แนวคิดเกี่ยวกับครอบครัว
การพยาบาลครอบครัว
Family Nursing
รวบรวมโดย
อ.กัลยาวีร์ อนนท์จารย์
(M.N.S.CNP.)
ขอบเขตเนื้อหา
1. แนวคิดเกี่ยวกับครอบครัว
เนื้อหา
1.
แนวคิดเกี่ยวกับครอบครัว
ความหมายของครอบครัว
โบมาร์ (Bomar,1996 อ้างใน สุริยา ฟองเกิดและศุภรา หิมานันโต,2559 )
ให้ความหมายของครอบครัวว่า
ครอบครัวคือบุคคลหนึ่งหรือมากกว่า
มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกันโดยสายเลือด การแต่งงานหรือความเป็นเพื่อน
ฟรีดแมน โบเวนและโจนส์ (Friedman , Bowen
, & Jonrs,2003) ให้ความหมายของครอบครัวว่า
ครอบครัวประกอบด้วยบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปมีความรักให้แก่กันและกัน รู้จักแบ่งปัน
และมีความผูกพันใกล้ชิดกันทางอารมณ์และกำหนดว่าตัวเองเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัว
รุจา ภู่ไพบูลย์ (2541) ให้ความหมายของครอบครัวว่า
ครอบครัวรวมถึงกลุ่มชนที่มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิด
ทำหน้าที่เหมือนเป็นสมาชิกในครอบครัวโดยจำเป็นต้องมีความสัมพันธ์ทางสายโลหิตหรือทางกฎหมาย
ดารุณี
จงอุดมการณ์ (2558) ให้ความหมายของครอบครัวว่า ครอบครัวเป็นหน่วยทางสังคม อันทรงพลังมหัศจรรย์ที่ร้อยรัดบุคคลกับบุคคลรวมทั้งสิ่งมีชีวิตที่ดูแล
มีความผูกพันกันทางจิตใจ มีสัมพันธภาพต่อกันและพร้อมในการให้การเกื้อหนุนกันและกันในรูปแบบต่างๆมีความเป็นพลวัตร
เปลี่ยนแปลงได้ตามสถานการณ์บริบทของสังคมที่เปลี่ยนไป
ดังนั้นอาจสรุปตามความเข้าใจของผู้เขียนได้ว่า
ความหมายของครอบครัว ครอบครัวคือ บุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป
ที่มีความผูกพันกันทางอารมณ์ความรู้สึกรักใคร่ซึ่งกันและกันไม่ว่าจะเป็นเพศเดียวกันหรือต่างๆเพศก็ตามขึ้นอยู่กับการกำหนดว่าใครคือครอบครัวของบุคคลในแต่ละสถานการณ์นั้นๆจะมีความสัมพันธ์กันทางสายโลหิตหรือไม่ก็ได้
แต่ต้องมีการยอมรับของบุคคลว่าเป็นครอบครัวเดียวกันและพร้อมในการให้การเกื้อหนุนกันและกันในรูปแบต่างๆ
การจัดประเภทของครอบครัว
ลักษณะครอบครัวประเภทต่างๆ
รวมทั้งการกำหนดนับการเป็นสมาชิกและลำดับชั้นของครอบครัวแต่ละประเภทเข้าไว้ด้วยกันในที่นี้
เพื่อความสะดวกในการมองภาพรวมของ “ครอบครัว” ดังนี้
1.
ครอบครัวที่จัดตามลำดับการก่อตั้งและขนาดของครอบครัว
การจัดประเภทของครอบครัวโดยพิจารณาจากลำดับที่มีการก่อตั้งครอบครัว (Family
formation) ของคนในรุ่นต่างๆ รวมไปถึงขนาดของครอบครัวด้วย สามารถจำแนกได้ดังนี้
1.1 ครอบครัวเดี่ยว (Neuclear
family) คือครอบครัวที่ถือเป็นแก่นแท้หรือแกนหลักของครอบครัวในความหมายที่แท้จริง
เพราะก่อตั้งขึ้นด้วยการที่คนต่างเพศสองคนตกลงใช้ชีวิตร่วมกัน
มีความสัมพันธ์ฉันท์สามี-ภรรยา และสืบทอดสายโลหิตด้วยการให้กำเนิดบุตร
หรือหากไม่มีบุตรโดยสายโลหิต ก็อาจจะมีการรับเลี้ยงดูผู้อื่นมาเป็นบุตรบุญธรรม
ครอบครัวเดี่ยวในลักษณะเช่นนี้ จะประกอบด้วยสมาชิกที่เป็นแกนหลักของครอบครัว
คือสามี - ภรรยา หรือ พ่อ แม่ ลูก สมาชิกมีความสัมพันธ์และผูกพันธ์กันอย่างแน่นแฟ้น
มีการสืบทอดสายโลหิตเพียงทอดเดียว คือจากพ่อ-แม่และลูก
สมาชิกในครอบครัวจึงมีจำนวนไม่มากนัก
มักจะพบครอบครัวประเภทนี้ในสังคมเมืองหรือสังคมสมัยใหม่
บางครั้งจึงมีการเรียกครอบครัวประเภทนี้ว่า ครอบครัวสมัยใหม่ หรือ Modern Family
1.2 ครอบครัวขยาย (Extended family)
เป็นครอบครัวที่แตกแขนงจำนวนสมาชิกออกไป
จากแกนเดิมของครอบครัว
คือนอกจากจะประกอบด้วยวงศาคณาญาติที่อาศัยร่วมอยู่ด้วย
