัคคีภัยเขตท้องที่  จัดทำแผนการปฏิบัติและเตรียมการปฏิบัติ
2.       สำรวจข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับการช่วยเหลือ เช่น รถยนต์ดับเพลิง รถยนต์กู้ภัย รถน้ำ รถบันไดเลื่อน อัตรากำลังเจ้าหน้าที่ สถานที่เสี่ยงภัย วัตถุอันตรายที่มีในพื้นที่ แหล่งน้ำ รวมถึงระบบการป้องกันอัคคีภัยในสถานที่ต่าง ๆ หรืออาจรวมถึงเฮลิคอปเตอร์ช่วยกู้ชีพประชาชนและดับเพลิงในกรณีอาคารสูง หรือสถานที่เข้าถึงไม่สะดวก
3.       การจัดระบบแจ้งเหตุ เช่น หมายเลขโทรศัพท์ 199 แจ้งเหตุการณ์ไปยังกองบังคับการตำรวจดับเพลิงในเขตพื้นที่
4.       ซ้อมการปฏิบัติเพื่อเตรียมพร้อมในการให้ความช่วยเหลือ
5.       อำนวยการดับเพลิงและสกัดกั้นผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องเข้าไปในบริเวณที่เกิดเพลิงไหม้ ประชาสัมพันธ์แก่ประชาชนที่อาจได้รับผลกระทบ
6.       กู้ชีวิตผู้ประสบภัย และจัดหน่วยรักษาพยาบาลผู้บาดเจ็บและการส่งต่อไปยังสถานพยาบาลที่ใกล้เคียงและเหมาะสมตามขีดความสามารถ
7.       รายงานเหตุการณ์และขอความช่วยเหลือไปยังหน่วยเหนือและเขตท้องที่ใกล้เคียง
8.       ขณะเกิดเหตุ กองอำนวยการป้องกันภัยต้องระดมการช่วยชีวิตผู้ประสบภัยให้ได้มากที่สุด ช่วยอพยพประชาชน และจัดระบบความปลอดภัยและระบบสื่อสารให้แก่ประชาชนที่อพยพไป
9.       จัดส่งเครื่องอุปโภค บริโภค เช่น อาหาร เสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค ให้ทั่วถึงและเพียงพอแก่ผู้ประสบภัย
10.    ช่วยเคลื่อนย้ายทรัพย์สินของประชาชน กรณีที่เกินขีดความสามารถให้ขอความช่วยเหลือจากกองอำนวยการป้องกันภัยพลเรือนระดับสูงขึ้นไป และในเขตใกล้เคียง
11.    ให้บริการรักษาพยาบาล ส่งเสริมฟื้นฟูสภาพจิตใจ และสังคมของผู้ประสบภัย เช่น การช่วยเหลือผู้พิการ เด็กกำพร้า หรือผู้ที่สูญเสียสมาชิกครอบครัว โดยเฉพาะผู้ที่หารายได้หรือดูแลครอบครัว
12.    สำรวจความเสียหายและให้ความช่วยเหลือตามขีดความสามารถ และรายงานความเสียหายและขอความช่วยเหลือจากหน่วยเหนือ
13.    สรุปผลการให้ความช่วยเหลือ
2. การป้องกันและบรรเทาภัยจากแผ่นดินไหวและตึกถล่ม
1.       จัดตั้งกรรมการ วางแผนป้องกันและบรรเทา เตรียมข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสถานการณ์แผ่นดินไหว และประชาสัมพันธ์เพื่อเตรียมประชาชนในการป้องกัน
2.       การเตรียมคนและวัสดุอุปกรณ์ จัดอบรม ซักซ้อมแผนเพื่อเตรียมพร้อมให้ความช่วยเหลือสำรวจและจัดเตรียมอุปกรณ์ให้พร้อมใช้ได้
3.       จัดตั้งหน่วยแจ้งเตือนแก่ประชาชน
4.       หน่วยกู้ภัย ซึ่งประกอบด้วย
4.1    ชุดเคลื่อนที่เร็ว เพื่อกู้ชีพออกมาให้ได้เร็วที่สุด ให้การปฐมพยาบาลทั้งด้านร่างกายและจิตใจและ จัดส่งต่อเพื่อรับการรักษาตามความจำเป็น และเคลื่อนย้ายประชาชนไปยังที่ปลอดภัยและจัดรักษาความสงบเรียบร้อยของผู้อพยพ
4.2    ชุดสนับสนุน ให้การสนับสนุนเกี่ยวกับเครื่องอุปโภค บริโภคให้เพียงพอ
5.       จัดตั้งหน่วยสงเคราะห์ผู้ประสบภัย สำรวจความเสียหายและให้การฟื้นฟูทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และเศรษฐกิจ
6.       สรุปรายงานการช่วยเหลือ
3. การป้องกันอันตรายจากระเบิด
1.       พยายามหาสิ่งกีดขวางระหว่างตัวเองและระเบิด เช่น หลุมหลบภัย เพื่อป้องกันอันตรายจากสะเก็ดระเบิด ไม่ควรเข้าไปในเขตอันตราย เช่น โรงงานอุตสาหกรรม อาคารสูงเขตทหารซ้อมรบ และในบริเวณบ้านควรมีแอ่งน้ำหรือท้องร่วงเป็นที่หลบภัยได้
2.       ถ้าอยู่ใกล้บริเวณที่ระเบิดให้ล้มตัวลงนอนทันที โดยให้หน้าแนบกับพื้นนำสิ่งปิดบริเวณศีรษะและผม
3.       ถ้าทราบล่วงหน้าว่าจะมีระเบิดเกิดขึ้นภายใน 1 นาที ให้รีบวิ่งหนีไปให้พ้นรัศมี 1 ไมล์
           การป้องกันแก๊สน้ำตา
1.       ใช้มือปิดปาก จมูก หลับตาเป็นครั้งคราว วิ่งออกไปให้พ้นจากบริเวณเกิดเหตุให้เร็วที่สุดและไกลที่สุด ถ้ามีถุงพลาสติกให้ใช้ถุงพลาสติกครอบศีรษะถึงคอ ผูกรอบคออย่าให้แน่นจนเกินไป เพื่อป้องกันไม่ให้แก๊สเข้าตา
2.       ถ้าวิ่งไม่ทันและอยู่ในบริเวณที่เกิดเหตุ ให้นั่งลงใช้ผ้าหรือมือปิดปาก จมูก และหลับตาแก๊สจะลอยสูงขึ้น โอกาสที่จะสัมผัสแก๊สจะลดน้อยลง
           แนวทางปฏิบัติในการป้องกันอันตรายจากอาวุธนิวเคลียร์
1.       ก่อนระเบิด
-             สร้างที่กำบัง เช่น หลุมหลบภัย ห้องใต้ดิน
-             มีระบบเตือนภัยที่ดี
-             อบรมให้ประชาชนทราบถึงอันตรายและวิธีปฏิบัติ
-             จัดเจ้าหน้าที่ที่มีความรู้ มารับผิดชอบเกี่ยวกับการฝึกอบรมการใช้เครื่องมือต่าง ๆ และการช่วยเหลือเมื่อเกิดภาวะฉุกเฉิน
2.       ขณะที่เกิดระเบิด
-             หลบเข้าที่กำบังที่แข็งแรง หลีกเลี่ยงจากประตูหน้าต่าง   กระจกหรือสิ่งแตกหักได้ง่าย
-             ถ้าอยู่ในที่โล่งแจ้ง ให้รีบใช้มือปิดหน้า โดยเฉพาะดวงตา ห้ามมองไปในทิศทางที่เกิดระเบิด หมอบฟุบราบกับพื้นดิน เนินดิน หรือหลังต้นไม้ ถ้ามีหลุมหลบภัยอยู่บริเวณใกล้เคียงให้รีบหลบเข้าไปทันที
3.       ภายหลังการระเบิด
กัมมันตรังสีที่ตกค้างอยู่ยังคงสภาพทำอันตรายต่อร่างกายของมนุษย์ได้ต่อไปอีก ฉะนั้นจึงต้องพยายามขจัดฝุ่นกัมมันตรังสีในบริเวณทั่วไปออกให้ได้มากที่สุด เพื่อประชาชนจะได้ออกจากที่กำบังได้อย่างปลอดภัย ซึ่งอาจทำได้โดย
-             ชำระล้างด้วยน้ำในบริเวณที่สามารถล้างได้
-             ใช้สีหรือยางเคลือบไว้ในตำแหน่ง ซึ่งไม่สามารถล้างได้หมด
-             บนผิวดินขจัดโดยลอกผิวหน้าออก หรือไถกลบโดยใช้แทรกเตอร์ สถานที่ควรทำความสะอาด เพื่อขจัดฝุ่นกัมมันตภาพรังสีก่อน ก็คือ ย่านชุมชน เช่น โรงเรียน ศูนย์การค้าต่าง ๆ
การช่วยเหลือผู้ถูกกัมมันตรังสี
1.          ผู้ที่ไม่มีบาดแผล ตรวจการเปรอะเปื้อนรังสี ให้อาบน้ำเปลี่ยนเสื้อผ้า
2.          ผู้มีบาดแผล ใช้กระดาษกรองป้ายเลือดออกมาดู ถ้ามีอันตรายต้องตัดส่วนที่เปรอะเปื้อนออกก่อน แล้วตกแต่งบาดแผล เปลี่ยนเสื้อผ้านำส่งโรงพยาบาล
ผลของระเบิดนิวเคลียร์ จะทำลายล้างผลาญเมืองหรือประเทศในพริบตาด้วยแรงระเบิดส่วนอันตรายที่เหลืออยู่ คือ ฝุ่นละอองกัมมันตรังสี จะตกปกคลุมบริเวณที่มีระเบิด สารที่เบาก็จะลอยไปตกข้ามประเทศหรือข้ามทวีป ตกลงมาแล้วสะสมตัวอยู่ในดิน พืชดูดเข้าไปไว้ในลำต้น สัตว์กินพืชก็จะเกิดธาตุกัมมันตรังสีสะสมอยู่ ถ้ามีมากพอกินพืชหรือสัตว์ก็จะเกิดเป็นอันตรายถึงตายได้ ถ้าขนาดปานกลางจะมีอาการป่วยต่าง ๆ เกิดขึ้น ดังนั้น แม้ประเทศที่ไม่ถูกทิ้งระเบิดนิวเคลียร์โดยตรงก็ตาม ก็มีโอกาสที่จะได้รับภัยพิบัติจากฝุ่นละอองกัมมันตรังสีนี้ ทำให้อากาศเป็นพิษและเป็นผลมีผู้คนเจ็บป่วยเรื้อรังล้มตายมากมายในระยะเวลาต่าง ๆ กันได้เหมือนกัน ตามจำนวนกัมมันตรังสีที่มีอยู่
