ทฤษฏีแบบแผนความเชื่อทางสุขภาพ(health belief model)
แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ ( Health belief
model )
แนวคิดของทฤษฎีนี้เริ่มแรกสร้างขึ้นจากทฤษฎีเกี่ยวกับ “อวกาศของชีวิต” (Life Space) ซึ่งได้คิดขึ้นครั้งแรกโดยนักจิตวิทยา Kurt Lewin ซึ่งมีสมมติฐานว่าบุคคลจะหันเหตนเองไปสู่พื้นที่ที่บุคคลให้ค่านิยมเชิงบวกและขณะเดียวกันจะหลีกเลี่ยงจากพื้นที่ที่มีค่านิยมเชิงลบ
อธิบายได้ว่า
บุคคลจะแสวงหาแนวทางเพื่อจะปฏิบัติตามคำแนะนำเพื่อการป้องกันและฟื้นฟูสภาพตราบเท่าที่การปฏิบัติเพื่อป้องกันโรคนั้นเป็นสิ่งที่มีค่าเชิงบวกมากกว่าความยากลำบากที่จะเกิดขึ้น
จากการปฏิบัติตามคำแนะนำดังกล่าวบุคคลจะต้องมีความรู้สึกกลัวต่อโรคหรือรู้สึกว่าโรคคุกคามตน
และจะต้องมีความรู้สึกว่าตนเองมีพลังที่จะต่อต้านโรคได้ (ประภาเพ็ญ สุวรรณ,
สวิง สุวรรณ, 2536)
แบบแผนความเชื่อทางสุขภาพเป็นแบบแผนหรือรูปแบบที่พัฒนาขึ้นมาจากทฤษฏีทางด้านจิตวิทยาสังคมเพื่อใช้อธิบายการตัดสินใจของบุคคลที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมสุขภาพ
โดยครั้งแรกได้นำมาในการทำนายและอธิบายพฤติกรรมการป้องกันโรค ( preventive health behavior ) ต่อมาภายหลังได้มีการดัดแปลงไปใช้ในการอธิบายพฤติกรรมการเจ็บป่วย (
illness behavior )
และพฤติกรรมของผู้ป่วยในการปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของแพทย์ (sick – role
behavior )
พัฒนาการของแบบแผนความเชื่อทางด้านสุขภาพเกิดขึ้นเมื่อนักวิชาการได้หันเหมาสนใจพฤติกรรมของมนุษย์กันมากขึ้น
เนื่องจากมีความเชื่อว่าพฤติกรรมของมนุษย์เป็นสิ่งที่สามารถศึกษาทำความเข้าใจ
และทำการควบคุมได้โดยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ สำหรับพฤติกรรมสุขภาพ
ได้รับความสนใจศึกษากันมากในตอนต้นของช่วงปีค.ศ 1950-1960
ซึ่งถือว่าเป็นช่วงเริ่มแรกของการพัฒนาแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ
เนื่องจากในระยะนั้นการจัดบริการด้านสาธารณสุข
ที่เน้นกิจกรรมด้านการป้องกันโรคมากกว่ากิจกรรมด้านการรักษาพยาบาล
ไม่ได้รับความสนใจจากประชาชน คือ
ประสบปัญหามีประชาชนมารับบริการการป้องกันโรคกันน้อยลง( อาภาพร เผ่าวัฒนา และคณะ ,2554
: 35 )
รายละเอียดดังนี้
3.2.1
การรับรู้โอกาสเสี่ยงของการเป็นโรค (Perceived
Susceptibility)การรับรู้ต่อโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรค หมายถึง
ความเชื่อของบุคคลที่มีผลโดยตรงต่อการปฏิบัติตามคำแนะนำด้านสุขภาพทั้งในภาวะปกติและภาวะเจ็บป่วย
แต่ละบุคคลจะมีความเชื่อในระดับที่ไม่เท่ากัน