ยังอาจหมายถึงบุคคลอื่นที่มาสมทบในภายหลังโดยนับรวมเข้าร่วมเป็นสมาชิกของครอบครัวด้วย
สมาชิกที่เป็นบุคคลอื่นที่มาสบทบและนับรวมเป็นสมาชิกของครอบครัวนี้
อาจขยายจำนวนเพิ่มขึ้นด้วยการสืบทอดตามสายโลหิตรุ่นต่อรุ่น
หรืออาจมาสบทบเพิ่มเติมด้วยความผูกสมัครรักใคร่
บางครั้งจึงเรียกครอบครัวประเภทนี้ว่า “ครอบครัวร่วม” หรือ Joint family
ซึ่งแบ่งออกเป็นลักษณะ คือ ครอบครัวขยายที่มีความสัมพันธ์ทางสายโลหิต(Consanguinal
family) ครอบครัวขยายที่มีความสัมพันธ์โดยการสมรส (Conjugal family)
ครอบครัวแอบแฝง (Composite or compound family) หรือ “ครอบครัวหลายผัวหลายเมีย”
(Polygamous) ครอบครัวภาระหรือครอบครัวจำเป็น (Essential family)
เป็นครอบครัวที่ฝ่ายบิดาหรือมารดาไม่อาศัยอยู่ด้วยในครัวเรือนเดียวกัน
แยกไปอยู่ต่างหาก ด้วยเหตุผลความจำเป็นในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
2. ครอบครัวที่จัดแบ่งประเภทตามการสืบสายโลหิต แบ่งออกเป็น 2 ประเภทย่อย ดังนี้
•
ประเภทสืบสายโลหิตจากทางฝ่ายบิดา (Patrilincal family)
•
ประเภทสืบสายโลหิตจากทางฝ่ายมารดา (Matrilincal family)
3. ครอบครัวที่จัดแบ่งประเภทตามที่อยู่อาศัยของคู่สมรส จัดแบ่งเป็น 3 ประเภท คือ
•
ครอบครัวที่อยู่อาศัยกับฝ่ายหญิง (Matrilocal family)
•
ครอบครัวที่อยู่อาศัยกับฝ่ายชาย (Patrilocal family)
•
ครอบครัวที่แยกอาศัยอยู่เป็นเอกเทศหรือครอบครัวอิสระ (Independent family)
4. ครอบครัวที่จัดแบ่งตามอำนาจของผู้เป็นหัวหน้าครอบครัว แบ่งได้ดังนี้
•
ครอบครัวที่ยกให้สามีเป็นใหญ่ (Matriarchal authority family)
•
ครอบครัวที่สามี และภรรยามีอำนาจเท่าเทียมกัน (Equalitarian authority)
5. ครอบครัวที่จัดแบ่งลักษณะของการสมรสเป็นการจัดแบ่งประเภทของครอบครัวตามลักษณะของการร่วมใช้ชีวิตแบบสามีภรรยา แบ่งเป็น
• ครอบครัวผัวเดียวเมียเดียว (Monogamy)
เป็นครอบครัวที่คู่ครองทั้งสองฝ่าย คือฝ่าย
ชายและฝ่ายหญิงต่างก็ยึดมั่นในการครองชีวิตคู่กับคู่ครองของตน
• ครอบครัวหลายผัวหลายเมีย (Polygamy)
เป็นครอบครัวขนาดใหญ่ที่ฝ่ายชายหรือหญิงอาจมีคู่ครองอยู่ร่วมกันในครัวเรือนเดียวกันฉันท์สามีภรรยา
• ครอบครัวหนึ่งชายหลายหญิง (Polygyny)
สามีมีภรรยาได้หลายคน ชายเป็นใหญ่ใน
ครอบครัว บุตรที่เกิดขึ้นจากภรรยาทั้งหลายในครัวเรือนนั้นใช้นามสกุลบิดา
และภรรยาอาจเป็นพี่น้อง เป็นญาติ หรือมาจากต่างครอบครัวกันก็ได้
• ครอบครัวหนึ่งหญิงหลายชาย (Polyandry)
ภรรยามีสามีได้หลายคน สามีของหญิงอาจ
เป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน เป็นญาติสนิทกัน
หรือมาจากต่างครอบครัวกันก็ได้ เด็กที่เกิดมาใช้นามสกุลฝ่ายหญิง
มักเกิดขึ้นในสังคมด้อยพัฒนา
• ครอบครัวหลายหญิงหลายชาย (Promiscuity) (ภิญโญ ทองดี,ม.ป.ป)
ภิญโญ ทองดี .(ม.ป.ป). ครอบครัวและสถาบันครอบครัว จาก http://www.human.cmu.ac.th/home/hc/ebook/006103/lesson1/04.htm
เข้าถึงเมื่อ 19 มีนาคม 2563
ไพเราะ
ผ่องโชค สมบูรณ์ จัยวัตน์ และเฉลิมศรี นันทวรรณ .(2547).การพยาบาลอนามัยชุมชน.(พิมพ์
ครั้งที่1).กรุงเทพฯ: จุดทอง จำกัด.
สุริยา
ฟองเกิด ศุภราหิมานันโต.(2559).การพยาบาลครอบครัว.(พิมพ์ครั้งที่1).ชลบุรี:ศรีศิลปการพิมพ์.
Bomar,P.ed.(1996).Nurses
and Family Health Promotion : Concepts Assessment and
Intervention. Philadelphia : S.W.Saunders.
Friedman,M.M.,Bowen,V.R.,&Jones,E.G.(2003).Family
Nursing Theory and Practice
(5th ed.)New Jersey : Upper Saddle River.
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น