4. แนวทางการปฏิบัติเพื่อป้องกันและบรรเทาภัยแล้ง
           การป้องกันและบรรเทาภัยจากภัยแล้ง มีเป้าหมายเพื่อป้องกันและบรรเทาภาวะขาดแคลนน้ำเพื่อการบริโภคเป็นความสำคัญอันดับแรก และเพื่อบรรเทาภาวะการขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภคโดยการวางแนวทางแก้ไขทั้งระยะสั้นและระยะยาว
           ขั้นตอนการปฏิบัติ มีดังนี้
1.       การบรรเทาก่อนเกิดภัย ต้องกำหนดให้มีคณะกรรมการการบริหารการใช้น้ำ
2.       สำรวจแหล่งน้ำในพื้นที่ ได้แก่ บ่อบาดาล บ่อน้ำตื้น ประปาหมู่บ้าน อ่างเก็บน้ำ เขื่อน สระน้ำ ทำนบ ฝาย เพื่อการเตรียมแหล่งน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้งตามความต้องการของประชาชน และตรวจสอบคุณภาพให้เหมาะสมกับการอุปโภค บริโภค
3.       สำรวจแหล่งน้ำในท้องที่ใกล้เคียง เพื่อขอรับการสนับสนุนในกรณีจำเป็น
4.       กรณีที่พบว่ามีปริมาณแหล่งน้ำไม่เพียงพอให้รีบแจ้งเตือนประชาชนในพื้นที่เพื่อการประหยัดน้ำและสำรองน้ำไว้ใช้
5.       สำรวจยานพาหนะบรรทุกน้ำ เพื่อใช้ในการแจกจ่ายน้ำ
6.       การปฏิบัติเมื่อเกิดภัย
7.       สำรวจสถานการณ์ภัยแล้ง เช่น จำนวนผู้เสียหายและความรุนแรงของการเสียหาย และแถลงข่าว
8.       ดำเนินการช่วยเหลือตามแผน เช่น แจกน้ำให้พอทั้งปริมาณและคุณภาพ
9.       ดำเนินการรักษาพยาบาลคนไข้ที่เกิดจากภัยแล้ง
10.    ขอความร่วมมือจากท้องที่ใกล้เคียงและหน่วยเหนือตามความจำเป็น
11.    การฟื้นฟู เช่น ซ่อมแซมหรือปลูกทดแทนการเกษตร การรักษาพยาบาลผู้ป่วย
12.    สรุปรายงาน และนำเสนอความเสียหาย และกำหนดแผนป้องกันในปีต่อไป
5. แนวทางปฏิบัติเพื่อป้องกันและบรรเทาภัยจากอากาศหนาว
           ภัยหนาวมักเกิดตามฤดูกาล การป้องกันจึงเป็นวิธีที่ดีที่สุดในบรรเทาสาธารณภัยชนิดนี้ ควรปฏิบัติ ดังนี้
1.       ตั้งกรรมการป้องกันภัยระดับท้องถิ่น จัดตั้งศูนย์เฉพาะกิจรับแจ้งข่าวสารเกี่ยวกับผู้ประสบภัยหนาว
และประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับทราบ
2.       สำรวจสถานการณ์และประเมินสภาพว่าประชาชนช่วยเหลือตนเองได้มากน้อยเพียงไรและรายงาน
ให้กองอำนวยการทราบเพื่อพิจารณาความช่วยเหลือ
3.       ดำเนินการให้ความช่วยเหลือ เช่น แจกเสื้อผ้า เครื่องนอน เครื่องนุ่งห่ม และอุปกรณ์อุปโภคบริโภค
4.       ดำเนินการรักษาพยาบาลคนไข้ที่เกิดจากภัยแล้ง
5.       ขอความร่วมมือจากท้องที่ใกล้เคียงและหน่วยเหนือตามความจำเป็น
6.       การฟื้นฟูสภาพผู้ป่วย
7.       สรุปรายงานและนำเสนอความเสียหายและกำหนดแผนป้องกันในปีต่อไป

แนวคิด

1.       สาธารณภัย เป็นอุบัติการณ์ที่ทำให้เกิดอันตรายแก่ชีวิต และร่างกายของมนุษย์ในคนหมู่มาก ส่งผลให้เกิด
ความเสียหายแก่ทรัพย์สินของประชาชนและประเทศชาติ ความสามารถในการที่จะคาดคะเนเหตุการณ์ที่จะเกิดภัย การเตือนภัย และการวางแผนรับสาธารณภัยที่ดี จะช่วยลดความสูญเสียของชีวิตและทรัพย์สินได้
2.        หลักการเคลื่อนย้ายและการให้การปฐมพยาบาลผู้ประสบภัย ณ จุดเกิดเหตุต้องยึดหลักการคือ พยายาม
รักษาชีวิต ป้องกันการเกิดความรุนแรงที่เกิดขึ้น ช่วยให้อาการทุเลาโดยเร็ว และเคลื่อนย้ายส่งโรงพยาบาลโดยเร็ว
3.       โรงพยาบาลต้องเตรียมความพร้อมในการรับอุบัติภัยโดยเฉพาะ แผนรับอุบัติเหตุกลุ่มชนถือเป็นแผนที่มี
ความสำคัญมากในการเตรียมความพร้อมของโรงพยาบาล ต้องเตรียมความพร้อมทั้งภายนอกและภายในโรงพยาบาล

สรุป

           สาธารณภัยเป็นสิ่งที่ทุกคนไม่ได้คาดหวังให้เกิด ซึ่งสาธารณภัยอาจเกิดเองตามธรรมชาติหรือการกระทำของมนุษย์ พยาบาลนับว่าเป็นบุคลากรด้านสุขภาพที่มีความสำคัญในการป้องกันการเกิดสาธารณภัย และหากเกิดสาธารณภัย พยาบาลยังมีบทบาทในการช่วยเหลือให้แก่ผู้ประสบภัย ให้ได้รับการดูแลรักษาเพื่อลดหรือป้องกันการบาดเจ็บที่รุนแรงและเสียชีวิต นอกจากนี้พยาบาลยังมีบทบาทในการประสานขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานอื่น ๆ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนและทุกข์ทรมานของผู้ประสบภัย

ภาคผนวก
แนวคิดและบทบาทพยาบาลในการเตรียมพร้อมรับภัยพิบัติ
สุพรรณา ครองแถว* วท.ม. (สาธารณสุขศาสตร์), NP นพวรรณ เปียซื่อ** Ph.D. (Nursing), APN/NP
ประเภทของภัยพิบัติ
สภาการพยาบาลสากล(International Council of Nurses [ICN], 2009)    ได้จำแนกภัยพิบัติเป็น2ประเภท ตามสาเหตุการเกิดได้แก่          
1)ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นจาก ธรรมชาติ(natural disaster)เช่นภูเขาไฟระเบิดแผ่นดินไหว อุทกภัย วาตภัย ภัยแล้ง เป็นต้น2)ภัยพิบัติจากการกระทำของมนุษย์         หรือเทคโนโลยี(human-made or technological disaster)สาเหตุหลัก เกิดจากความผิดพลาดของคน     และระบบส่งผลให้เกิดมลพิษ เช่น ระเบิด อุบัติเหตุจากการขนส่งทำให้  เกิดการรั่วไหลของสารเคมี ส่งผลให้เกิดมลภาวะทางอากาศ ทางน้ำ การปนเปื้อนสารพิษในดิน และอาหาร   เป็นต้น 
สถานการณ์ และผลกระทบของภัยพิบัติ ภัยพิบัติก่อให้เกิดผลกระทบในระดับบุคคล        ครอบครัวและชุมชน เช่นเหตุการณ์เกิดแผ่นดินไหว           ส่งผลให้เกิดคลื่นสึนามิ เป็นภัยคุกคามต่อคุณภาพชีวิตและชุมชนทั้งสิ้น จากข้อมูลของรายงานภัยพิบัติโลก(The World Disaster Report, 2012) พบว่าภัยพิบัติที่ เกิดขึ้นทั่วโลกตั้งแต่ปีพ.ศ.        2545-2554มีจำนวนมากถึง 6,925 เหตุการณ์ ทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 1,234,624 คน ประชากรได้รับผลกระทบกว่า268,000 ล้านคนความเสียหายที่เกิดขึ้นเป็นจำนวนเงิน 1,463,015ล้านเหรียญสหรัฐ โดยภัยพิบัติที่เกิดขึ้นจาก ธรรมชาติเป็นปัญหาที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและมีสัดส่วนสูงขึ้นทุกปี           ส่วนภัยพิบัติที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์    หรือเทคโนโลยีที่มีสัดส่วน สูงสุดอย่างต่อเนื่องคือ      อุบัติเหตุจากการขนส่ง ทำให้เกิดการรั่วไหลของสารเคมี      คิดเป็นร้อยละ 71.8 ประเทศไทยประสบภัยพิบัติที่หลากหลายไม่ว่า จะเป็น       อุทกภัย  วาตภัย  อัคคีภัย           แผ่นดินถล่ม อากาศ หนาวเย็นในส่วนของชายฝั่งทะเลยังประสบกับพายุ ไซโคลน แต่ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นทุกปี และมีความรุนแรง ส่งผลกระทบในวงกว้างคือ  อุทกภัย  จากรายงาน ของเครือข่ายข้อมูลเพื่อการลดภัยพิบัติในชุมชน (Prevention     Web)    ปีพ.ศ.2556จัดอันดับ ให้ประเทศไทยเป็นพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดอุทกภัยเป็นลำดับที่7 ของโลก      ซึ่งเหตุการณ์มหาอุทกภัย เดือนกรกฎาคมพ.ศ.2554-มกราคมพ.