ดังนั้นบุคคลเหล่านี้จึงหลีกเลี่ยงต่อการเป็นโรคด้วยการปฏิบัติตามเพื่อป้องกันและรักษาสุขภาพที่แตกต่างกันจึงเป็นความเชื่อของบุคคลต่อความถูกต้องของการวินิจฉัยโรคของแพทย์
การคาดคะเนถึงโอกาสของการเกิดโรคซ้ำหรือการง่ายที่จะป่วยเป็นโรคต่างๆ
มีรายงานการวิจัยหลายเรื่องที่ให้การสนับสนุนความเชื่อต่อโอกาสเสี่ยงของการเป็นโรคว่ามีความสัมพันธ์ในทางบวกกับพฤติกรรมการปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่
เช่นเมื่อบุคคลป่วยเป็นโรคใดโรคหนึ่ง
ความรู้สึกของบุคคลที่ว่าตนเองจะมีโอกาสป่วยเป็นโรคนั้นๆอีกจะมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับ
การปฏิบัติพฤติกรรมเพื่อป้องกันโรคไม่ให้เกิดกับตนเองอีก
(Heinze,
1962; Elling et al.,1960 )
3.2.2
การรับรู้ความรุนแรงของโรค (Perceived Severity)เป็นการประเมินการรับรู้ความรุนแรงของโรค
ปัญหาสุขภาพหรือผลกระทบจากการเกิดโรคซึ่งก่อให้เกิดความพิการหรือเสียชีวิต
การประเมินความรุนแรงนั้นอาศัยระดับต่างๆของการกระตุ้นเร้าของบุคคลเกี่ยวกับการเจ็บป่วยนั้น
ซึ่งอาจจะมองความรุนแรงของการเจ็บป่วยนั้นทำให้เกิดความพิการหรือตายได้หรือไม่หรืออาจมีผลกระทบต่อหน้าที่การงาน
เมื่อบุคคลเกิดการรับรู้ความรุนแรงของโรคหรือการเจ็บป่วยแล้วจะมีผลทำ
ให้บุคคลปฏิบัติตามคำแนะนำเพื่อการป้องกันโรค ซึ่ง จากผลการวิจัยจำนวนมากพบว่า
การรับรู้ความรุนแรงของโรคมีความสัมพันธ์ในทางบวกกับพฤติกรรมการป้องกันโรค เช่น
การปฏิบัติตนเพื่อป้องกันอุบัติเหตุ
3.2.3
การรับรู้ถึงประโยชน์ของการรักษาและป้องกันโรค ( Perceived Benefits ) การรับรู้ถึงประโยชน์ของการรักษาและป้องกันโรค
หมายถึง
การที่บุคคลแสวงหาวิธีการปฏิบัติให้หายจากโรคหรือป้องกันไม่ให้เกิดโรคโดยการปฏิบัตินั้นต้องมีความเชื่อว่าเป็นการกระทำที่ดีมีประโยชน์และเหมาะสมที่จะทำให้หายหรือไม่เป็นโรคนั้นๆ
ดังนั้น การตัดสินใจที่จะปฏิบัติตามคำแนะนำก็ขึ้นอยู่กับการเปรียบเทียบถึงข้อดีและข้อเสียของพฤติกรรมนั้นโดยเลือกปฏิบัติในสิ่งที่ก่อให้เกิดผลดีมากกว่าผลเสีย
3.2.4
การรับรู้ต่ออุปสรรค ( Perceived Barriers ) การรับรู้ต่ออุปสรรคของการปฏิบัติ
หมายถึง การคาดการณ์ล่วงหน้าของบุคคลต่อการปฏิบัติพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพอนามัยของบุคคลในทางลบ
ซึ่งอาจได้แก่ ค่าใช้จ่าย หรือผลที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติกิจกรรมบางอย่าง เช่น
การตรวจเลือดหรือการตรวจพิเศษทำให้เกิดความไม่สุขสบาย
การมารับบริการหรือพฤติกรรมอนามัยนั้นขัดกับอาชีพหรือการดำเนินชีวิตประจำวัน
ดังนั้นการรับรู้อุปสรรคเป็นปัจจัยสำคัญต่อพฤติกรรมการป้องกันโรค
และพฤติกรรมของผู้ป่วยนี้สามารถใช้ทำนายพฤติกรรมการให้ความร่วมมือในการรักษาโรคได้