ศ.2555ทำให้มีผู้เสียชีวิต813 คน   ผู้ประสบภัย 9.5ล้านคนความเสียหายทางเศรษฐกิจคิดเป็น40,000ล้านบาท(ADRC,2012)เหตุการณ์ดังกล่าวเป็นบทเรียนให้หันมาให้ความสำคัญ กับการเตรียมพร้อมรับภัยพิบัติเมื่อพิจารณาใน รายละเอียด    พบว่าประเทศไทยมีแนวทางในการจัดการ ภัยพิบัติโดยจัดทำพระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทา สาธารณภัยพ.ศ.2550และระเบียบอื่นๆที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นกรอบการทำงานในการจัดการสาธารณภัยอย่างไรก็ตามการจัดการภัยพิบัตินั้นมีความซับซ้อนใน การปฏิบัติมากขาดการประสานงานระหว่างหน่วยงาน ของรัฐ           องค์การสาธารณประโยชน์  ภาคธุรกิจและหน่วยงานระหว่างประเทศแผนเน้นเรื่องการเตรียมความพร้อมกรณีฉุกเฉินและกิจกรรมการฟื้นฟูบูรณะ แต่ไม่ได้บรรจุเรื่องการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ แสดงว่า ประเทศไทยมีความตระหนักในการลดความเสี่ยงจาก ภัยพิบัติอยู่ในระดับต่ำ ดังนั้นจึงเป็นโอกาสในการ พัฒนานโยบายในการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ โดย พยาบาลมีบทบาทในการเสริมสร้างแนวทางปฏิบัติ ที่เข้มแข็งเพื่อสร้างกลไกในการช่วยเหลือผู้สูงอายุ           ผู้พิการ  เด็ก ประชาชนกลุ่มอ่อนไหว      และประชาชนที่ ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติ     รวมถึงการฟื้นฟูสภาพ จิตใจ          และเสริมสร้างศักยภาพความเข้มแข็งของชุมชน ในการฟื้นคืนสภาพของบุคคล ครอบครัว และชุมชน    ภัยพิบัติไม่เพียงแต่ก่อให้เกิดความเสียหาย ต่อชีวิต และทรัพย์สินเท่านั้น ผลกระทบในระยะยาว ต้องสูญเสียงบประมาณ จำนวนมากและใช้ระยะเวลาใน การฟื้นฟูระบบโครงสร้างพื้นฐาน         ระบบสาธารณูปโภค การประกอบอาชีพรวมทั้งการฟื้นฟูด้านจิตใจให้แก่ บุคคลครอบครัวที่ประสบภัยเหตุการณ์ต่างๆ          เหล่านี้
เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างทันที     ทันใดโดยไม่คาดคิด มาก่อน           ก่อให้เกิดความเสียหายเป็นวงกว้างเกินกว่า ศักยภาพของชุมชนหรือท้องถิ่นจะช่วยเหลือได้  ต้องมี องค์กรหรือหน่วยงานภายนอกทั้งระดับชาติและ นานาชาติเข้ามาร่วมกันช่วยเหลือดังนั้นในการประชุมระดับโลกว่าด้วยการลดภัยพิบัติ       (The World Conference on Disaster Reduction)โดยความร่วมมือของ องค์การสหประชาชาติ(United Nations)องค์กรจาก ภาครัฐและเอกชนของสหรัฐอเมริกา           และอีกหลาย ประเทศทั่วโลกซึ่งประเทศญี่ปุ่นเป็นเจ้าภาพได้จัด ทำกลยุทธ์ระหว่างประเทศเพื่อการลดภัยพิบัติ(International Strategy for Disaster      Reduction [ISDR], 2007) ใช้ชื่อว่ากรอบการดำเนินงานเฮียวโกะว่าด้วย การสร้างความยืดหยุ่นของชาติและชุมชนต่อภัยพิบัติ(Hyogo Framework for Action     2005-2015: Building           the Resilience  of Nations and Communities to Disasters) ซึ่งเป็นมาตรการเพื่อลดความเสี่ยง และ ผลกระทบที่จะเกิดจากภัยพิบัติ นอกจากนี้ยังมีมาตรการ เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของประเทศ และชุมชนในการเตรียมความพร้อม และลดภัยพิบัติทางธรรมชาติใช้ ชื่อว่ากลยุทธ์โยโกฮาม่า(The Yokohama  Strategy)อันเป็นมาตรการที่พัฒนามาตั้งแต่ปี      พ.ศ.2537 และ มีพัฒนาการอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งได้บรรจุเป็นแผน พัฒนาปี   ค.ศ.2005-2015เน้นการพัฒนา5ด้าน       คือ
1)        การกำกับดูแลจากองค์กร/กรอบกฎหมายและ นโยบาย
2)        การระบุความเสี่ยงโดยการประเมิน   ติดตาม  และการเตือนภัยล่วงหน้า
3)        การจัดการความรู้และการศึกษาให้กับทุกภาคส่วน      
4)        การลดปัจจัยเสี่ยงพื้นฐาน             
5)        การเตรียมพร้อมของทุกภาคส่วนเพื่อการ ตอบสนองและการฟื้นคืนที่มีประสิทธิภาพ      โดยแต่ละ ประเทศทั่วโลกสมารถนำกรอบการดำเนินงานนี้ไป สู่การปฏิบัติเพื่อสร้างความเข้มแข็งของประเทศและ ชุมชนให้พร้อมรับภัยพิบัติ
การเตรียมพร้อมรับภัยพิบัติ
คือโปรแกรมกิจกรรมระยะยาวที่มีเป้าหมายเพื่อที่จะเสริมสร้างขีดความสามารถและ ศักยภาพโดยรวมของประเทศหรือชุมชนเพื่อที่จะจัดการกับภาวะภัยพิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพและส่งผลให้ประเทศหรือชุมชนเข้าสู่การพักฟื้นและการ พัฒนาอย่างยั่งยืนแผนการรับภัยพิบัตินี้ต้องมีการ พัฒนาบุคลากรทุกระดับทุกภาคส่วน          และในชุมชนที่มีความเสี่ยงต้องได้รับการศึกษาและติดตามประเมินผลอย่างสม่ำเสมอ(WHO,2007,p.8)โดยสหพันธ์ สภากาชาดและสภาเสี้ยววงเดือนแดงระหว่างประเทศ(IFRC,2000)          ได้กำหนดวัตถุประสงค์ของการเตรียม พร้อมรับภัยพิบัติในภาพรวมที่ครอบคลุมทั้งระดับ ชุมชน  และระดับประเทศ     ดังนี้     
1)        เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของกลไกการตอบสนองต่อภัยพิบัติทั้งในระดับชุมชน        และระดับชาติ    
2)        เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งในการเตรียมรับภัยพิบัติของชุมชน           ซึ่งได้รับการสนับสนุน จากภาคีเครือข่ายของชุมชน     
3)        เพื่อพัฒนากิจกรรมที่ช่วยลดผลกระทบความเสี่ยงในชีวิตประจำวันที่ชุมชนต้องเผชิญ      และการตอบสนองต่อภัยพิบัติด้านสุขภาพ การปฐมพยาบาล สวัสดิการของสังคม
แนวคิดการจัดการภัยพิบัติ
แนวคิดการจัดการภัยพิบัติเป็นการวางแผนเพื่อเผชิญหน้ากับสถานการณ์ตั้งแต่ก่อนเกิดภัย ระหว่าง เกิดภัยและหลังเกิดภัยเป็นวงจรอย่างต่อเนื่อง เรียกว่า       วงจรการจัดการสาธารณภัย           ประกอบด้วยแนวคิดดังนี้ (พรเทพ ศริวินารังสรรค, 2554;สำนักงานคณะกรรมการ พัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ,2554)
 1.       การป้องกัน(prevention)คือ การดำเนินการเพื่อหลีกเลี่ยงหรือขัดขวางไม่ให้เกิดภัยพิบัติและความสญูเสีย
2.        การลดความรุนแรง(mitigation)คือ กิจกรรม ที่มุ่งลดผลกระทบและความรุนแรงของภัยพิบัติที่ก่อให้ เกิดอันตรายความสูญเสียแก่ชุมชนและประเทศชาติ
3.        การเตรียมพร้อม (preparedness)คือ การเตรียมการล่วงหน้าเพื่อเพิ่มขีดความสามารถให้กับ องค์กรชุมชนและบุคคลในการเผชิญกับสถานการณ์ภัยพิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
4.        การรับสถานการณ์ฉุกเฉิน(emergency response) คือ       การปฏิบัติอย่างทันทีทันใดเมื่อภัยพิบัติ เกิดขึ้น   
5.        การฟื้นฟูสภาพ(recovery) การฟื้นฟูบูรณะ เป็นขั้นตอนที่ดำเนินการเมื่อสถานการณ์ภัยพิบัติ ผ่านพ้นไปแล้วเพื่อให้พื้นที่หรือชุมชนที่ได้รับภัยพิบัติ กลับคืนสู่สภาพที่ดีขึ้น
6.        การพัฒนา(development)การพัฒนาภายหลังสถานการณภัยพิบัติครอบคลุมถึงการทบทวนและศึกษาประสบการณ์การจัดการภัยพิบัติที่เกิดขึ้นแล้ว ทำการปรับปรุงระบบการดำเนินงานต่างๆที่มีอยู่ให้มี ประสิทธิภาพมากขึ้นเพื่อลดความสูญเสียให้น้อยที่สุด
หลักการจัดการภัยพิบัติ
ด้วยภัยพิบัติได้ทวีความรุนแรงขึ้นส่งผลกระทบไปยังหลากหลายประเทศทั่วโลกต่างเล็งเห็นความ สำคัญจากความเสียหายที่เกิดขึ้นจากภัยพิบัติจึงเกิด ความร่วมมือจัดทำมาตรการในการลดภัยพิบัติใช้ชื่อว่าHyogo  Framework for Action ซึ่งเป็นแนวทางปฏิบัติ สากลที่หลายประเทศใช้โดยประยุกต์ตามสถานการณ์ และความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่หลักการจัดการภัยพิบัติที่สำคัญมีดังนี้
1.        หลักการจัดการภัยพิบัติตามแนวทางของ สหพันธ์สภากาชาดและสภาเสี้ยววงเดือนแดงระหว่าง ประเทศมีองค์ประกอบ9ด้านดังนี้(IFRC,2000)       
1.1       การประเมินภัยความเสี่ยงในการเกิดภัยและความล่อแหลม(hazard,risk,and vulnerability assessments)การวางแผนและการดำเนินการตาม มาตรการการเตรียมพร้อมรับภัยพิบัติควรจะขึ้นอยู่กับ การประเมิน       และการจัดลำดับความสำคัญของความ เสี่ยงหรือภัยที่เกิดกับประชาชนและความสามารถในการจัดการผลกระทบเกิดขึ้นโดยประเมิน
           1)        ลักษณะความถี่และความรุนแรงของภัยพิบัติในชุมชน
           2)        พื้นที่ทางภูมิศาสตร์ของชุมชนซึ่งมีความอ่อนไหวและความ ล่อแหลมมากที่สุดที่จะเกิดภัย
           3)        ระบุหน่วยงานหลักของชุมชนประชาชนโครงสร้างพื้นฐานบ้านเรือนบริการอื่นๆที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบจากภัย                                                                                                                        4)        ความสามารถของหน่วยงานต่างๆในการรับมือกับ ผลกระทบของปรากฏการณ์ที่เป็นอันตราย 1.2       กลยุทธ์และกลไกในการตอบสนองภัยพิบัติ(response mechanisms and         strategies)กลไก และกลยุทธ์ในการเตรียมความพร้อมจะเพิ่มความเข้มแข็งและเพิ่มประสิทธิภาพของการตอบสนองต่อภาวะฉุกเฉิน    ได้แก่
           1)        ขั้นตอนการอพยพ รวมถึงการเผยแพรขั้นตอนเหล่านี้ให้ประชาชนทราบ          
2)        ขั้นตอนการค้นหาและ ช่วยเหลือรวมถึงแผนในการฝึกอบรม
           3)        ทีมงาน ประเมินผลรวมถึงแผนในการฝึกอบรม
4)        กระบวนการ ประเมินผล และจัดลำดับความสำคัญของการตอบสนอง ต่อภาวะฉุกเฉิน  
5)        มาตรการในการสั่งการติดตั้งพิเศษ เช่น โรงพยาบาลสนาม   
6)        การเตรียมการสำหรับศูนย์ และที่พักกรณีฉุกเฉิน          
7)        ขั้นตอนการสั่งการโปรแกรม สำหรับสนามบิน  ท่าเรือและการคมนาคมขนส่งทางบก       
8)        การเตรียมการสำหรับการจัดการอุปกรณ์เครื่องมือและสิ่งของบรรเทาทุกข์
1.3       แผนการเตรียมความพร้อม(preparedness plans)แนวคิดของแผนการเตรียมความพร้อมเป็น สิ่งสำคัญในการจัดการภัยพิบัติในสถานการณ์ฉุกเฉินจำเป็นต้องใช้ความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพหาก แผนที่จัดไม่ได้ถูกนำไปใช้หรือมีการตอบสนองต่อแผนล่าช้าอาจต้องมีการสูญเสียชีวิตไปโดยไม่จำเป็นในแผนเบื้องต้นนั้นต้องระบุรายละเอียดได้แก่ที่พัก ฉุกเฉินเส้นทางการอพยพแหล่งน้ำกรณีฉุกเฉินสายการบังคับบัญชาการติดต่อสื่อสารการฝึกอบรมของ บุคลากรในการตอบสนองต่อภาวะฉุกเฉินมาตรการ เหล่านี้ต้องมีการพัฒนาคุณภาพ  ระยะเวลาและประสิทธิภาพในการตอบสนองต่อภัยพิบัติ
1.4       ความร่วมมือ(coordination) แผนภัยพิบัติแห่งชาติควรมีการประสานงานกับแผนงานของหน่วยงานและองค์การอื่นๆการตอบสนองต่อภัยพิบัติที่มีประสิทธิภาพจำเป็นต้องมีการประสานงานกัน     
1.5       การจัดการข้อมูล(information management)การเตรียมพร้อมรับภัยพิบัติและการตอบสนองขึ้นอยู่กับการรวบรวมวิเคราะห์การจัดการ ข้อมูลให้ทันเวลาทั้งในระยะก่อนเกิดภัย(ข้อมูลความ เสี่ยงและการเตือนภัยล่วงหน้า)ระยะเกิดภัย(การประเมินความจำเป็นของภัยพิบัติ)และระยะหลังเกิดภัย(ความก้าวหน้าของการฟื้นฟูในระยะหลังเกิดภัย)       
1.6       ระบบเตือนภัยล่วงหน้า(early warning systems) วัตถุประสงค์ของการเตือนภัยล่วงหน้าคือ       การคาดการณ์ และการแจ้งเตือนเมื่อกำลังจะเกิดเหตุการณ์ อันตรายเพื่อที่จะเป็นการลดความเสี่ยงการเตือนภัย ล่วงหน้าจำเป็นต้องมีการติดต่อสื่อสารเพื่อรับข้อมูล ความเสี่ยงและอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นจริงเพื่อที่จะประเมินว่าประชาชนเตรียมพร้อมรับผลกระทบได้ หรือไม่
1.7       การระดมทรัพยากร(resource mobilization) แผนภัยพิบัติแห่งชาติควรจะพัฒนากลยุทธ์ข้อตกลงและวิธีการในการระดมเงินฉุกเฉิน วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ ในสถานการณ์ภัยพิบัติแผนการเตรียมความพร้อมควรออกนโยบายสำหรับการเบิกจ่ายเงินการใช้อุปกรณ์ ภายนอกและกลยุทธ์การใช้เงินทุนฉุกเฉิน
1.8       การศึกษาอบรม และการซ้อมแผน(public education,           training,           &rehearsals)การเตรียมพร้อมรับภัยพิบัติจำเป็นต้องมีการจัดฝึกอบรมและการซ้อมแผนในการตอบสนองต่อสถานการณ์ฉุกเฉินของชุมชนวัตถุประสงค์คือความตระหนักของชุมชนซึ่งการฝึกอบรมจะเป็นตัวส่งเสริมให้ชุมชนเกิดความเชื่อมั่นมั่นใจในการเตรียมพร้อมสามารถที่จะเป็นส่วนหนึ่ง ในการประสานงานกับภาคส่วนต่างๆและทราบบทบาท หน้าที่ในการจัดการภัยพิบัติสิ่งสำคัญของแผนการเตรียมพร้อมรับภัยพิบัติคือการอบรมและการซ้อมแผนสำหรับผู้ซึ่งอาจจะถูกคุกคามจากภัยพิบัติ     
1.9       การเตรียมพร้อมรับภัยพิบัติโดยมีชุมชน เป็นฐาน(community-based disaster preparedness) การเตรียมพร้อมรับภัยพิบัติไม่ใช่เป็นการทำงานของผู้เชี่ยวชาญจากภาครัฐหรือหน่วยงานด้านภัยพิบัติ เท่านั้นอาสาสมัครหน่วยงานต่างๆรวมทั้งภาคเอกชน มีส่วนสำคัญที่จะดำเนินการในสถานการณ์ภัยพิบัติดังนั้นแนวคิดการเตรียมพร้อมรับภัยพิบัติโดยมีชุมชนเป็นฐานจึงเกิดขึ้นเป็นกระบวนการที่พัฒนากลยุทธ์ ในการเตรียมพร้อมรับภัยพิบัติและลดความเสี่ยงประชาชนในพื้นที่เป็นกลุ่มแรกที่ต้องตอบสนองต่อภัยพิบัติซึ่งพวกเขามีส่วนร่วมในการกู้ภัยค้นหา   การรักษาให้กับครอบครัวและเพื่อนบ้านของพวกเขาการ มีเครือข่ายในชุมชนเป็นสิ่งสำคัญดังนั้นการจะพัฒนาทักษะความรู้เพื่อให้เป็นผู้ตอบสนองต่อภัยพิบัติต้องจัดการการศึกษา    อบรมเรื่องขั้นตอนการช่วยเหลือขั้นพื้นฐานการปฐมพยาบาลเบื้องต้น   และการดูแลใน ภาวะฉุกเฉินเพื่อเป็นไปตามแนวคิดการเตรียมพร้อมรับภัยพิบัติโดยมีชุมชนเป็นฐาน สำหรับประเทศไทยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกระทรวงมหาดไทยร่วมกับสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติได้จัดทำคู่มือการฝึกซ้อมแผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยมีการฝึกซ้อมแผน บนโต๊ะ(table top exercise)  การฝึกซ้อมเฉพาะหน้าที่(functional       exercise) และการจัดฝึกซ้อมเต็มรูปแบบ(full-scale           exercise)ภายใต้การจำลองสถานการณ์เสมือนจริงซึ่งจะมีการจัดซ้อมแผนปีละ1ครั้ง       โดยมี สถานการณ์จำลอง เช่น การเกิดอัคคีภัยตึกถล่มหรือ อุบัติเหตุรถชนซึ่งคู่มือดังกล่าวช่วยให้หน่วยงานภาคี เครือข่ายได้ศึกษาและนำไปประยุกต์เพื่อทดลองลง สู่การปฏิบัติต่อไป