3.2.5
สิ่งชักนำให้เกิดการปฏิบัติ ( Cues to Action ) สิ่งชักนำให้เกิดการปฏิบัติเป็นเหตุการณ์หรือสิ่งที่มากระตุ้นบุคคลให้เกิดพฤติกรรมที่ต้องการออกมา
ซึ่ง
Becker, Maiman ( 1975 ) ได้กล่าวว่า
เพื่อให้แบบแผนความเชื่อมีความสมบูรณ์นั้นจะต้องพิจารณาถึงสิ่งชักนำให้เกิดการปฏิบัติซึ่งมี
2 ด้าน คือ สิ่งชักนำภายในหรือสิ่งกระตุ้นภายใน ( Internal
Cues ) ได้แก่ การรับรู้สภาวะของร่างกายตนเอง เช่น อาการของโรคหรือ
การเจ็บป่วย ส่วนสิ่งชักนำภายนอกหรือสิ่งกระตุ้นภายนอก (External Cues) ได้แก่
การให้ข่าวสารผ่านทางสื่อมวลชนหรือการเตือนจากบุคคลที่เป็นที่รักหรือนับถือ เช่น
สามี ภรรยา บิดา มารดา เป็นต้น
3.2.6
ปัจจัยร่วม (Modifying Factors) ปัจจัยร่วม
เป็นปัจจัยที่ไม่มีผลโดยตรงต่อพฤติกรรมสุขภาพ
แต่เป็นปัจจัยพื้นฐานที่จะส่งผลไปถึงการรับรู้และการปฏิบัติ ได้แก่
3.2.6.1
ปัจจัยด้านประชากร เช่น อายุ ระดับการศึกษา เป็นต้น
3.2.6.2 ปัจจัยทางด้านสังคมจิตวิทยา เช่น บุคลิกภาพ สถานภาพทางสังคม
กลุ่มเพื่อนกลุ่มอ้างอิง มีความเกี่ยวข้องกับบรรทัดฐานทางสังคม
ค่านิยมทางวัฒนธรรมซึ่งเป็นพื้นฐานทำให้เกิดการปฏิบัติเพื่อป้องกันโรคที่แตกต่างกัน
3.2.6.3
ปัจจัยโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ความรู้เรื่องโรค
ประสบการณ์เกี่ยวกับโรค เป็นต้น
1.2.7.
แรงจูงใจด้านสุขภาพ (Health
Motivation)แรงจูงใจด้านสุขภาพ
หมายถึง สภาพอารมณ์ที่เกิดขึ้นจากการถูกกระตุ้นด้วยเรื่องเกี่ยวกับสุขภาพอนามัย
ได้แก่ ระดับความสนใจ ความใส่ใจ ทัศนคติและค่านิยมทางด้านสุขภาพ เป็นต้น
สรุปองค์ประกอบของแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ
1.
การรับรู้ต่อโอกาสเสี่ยงของการเป็นโรค
(Perceived
Susceptibility)
2.
การรับรู้ความรุนแรงของโรค (Perceived
Severity)
3.
การรับรู้ถึงประโยชน์ของการรักษา
ป้องกันโรค ( Perceived
Benefits ) และการรับรู้ต่ออุปสรรค
( Perceived
Barriers )
4.
ปัจจัยร่วม (Modifying
Factors) (อาภาพร เผ่าวัฒนา และคณะ ,2554 )
การประยุกต์แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพไปใช้ในการสร้างเสริมสุขภาพ
แบบแผนความเชื่อทางด้านสุขภาพ
กล่าวว่าการปฏิบัติขิงบุคคลในการป้องกันโรคหรือการให้ความร่วมมือในการป้องกันโรคนั้น
ขึ้นอยู่กับความเชื่อด้านสุขภาพ และปัจจัยร่วมที่ชักนำให้เกิดการปฏิบัติ ดังนั้น
พยาบาลที่ต้องชักนำให้เกิดการส่งเสริมสุขภาพในชุมชนจึงจำเป็นต้อง
1.
ศึกษาปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพของคนในชุมชนและค้นหาประชากรกลุ่มเสี่ยงโดยพิจารณจากปัญหาสุขภาพ
ข้อมูลพฤติกรรมสุขภาพที่มีอยุ่แล้ว
2.