2.        หลักการจัดการภัยพิบัติตามแนวทางของ Hyogo Framework           for Action 2005-2015 ซึ่งมีแนวทางปฏิบัติ   5 ด้าน ดังนี้
2.1       การกำกับดูแลจากองค์กรกรอบกฎหมายและนโยบายมีการกำหนดและเสริมสร้างความเข้มแข็ง ของแผนลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติแห่งชาติโดยกำหนด หน่วยงานที่รับผิดชอบระดับประเทศเพื่ออำนวยความ สะดวกในการประสานงานระหว่างภูมิภาคบูรณาการการลดความเสี่ยงตามความเหมาะสมของนโยบายการพัฒนาการวางแผนในทุกระดับรวมทั้งมีการกระจายอำนาจความรับผิดชอบทรัพยากรในการลดความเสี่ยง จากภัยพิบัติสู่ระดับชุมชนและท้องถิ่นตามความเหมาะสมประเทศไทยได้มีการจัดทำพระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยพ.ศ.2550ถึงปัจจุบันทั้งนี้ต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของชุมชนในการลดความเสี่ยงจาก ภัยพิบัติโดยปรับตามนโยบายส่งเสริมเครือข่ายการ จัดการเชิงกลยทุธ์ของอาสาสมัครกำหนดบทบาทความรับผิดชอบของกลุ่มตัวแทนต่างๆรวมทั้งต้องประเมิน ความสามารถของทรัพยากรที่มีอยู่เพื่อลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติโดยจัดสรรทรัพยากรเพื่อการพัฒนาการ ดำเนินการตามนโยบายแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทุกระดับและทุกภาคส่วน
2.2       การระบุความเสี่ยงการประเมิน ติดตาม และการเตือนภัยล่วงหน้า           
2.2.1     การประเมิน ความเสี่ยงระดับชาติ และระดับท้องถิ่นพัฒนาระบบตัวชี้วัดความเสี่ยงและ ความอ่อนไหวทางภัยพิบัติ เพื่อเป็นข้อมูลในการ ประเมินผลกระทบและประชาชนที่มีความเสี่ยงรวมทั้งบันทึกและเผยแพร่ข้อมูลทางสถิติที่เกี่ยวกับภัยพิบัติ
2.2.2     การเตือนภัยล่วงหน้าพัฒนา ระบบการเตือนภัยที่มีคนเป็นศูนย์กลาง                              
2.2.3     ความสามารถในการจัดการกับ ภัย(capacity) โดยสนับสนุนการพัฒนาโครงสร้าง พื้นฐานวิทยาศาสตร์     และเทคโนโลยีโดยสถาบันต่างๆจำเป็นต้องมีการวิจัยสนับสนุน                      
2.2.4     ความเสี่ยงในระดับภูมิภาคที่ เกิดขึ้น ความร่วมมือระหว่างภูมิภาคและนานาชาติเพื่อประเมิน   ติดตามภยันตรายในระดับภูมิภาค           และ ขอบเขตที่เชื่อมโยงกัน เพื่อการเตือนภัยล่วงหน้าที่ เหมาะสม
2.3       ใช้ความรู้           นวัตกรรมและการศึกษาเพื่อที่ จะสร้างวัฒนธรรมด้านความปลอดภัยและความเข้มแข็ง ของทุกภาคส่วน ผลจากภัยพิบัติสามารถลดลงได้หากประชาชนได้รับข้อมูลและกระตุ้นให้เกิดนวัตกรรมการป้องกันภัยพิบัติและความเข้มแข็ง          ซึ่งต้องมีการเก็บรวบรวมข้อมูลเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับความล่อแหลมและความสามารถในการเผชิญกับภัยพิบัติ     โดยมี กิจกรรมดังนี้         
1)        การจัดการและแลกเปลี่ยนข้อมูล สารสนเทศ 
2)        การศึกษาและฝึกอบรม     
3)        งานวิจัย
4)        ความตระหนักของชุมชน   
2.4       การลดปัจจัยเสี่ยงพื้นฐานความเสี่ยงจาก ภัยพิบัติมีความสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงของสังคมเศรษฐกิจสิ่งแวดล้อมและการใช้ที่ดิน  ซึ่งผลกระทบ ของภัยพิบัติมีความสัมพันธ์กับสภาพภูมิประเทศสภาพอากาศน้ำความแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศกิจกรรมที่จะช่วยลดปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้คือการจัดการ ทรัพยากรสิ่งแวดล้อมและธรรมชาติมีการวางแผนการใช้ที่ดิน การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมโดยการส่งเสริม ความปลอดภัยด้านอาหาร(food safety)      ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่สร้างความมั่นใจของชุมชนมีความเข้มแข็งในการเผชิญภัยในทุกรูปแบบ เช่นภัยแล้งน้ำท่วม พายุ ไซโคลน และภัยอื่นๆที่มีผลต่อเกษตรกรรมอีกทั้ง แนวทางปฏิบัติที่เข้มแข็งของกลไกสร้างความปลอดภัยในการช่วยเหลือผู้สูงอายุ ผู้พิการ เด็ก ประชาชน กลุ่มเปราะบาง และประชาชนที่ได้รับผลกระทบจาก ภัยพิบัติ รวมถึงการฟื้นฟูสภาพจิตใจ
2.5       ความเข้มแข็ง ในการเตรียมพร้อมรับภัยพิบัติของทุกภาคส่วนเพื่อการตอบสนองที่มีประสิทธิภาพในสถานการณ์ภัยพิบัติผลกระทบและความสูญเสียจะ ลดลงอย่างมาก เกิดภัยมีการเตรียมความพร้อมใช้ความรู้และความสามารถในการจัดการภัยพิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ      ทั้งนี้ ต้องอาศัยนโยบายที่เข้มแข็งความสามารถของชุมชนในการจัดการภัยพิบัติ รวมทั้งเทคโนโลยี      การฝึกอบรมประชาชนและแหล่งทรัพยากรโดยมีการแลกเปลี่ยน ข้อมูล รวมทั้งความร่วมมือในการเตือนภัยล่วงหน้า           การลดความเสี่ยงภัยพิบัติ การตอบสนองต่อภัยพิบัติจะเห็นได้ว่าภัยพิบัติตามแนวทางของHyogo Framework และ IFRC      มีความสอดคล้องกัน โดยการจัดทำนโยบายที่ดี        เกิดจากความร่วมมือใน ทุกภาคส่วน การประเมินความเสี่ยงในการเกิดภัย การจัดการกลุ่มเปราะบาง ระบบการเตือนภัยล่วงหน้า การวางแผนเตรียมความพร้อมทั้งทรัพยากร และ บุคลากรโดยการอบรมซักซ้อมความพร้อมและเน้น ความเข้มแข็งของชุมชน
จะเห็นได้ว่าแนวทางของHyogo Framework และ IFRC ต่างเน้นเรื่องความร่วมมือการเตรียมพร้อมรับภัยพิบัติซึ่งการที่จะทำให้เกิดความเข้มแข็งได้นั้นควรดึงชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมเพราะชุมชนเป็นฐานความร่วมมือในหลายด้านที่สำคัญทั้งบุคลากรและทรัพยากรสอดคล้องกับที่มีผู้เคยศึกษา เรื่องการจัดการภัยพิบัติโดยอาศัยชุมชนเป็นฐานก่อให้ เกิดประโยชน์คือสามารถเตือนภัยได้อย่างรวดเร็วเนื่องจากคนในชุมชนมีความรู้ด้านสิ่งแวดล้อมในชุมชน ของตนเองมีประสบการณ์ในการจัดการช่วยให้ชุมชนเข้มแข็งเตรียมพร้อมรับภัยพิบัติเบื้องต้นได้ด้วยตนเองนำไปสู่การสร้างเสริมความสามารถในการคิดริเริ่ม พัฒนาชุมชนของตนเอง(พรเทพ สิริวนารังสรรค์,2554)
การเตรียมพร้อมรับภัยพิบัติจากบุคลากรทางการ แพทย์
1.        การเตรียมพร้อมรับภัยพิบัติของนักศึกษาพยาบาลจากการศึกษาของอลีมและคณะ(Alim,Kawabata,& Nakazawa, 2015) เพื่อประเมิน ประสิทธิผลของโปรแกรมการเตรียมพร้อมรับภัยพิบัติโดยนักศึกษาพยาบาลได้รับการฝึกอบรมในห้องเรียนและการซ้อมแผนภัยพิบัติเสมือนสถานการณ์จริงผลที่ ได้จากโปรแกรมพบว่าช่วยเพิ่มระดับความรู้สมรรถนะรวมทั้งความมั่นใจในการจัดการสถานการณ์ภัยพิบัติ กับนักศึกษาพยาบาล
2.        การเตรียมพร้อมรับภัยพิบัติของพยาบาล บุคลากรทางการแพทย์          จากการศึกษาของคอนลอน และ วีจูลา(Conlon           & Wiechula, 2011) พบว่าพยาบาลมัก เป็นคนแรกที่พบว่าอยู่ในสถานการณ์ฉุกเฉิน และให้การดูแลผู้ป่วยดังนั้นการเตรียมความพร้อมให้กับพยาบาลและบุคลากรทางการแพทย์เพื่อประสิทธิภาพในการ ตอบสนองต่อภาวะฉุกเฉิน   และภัยพิบัติถือว่ามีความสำคัญจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่จังหวัดเสฉวน (Sichuan)ประเทศจีนปีค.ศ.2008ก่อให้เกิดความ สูญเสียต่อชีวิต        และทรัพย์สินอย่างใหญ่หลวงสิ่งที่พบคือพยาบาลยังขาดความรู้         ทักษะที่จำเป็นในการจัดการ ผู้บาดเจ็บจากภัยพิบัติ ดังนั้น ฝ่ายการพยาบาลร่วมกับ องค์การอนามัยโลกภาคพื้นตะวันตกได้จัดโปรแกรม ฝึกอบรมเตรียมความพร้อมรับในสถานการณ์ฉุกเฉิน(training          programmes in emergency and disaster     preparedness for nurses) ให้กับพยาบาลโดยเนื้อหาของโปรแกรมประกอบด้วย   
1)        ความรู้เบื้องต้นเพื่อการดูแลผู้บาดเจ็บ (introduction to trauma care)   
2)        การประเมินผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บ(assessment of the           trauma patient)
3)        การประเมินและการจัดการ การบาดเจ็บเฉพาะในระยะเฉียบพลัน(acute assessmentand management   of specific injuries)
4)        การควบคุมการติดเชื้อ(infection control)  
5)        การจัดการบาดแผล(wound management)
6)        การดูแลสุขภาพจิตและจิต สังคม(mental health and           psychosocial care)      
7)        การฟื้นฟู (rehabilitation) เพื่อเพิ่มความรู้และทักษะ การพยาบาลในสถานการณ์ฉุกเฉินหรือภัยพิบัติส่งผลให้ผู้ประสบภัยได้รับการดูแลอย่างมีคุณภาพประเด็น สำคัญของการจัดโปรแกรมการอบรมนี้ขึ้นเพื่อต้องการ เตรียมความพร้อมของพยาบาลทั้งด้านความรู้และทักษะการพยาบาลในสถานการณ์ฉุกเฉินหรือภัยพิบัติเพื่อช่วยให้ผู้ประสบภัยได้รับการดูแลอย่างมี ประสิทธิภาพ
3.        การเตรียมพร้อมรับภัยพิบัติของประชาชนทั่วไปจากการศึกษาของเบนเทลและคณะ(Bethel,Foreman,&Burke,2011)          เพื่อดูความสัมพันธ์ระหว่างสถานะทางสุขภาพความสามารถในการช่วยเหลือ ตนเองและโรคประจำตัวกับการเตรียมความพร้อมรับภัยพิบัติซึ่งการเตรียมความพร้อม(household preparedness)ประกอบด้วย3ส่วน คือ          
1)        การเตรียม ความพร้อมของอาหารที่ไม่เน่าเสีย แบตเตอรี่ที่ใช้งานได้ รวมทั้งไฟฉายพร้อมแบตเตอรี่ให้เพียงพอใช้งานได้ตลอด 3 วัน
2)        แผนการอพยพในกรณีเกิดภัยพิบัติฉุกเฉินจำเป็นต้องทำการการอพยพ  
3)        การเตรียมยา สำหรับบุคคลในครอบครัวที่จำเป็นต้องใช้ยาประจำ ตามใบสั่งแพทย์เพียงพอตลอดระยะเวลา3วัน พบว่า ประชาชนกลุ่มเปราะบาง(vulnerable populations)   ได้แก่ เด็ก สตรี หญิงตั้งครรภ์ ผู้สูงอายุ ผู้ที่สุขภาพ ไม่แข็งแรง ผู้พิการ        และผู้ป่วยเรื้อรังจะมีการเตรียมความพรอ้มด้านอาหารและแผนอพยพน้อยกว่าบุคคลทั่วไปแต่จะเตรียมความพร้อมเกี่ยวกับยาประจำตัว (medication           supplies) มากกว่าบุคคลทั่วไป ดังนั้น ภาครัฐควรจะเข้ามามีบทบาทในการช่วยเพิ่มระดับการ เตรียมความพร้อมให้กับประชาชนกลุ่มเปราะบาง
 4.       การเตรียมพร้อมรับภัยพิบัติของครอบครัวที่ต้องดูแลเด็กจากการศึกษาของเบกเกอร์      และคอร์เมียร์(Baker&Cormier,      2013)ศึกษาในกลุ่มครอบครัวที่ต้องดูแลเด็กโดยการให้ความรู้การเตรียมความพร้อม ด้านภัยพิบัติ 3 หัวข้อคือ
1)        การรับแจ้งเกี่ยวกับภัยพิบัติที่อาจเกิดขึ้น       
2)        จัดทำแผนความพร้อมฉุกเฉินกับสมาชิกในครอบครัว
3)        รวบรวมชุดอุปกรณ์ยังชีพ(disaster kit) เมื่อเกิดภัยพิบัติ วัดระดับการเตรียม ความพร้อมของครอบครัว    4 ด้านก่อนและหลังให้ความรู้ โดยใช้แบบสำรวจที่พัฒนามาจากของเบสส์แมนและ คณะ (Blessman et    al.,2007)คือ1)     แผนการติดต่อสื่อสารกับครอบครัวกรณีที่พลัดหลงกันขณะเกิดภัยพิบัติ และสถานที่นัดพบภายนอกบ้าน
2)        การจัดเตรียมชุด อุปกรณ์ยังชีพขณะเกิดภัยพิบัติที่สามารถใช้ยังชีพได้3 วัน         ซึ่งประกอบด้วย   อาหารแห้งโดยต้องเก็บแยกส่วน กับอาหารที่ใช้ประจำวัน     น้ำสะอาด 1 แกลลอน/คน/วัน ชุดปฐมพยาบาล ผ้าห่ม   ไฟฉาย พร้อมถ่านยาประจำตัวที่จำเป็นสำหรับบุคคลในครอบครัว      
3)        เด็กที่อายุ มากกว่า 5 ปีสามารถสะกดชื่อ ที่อยู่เบอร์โทรศัพท์ของบุคคลในครอบครัวได้  
4)        เด็กที่อายุมากกว่า 14ปีรู้วิธีการปิดแก็สและน้ำกรณีเกิดภาวะฉุกเฉินพบว่ากลุ่มครอบครัวที่ต้องดูแลเด็กมีระดับการเตรียม ความพร้อมด้านภัยพิบัติสูงขึ้นดังนั้นครอบครัวที่มี สมาชิกเป็นเด็กอยู่ก็ต้องมีการเตรียมความพร้อม รับภัยพิบัติสำหรับเด็ก     
5.        การเตรียมพร้อมรับภัยพิบัติของชุมชนจากการศึกษาของอาดาลัน       และคณะ(Ardalan et al.,  2013)เจ้าหน้าที่ทีมสุขภาพระดับปฐมภูมิในประเทศ อิหร่านได้ให้ความรู้เรื่องการเตรียมพร้อมรับภัยพิบัติ ขณะเกิดแผ่นดินไหวและอุทกภัยแก่ประชาชนในชุมชน  4 หัวข้อ คือ          
1)        ผลกระทบด้านสุขภาพที่เกิดกับบุคคล จากแผ่นดินไหวและอุทกภัย 
2)        ความร่วมมือในการจัดทำแผนที่ความเสี่ยง    
3)        แผนฉุกเฉินสำหรับบ้านเรือน รวมถึงการประชุมเตรียมความพร้อมแผน ติดต่อสื่อสาร    เตรียมชุดอุปกรณ์ภัยพิบัติ บัตรแสดง ข้อมูลส่วนบุคคลของสมาชิกภายในบ้าน เช่น หมู่เลือดโรคประจำตัวยาที่จำเป็น และแผนสำหรับกลุ่มเปราะบางที่ที่อาศัยอยู่ในบ้านเรือน
4)        ดำเนินการซ้อมแผน ซึ่งภายหลังการให้ความรู้ประชาชน และการเตรียมความพร้อมเพิ่มขึ้น ดังนั้นการให้ความรู้ แก่ประชาชนในการเตรียมพร้อมรับภัยพิบัติจำเป็นต้องถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของการบริการด้านสุขภาพให้ กับชุมชนเพื่อช่วยลดผลกระทบจากภัยพิบัติในชุมชน   
ระยะของการจัดการภัยพิบัติ
เมื่อพิจารณานำหลักการและแนวทางที่กล่าวมาก่อนหน้ามาดำเนินการตามหลักการจัดการภัยพิบัติ ผู้ปฏิบัติควรดำเนินการเตรียมรับภัยพิบัติที่สอดคล้อง กับวงจรการเกิดภัย(disaster cycle) ซึ่งสำนักจัดการ ภาวะฉุกเฉินส่วนกลาง(Federal Emergency Management Agency [FEMA],2006)    ได้จำแนกวงจรการเกิดภัย ออกเป็น3ระยะประกอบด้วย