เมื่อได้พฤติกรรมสุขภาพที่ต้องการปรับเปลี่ยนแล้ว
ขั้นต่อไปคือการสำรวจหรือตรวจสอบความเชื่อด้านสุขภาพที่มีอยู่เดิมของบุคคลก่อน
ได้แก่ ความเชื่อเกี่ยวกับโอกาสเสี่ยงของการเป็นโรค ความรุนแรงของโรค
ประโยชน์และค่าใช้จ่าย หรืออุปสรรคของการปฏิบัติด้านสุขภาพในเรื่องนั้น
ตลอดจนปัจจัยอื่นๆที่มีส่วนกระตุ้นการปฏิบัติของคนในชุมชน
3.
หลังจากนั้น
จึงจัดโครงการสร้างเสริมสุขภาพที่มีเนื้อหาและกระบวนการที่มุ่งส่งเสริมให้กลุ่มเสี่ยง
3.1
มีความเชื่อต่อโอกาสเสี่ยงของการเป็นโรค
โดยการวิเคราะห์
ยกตัวอย่างหรือชี้ให้เห็นถึงความเชื่อมโยงของพฤติกรรมที่ปฏิบัติอยู่จริง
กับโอกาสในการเกิดโรคหรือปัญหาสุขภาพ
มีความเชื่อต่อความรุนแรงของโรค
โดยเน้นให้เห็นถึงผลที่ตามมาจากพฤติกรรมเสี่ยงนั้นๆ
อาจใช้ตัวอย่างจริงของบุคคลที่ได้รับผลกระทบจากการปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสม
เช่น ผู้ที่ถูกตัดกล่องเสียงจากการสูบบุหรี่ เป็นต้น
3.2
มีความเชื่อต่อประโยชน์ที่จะได้รับจากการปฏิบัติตามคำแนะนำ
โดยให้รายละเอียดของการปฏิบัติที่ถูกต้อง
และเน้นถึงการเกิดผลดีของการปฏิบัติในด้านของการป้องกันโรค การหายจากโรค การเป็นแบบอย่างที่ดีและอื่นๆ(อาภาพร
เผ่าวัฒนา และคณะ ,2554 :
40 )
3.3
มีความเชื่อต่อประโยชน์ที่จะได้รับจากการปฏิบัติตามคำแนะนำ
โดยให้รายละเอียดของการปฏิบัติที่ถูกต้อง
และเน้นถึงการเกิดผลดีของการปฏิบัติในการป้องกันโรค การหายจากโรค
การเป็นแบบอย่างที่ดีและอื่นๆ
3.4
ลดความเชื่อต่ออุปสรรคของการปฏิบัติ
โดยการสร้างความมั่นใจต่อการปฏิบัติ ให้ข้อมูลที่ถูกต้องหรือปรับปรุงรูปแบบการบริหารจัดการ
เพื่อให้การปฏิบัติมีความสะดวก ลดขั้นตอนที่ยุ่งยากหรือลดค่าใช้จ่ายที่มากเกินไป
4.
วางแผนจัดสิ่งชักนำที่เหมาะสมที่จะเป็นตัวกระตุ้นให้บุคคลมีการปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพได้ดีขึ้น
เช่น แรงสนับสนุนจากครอบครัวหรือเพื่อนร่วมงาน การนัด การส่งไปรษณีย์บัตรเตือน
เป็นต้น(อาภาพร เผ่าวัฒนา และคณะ ,2554 : 41
เอกสารอ้างอิง
อาภาพร
เผ่าวัฒนา และคณะ (2554) การสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในชุมชนการประยุกต์แนวคิดและ
ทฤษฏีสู่การปฏิบัติ . กรุงเทพฯ.หจก.
โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา.
Round , R.,
Marshall, B., & Horton , K.(2005). Planning
for effective health promotion
evaluation,
Melbourne:
Victorian Government Department of Human Services.
สวัสดี คุณกำลังมองหาสินเชื่อรวมหนี้, สินเชื่อไม่มีหลักประกัน, สินเชื่อธุรกิจ, สินเชื่อจำนอง, สินเชื่อรถยนต์, สินเชื่อนักศึกษา, สินเชื่อส่วนบุคคล, เงินร่วมลงทุน ฯลฯ ! ฉันเป็นผู้ให้กู้เอกชน ฉันให้สินเชื่อแก่บริษัทและบุคคลทั่วไปด้วยอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำและสมเหตุสมผลที่ 2% ส่งอีเมล์ไปที่: christywalton355@gmail.com
ตอบลบ