1)        ระยะก่อนเกิดภัย(pre-impact phase)คือ ช่วงเวลาปกติที่ยังไม่มีภัย ไม่มีสิ่งบอกเหตุว่าจะเกิดภัยหน่วยงานต่างๆมีการเตรียมความพร้อมเพื่อการปฏิบัติงาน แนวทางการจัดการภัยพิบัติในระยะนี้ ได้แก่ การป้องกันการลดความรุนแรง การเตรียมความพรอ้ม
2)        ระยะเกิดภัย(impact phase)คือ ช่วงเวลาเกิดภัยที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อชีวิต ทรัพย์สิน หน่วยงานต่างๆ เริ่มให้การช่วยเหลือ แนวทางการจัดการภัยพิบัติในระยะนี้ได้แก่การรับมือ และการตอบสนองต่อภัยพิบัติในทันที
3)        ระยะหลังเกิดภัย(post impact phase) คือช่วงเวลาที่ภัยผ่านพ้นไปแล้วหน่วยงานต่างๆต้องให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางด้านร่างกาย และจิตใจ แนวทาง การจัดการภัยพิบัติในระยะนี้ ได้แก่ การพักฟื้น การ ฟื้นฟูสภาพของบุคคลครอบครัวและชุมชน
บทบาทของพยาบาลในการจัดการภัยพิบัติ
พยาบาลปฏิบัติงานทั้งในโรงพยาบาล (hospital based)           และนอกโรงพยาบาลหรือในชมุชน (community
based) จึงมีความเกี่ยวข้องกับการจัดการภัยพิบัติในทุกระยะ พยาบาลจำเป็นต้องประยุกต์ความรู้และทักษะพื้นฐาน ทางการพยาบาลเพื่อจัดการกับสถานการณ์ในสภาวะแวดล้อมที่ยากลำบาก   มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาและทรัพยากรที่จำกัด         พยาบาลเป็นหนึ่งในทีมสุขภาพ ที่มีบทบาทสำคัญในการประสานงาน การบริหารจัดการและการดูแลรักษาทั้งร่างกาย จิตใจในทุกระยะของการเกิดภัย ต้องสามารถปรับเปลี่ยนบทบาทหน้าที่ ในการปฏิบัติงานให้เหมาะสมกับสถานการณ์ในขณะที่การทำงานนั้นก็มีอันตรายต่อชีวิตจากภัยพิบัติที่เกิดขึ้นรวมทั้งต้องทำงานร่วมกันนทั้งภาครัฐและเอกชน(Gebbie&Qureshi,2002;Jennings-Sanders,Frisch,&Wing,    2005)           ดังนั้น สภาการพยาบาลสากลจึงได้พัฒนาสมรรถนะด้านการพยาบาลภาวะภัยพิบัติ(ICN framework of disaster nursing competencies)ประกาศใช้ในปี ค.ศ. 2009เพื่อเป็นกรอบในการพัฒนาสมรรถนะด้านการพยาบาลใน ภาวะภัยพิบัติ3ระยะ
 1)       การป้องกัน/การลดความรุนแรง (prevention/mitigation) เป็นกระบวนการประเมินหาความเสี่ยงเพื่อหาทางป้องกันหรือลดความรุนแรงจากภัยพิบัติที่จะเกิดกับชีวิตและชุมชน เช่น ระบบการเตือนภัย
ล่วงหน้า รหัสความปลอดภัย (safety code)การให้วัคซีนการประเมินกลุ่มเสี่ยงหรือกลุ่มเปราะบางรวมทั้ง การจัดเตรียมชุดอุปกรณ์ยังชีพเมื่อเกิดภัยพิบัติ ประกอบด้วยน้ำ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ผ้าห่ม และยาที่จำเป็นในภาวะฉุกเฉิน รวมทั้งการจัดทำนโยบายและแผนรองรับในภาวะภัยพิบัติในชุมชน  ภาคเครือข่าย เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดทำแผนเพื่อเสริมสร้างความ เข้มแข็งของชุมชนในการเตรียมพร้อมรับภัยพิบัติ
2)        การเตรียมพร้อมรับ(preparedness) ISDR(2007)ให้นิยามการเตรียมความพร้อมเป็นกิจกรรม และมาตรการล่วงหน้าที่มีการตอบสนองอย่างมีประสิทธิภาพต่อผลกระทบของภัยอันตรายรวมทั้งการ ออกคำเตือนล่วงหน้าในเวลาที่เหมาะสม การอพยพประชาชน และทรัพย์สินออกจากพื้นที่เสี่ยง องค์ประกอบ ของการเตรียมความพร้อม คืออาสาสมัคร แผนงาน การฝึกอบรมการให้ความรู้แก่ประชาชนซึ่งต้องทำเป็นกระบวนการ กระบวนการอย่างต่อเนื่องพยาบาลมีบทบาทสำคัญในการเตรียมความพร้อมโดยพยาบาลต้องประเมิน ความต้องการของชุมชน ทรัพยากรที่สำคัญในสุขภาพและการดูแลทางการแพทย์เพื่อจะนำไปสู่การวางแผน กิจกรรมโดยการสื่อสาร ประสานงานประสบการณ์ที่จำเป็น การฝึกอบรมการซ้อมแผนภัยพิบัติ การปฐมพยาบาลและการเคลื่อนย้ายกรณีฉุกเฉิน
3)        การรับมือ/ตอบสนองต่อภัยพิบัติในทันที(response)บทบาทของพยาบาลในระยะนี้ต้องให้การ ดูแลทั้งร่างกายและจิตใจภายใต้เงื่อนไขที่จำเป็นต้องใช้ความรู้และทักษะการบริหารจัดการทรัพยากรที่ ขาดแคลนแต่ยังคงมาตรฐานของการรักษาไว้ เช่น การ จัดลำดับความสำคัญ(triage)         การส่งต่อ(referrals)การ ประเมิน(assessment)และการควบคุมการติดเชื้อ(infection control)การจำแนกผู้ป่วยเด็ก สตรีมี ครรภ์คนชรา ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง และผู้พิการบุคคลกลุ่มนี้มีความเสี่ยงมากเนื่องจากมีข้อมูลที่จำกัดในการเข้าถึง       และการเคลื่อนย้าย ในด้านจิตใจพบว่า ความเครียดภายหลังเหตกุารณ์สะเทือนขวัญ(post traumatic stress disorder: PTSD)ซึมเศร้า และวิตกกังวลเป็นปัญหาทางสุขภาพ จิตที่พบได้บ่อยภายหลังเหตุการณ์ภัยพิบัติ     ดังนั้น พยาบาลต้องมีการประเมินและติดตามอาการทาง สุขภาพจิตเพื่อให้การดูแล   หรือส่งต่อที่เหมาะสม
4)        การพักฟื้น/ฟื้นฟูสภาพของบคุคล/ครอบครัวและชุมชน(recovery/rehabilitation)          บทบาทของพยาบาลในระยะนี้ต้องให้การดูแลทั้งระดับบุคคล  ครอบครัว ชุมชน ซึ่งเป็นการดูแลทั้งด้านร่างกายและจิตใจทั้งในระยะสั้นและระยะยาวให้ความรู้ในการดูแลตนเอง           และแหล่งประโยชน์ด้านสุขภาพที่เหมาะสมแก่ผู้ประสบเหตุในส่วนของชุมชนต้องมีส่วนร่วมในการ ประเมินผลเพื่อปรับปรุงพัฒนาการการตอบสนองต่อภัยพิบัติต่อไป เมื่อวิเคราะห์แนวทางการจัดการภัยพิบัติตามแนวทางของHyogo Frameworkและ IFRC ร่วมกับ กรอบสมรรถนะด้านการพยาบาลในภาวะภัยพิบัติ4ระยะตามแนวทางของสภาการพยาบาลสากลพบว่า หลักการจัดการภัยพิบัติในแต่ละขั้นตอนสอดคล้องกับ สมรรถนะด้านการพยาบาลในภาวะภัยพิบัติทั้ง      4ระยะ           ในระยะพักฟื้น/ฟื้นคืนสภาพของบคุคล/ครอบครัวและชุมชนนั้น IFRC และHyogo Framework นั้นกล่าวไว้น้อยมาก ซึ่งในระยะนี้พยาบาลมีบทบาทสำคัญในการ ฟื้นฟูสุขภาพของผู้ประสบภัยด้านร่างกายและจิตใจซึ่งมีความละเอียดอ่อนต้องอาศัยความศรัทธา   และความเชื่อส่วนบุคคลตลอดจนพยาบาลต้องดึงให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการฟื้นฟูสุขภาพทั้งระดับบุคคลและครอบครัว           
สมรรถนะด้านการพยาบาลในภาวะ ภัยพิบัติ ICN

1.        การป้องกัน/การลดความรุนแรง
2.        การเตรียมพร้อมรับ
3.        การรับมือ/ตอบสนองต่อภัยพิบัติใน ทันที
4.        การพักฟื้น/ฟื้นฟูสภาพของบุคคล/ ครอบครัวและชุมชน
ความพร้อมในการจัดการภัยพิบัติของพยาบาลไทย
สมรรถนะด้านการพยาบาลในภาวะภัยพิบัติในประเทศไทยพบว่าพยาบาลที่ให้การช่วยเหลือแก่ผู้ประสบภาวะภัยพิบัติมีประสบการณ์แตกต่างกันการปฏิบัติการพยาบาลยังไม่มีการกำหนดบทบาทของพยาบาลอย่างชัดเจนสะท้อนให้เห็นว่าพยาบาลไทยยังต้องการการเตรียมความพร้อมด้านสมรรถนะในการจัดการดูแล ผู้ประสบภัยในฐานะภัยพิบัติจากการวิเคราะห์หลักสูตรการศึกษาพยาบาลของไทยพบว่าการเตรียมพยาบาล ในระบบการศึกษาของประเทศไทยมีการจัดการเรียนการสอนและการฝึกปฏิบัติที่ไม่เพียงพอต่อการรองรับการปฏิบัติการพยาบาลในภาวะภัยพิบัติ(พลูสุข ศิริพูล,สุพัฒนา ศักดิษฐานนท์, วิลาวัณย์      ชมนิรัตน์,และนิลุบล รุจิระประเสริฐ,          2555)บางหลักสูตรสอนเพียงทฤษฎี ไม่มีการฝึกปฏิบัติทักษะที่จำเป็นในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยเมื่อเปรียบเทียบสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพทั่วไประดับปริญญาตรีที่กำหนดโดยสภาการพยาบาล ประเทศไทยกับสมรรถนะด้านการพยาบาลในภาวะภัยพิบัติของ   ICNพบว่าสภาการพยาบาลมีการกำหนดสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพทั่วไปตามแนวทางของICN   ทั้งระยะ แต่ส่วนที่สอดคล้องที่สุด คือ ระยะเตรียมพร้อมรับส่วนในระยะอื่นๆ     มีการกำหนดสมรรถนะไว้น้อยมาก ดังนั้นการที่จะพัฒนาพยาบาลไทยให้มีความรู้ในการพยาบาลด้านภาวะภัยพิบัติ จึงเป็นบทบาท ขององค์กรวิชาชีพพยาบาลของไทยในการกำหนดนโยบายอย่างเป็นรูปธรรมโดยข้อเสนอแนวทางการ ดำเนินการมุ่งไปที่      3กลุ่มเป้าหมาย    คือ      
1)        พัฒนาสมรรถนะของนักศึกษาพยาบาลโดยเพิ่มหลักสูตรการพยาบาลภาวะภัยพิบัติ 
2)        พัฒนาสมรรถนะของพยาบาลวิชาชีพ โดยการฝึกซ้อมรับเหตุการณ์การจำลองสถานการณ์
3)        พัฒนาสมรรถนะของพยาบาล เฉพาะทางโดยพัฒนาบทบาทเป็นผู้จัดการในภาวะภัย พิบัติ(disaster manager) ซึ่งสถาบันการศึกษาสถาบันบริการสุขภาพ        และองค์กรวิชาชีพ ความร่วมมือในการ พัฒนาสมรรถนะการพยาบาลภาวะภัยพิบัติของ พยาบาลไทยในทุกระดับ(พูลสุข      ศิริพูล และสุพัฒนา ศักดิษฐานนท์,2555) ความพร้อมของพยาบาลในการสนับสนุนทาง อารมณ์ จิตวิญญาณของผู้ป่วย และครอบครัวที่ได้รับ ผลกระทบจากภัยพิบัติมีความสำคัญ           เนื่องจากผู้ได้รับผลกระทบจะมีปัญหาทางด้านจิตใจความต้องการด้านการช่วยเหลือทางจิตใจจะแตกต่างกันออกไปตามช่วงเวลาดังนั้นผู้ได้รับผลกระทบควรได้รับการ สนับสนุนตามความเหมาะสม(WHO,2007)แผนการจัดการสุขภาพจิตที่มีการเตรียมความพร้อมที่ดีจะช่วย ลดผลกระทบจากภัยพิบัติระดับบุคคลครอบครัว ชุมชน      และระดับประเทศ     ประเทศไทยได้พัฒนาแนวทางการรักษาสุขภาพจิตในสถานการณ์ภัยพิบัติเพื่อเป็นเครื่องมือสำหรับการประเมินสุขภาพจิตโดยถูกรวมไว้ ในแผนพัฒนาทุกระดับเพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าจะได้ ผลลัพธ์ที่ดีในการดูแลผู้ได้รับผลกระทบ(Panyayong&Pengjuntr,2006)ก่อนเหตุการณ์สึนามิปีพ.ศ.2547ผู้ที่ทำงานทางด้านสุขภาพจิตเชื่อว่าPTSDเกิดกับคนชาวอเมริกันเท่านั้นหลังจากเหตุการณ์นี้ความเชื่อเดิม ต้องเปลี่ยนไปเมื่อความชุกของการเกิดPTSDมีความสัมพันธ์กับภัยพิบัติที่เกิดขึ้นจากธรรมชาติโดย
พบรายงานในเอเชียอยู่ระหว่าง ร้อยละ 8.60-57.30 ดังนั้นการรักษาด้านจิตใจควรมีการประยุกต์ให้เหมาะสม กับผู้ประสบภัยในพื้นที่(Udomratn, 2008)
สรุป
ภัยพิบัติล้วนทวีความรุนแรงมากขึ้นถือเป็นประเด็นปัญหาที่ทั่วโลกให้ความสนใจทุกคนต่างตระหนักถึงผลเสียที่เกิดขึ้นดังนั้นการรับมือกับสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นที่ดีที่สุด คือ การจัดการภัยพิบัติ ตามวงจรการเกิดภัยทั้ง3ระยะคือ          ระยะก่อนเกิดภัย  ระยะเกิดภัย และระยะหลังเกิดภัย โดยใช้แนวทางการ จัดการ4ด้านคือการป้องกัน/การลดความรุนแรง การเตรียมพร้อมรับการรับมือ/ตอบสนองต่อภัยพิบัติ ในทันที และการพักฟื้น/ฟื้นฟูสภาพของบุคคล/ ครอบครัวและชุมชนรวมถึงการพัฒนาพยาบาลซึ่งเป็นหนึ่งในทีมสุขภาพที่มีบทบาทสำคัญในการเตรียมพร้อม รับภัยพิบัติจำเป็นต้องมีสมรรถนะของพยาบาล
พยาบาลภาวะภัยพิบัติตามกรอบของสภาการพยาบาลสากล(ICN)    เพื่อที่จะสามารถเผชิญกับภาวะภัยพิบัติ และรอดพ้นปลอดภัยรวมทั้งให้การช่วยเหลือผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ      ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง         องค์กร ด้านการศึกษาควรให้ความสำคัญกับการพัฒนาสมรรถนะของพยาบาลตามกรอบของสภาการพยาบาลสากลให้เห็นเป็นรูปธรรมมากขึ้น เพื่อร่วมเป็นแกนนำในการจัดการภัยพิบัติซึ่งต้องการการบรูณาการองค์ความรู้จากหลากหลายสาขาอาศัยความร่วมมือ   และประสานงาน จากทุกภาคส่วนในการร่วมกันวางแผนเพื่อสร้าง นโยบาย     และเป็นกลไกในการขับเคลื่อนกิจกรรมต่างๆเน้นให้ชุมชนเป็นศูนย์กลางการจัดการภัยพิบัติ เพื่อ ถ่ายทอดนโยบายลงสู่การปฏิบัติ ตามกฏหมายร่วมกันคือการลดผลกระทบที่เกิดขึ้น          และช่วยให้บุคคล      ครอบครัว ชุมชนฟื้นตัวจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้เร็ว ที่สุด    
เอกสารอ้างอิง

กรรมการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนแห่งราชอาณาจักร.  แผนป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนแห่งชาติ พ.ศ. 2541.  กรุงเทพฯ :
กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย.
ฝ่ายกิจการพิเศษ การปกครองจังหวัด.  แผนปฏิบัติการการช่วยเหลือราษฎรที่ประสบภาวะภัยแล้ง
จังหวัดขอนแก่น ประจำปี 2540-2541.
บุญเลิศ  จุลเกียรติ. (2540). การบริหารจัดการภาวะฉุกเฉินที่เป็นอุบัติเหตุหมู่. สามเจริญพาณิชย์. พิมพ์ครั้งที่ 2.
กรุงเทพมหานคร.
ศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจระงับป่าดับไฟจังหวัดขอนแก่น.  แผนเฉพาะกิจระงับดับไฟป่าจังหวัด       
           ขอนแก่น พ.ศ. 2541.  ขอนแก่น,  สำนักงานป่าไม้จังหวัดขอนแก่น.
สุโขทัยธรรมธิราช, มหาวิทยาลัย. (2548). การพยาบาลชุมชนและการรักษาพยาบาลเบื้องต้น. หน่วย        ที่ 1-7.นนทบุรี.
พิมพ์ครั้งที่ 6 : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สำนักเลขาธิการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน.  คู่มือปฏิบัติงานป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน พ.ศ. 2539. กรุงเทพฯ : กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย.
สำนักเลขาธิการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน  กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย.  เอกสารประชุมสัมมนาป้องกัน
จังหวัด ผู้ปฏิบัติงานด้านป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนประจำปี 2540. วันที่ 24-25 กุมภาพันธ์ 2540   ณ โรงแรม
เอส.ดี. อเวนิว กรุงเทพฯ.
วรรณเพ็ญ  อินทร์แก้ว. (2541). การดูแลด้านจิตใจแก่ผู้ประสบภัย. วิทยาสารพยาบาล 23,1.
           (มกราคม เมษายน 2541).
อรสา  กงตาล และวันเพ็ญ  ปัณราช. (2546). เอกสารประกอบการสอน การพยาบาลสุขภาพชุมชน ภาควิชาการ
พยาบาลสาธารณสุขศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ทฤษฏีแบบแผนความเชื่อทางสุขภาพ(health belief model)

บทบาทพยาบาลอนามัยชุมชน

แนวข้อสอบกระบวนการชุมชน(part2)