การตรวจร่างกายเบื้องต้นสำหรับพยาบาล
การตรวจร่างกายเบื้องต้น
ตามเทคนิคการตรวจแบบ ดู คลำ เคาะ ฟัง
รายการประเมิน
|
ปฏิบัติ
(1คะแนน)
|
ไม่ปฏิบัติ
(0คะแนน)
|
1.วัตถุประสงค์การตรวจร่างกาย
- เป็นขั้นตอนการประเมินค้นหาความผิดปกติเพื่อประกอบการวินิจฉัยและให้การพยาบาลผู้ป่วยได้ถูกต้อง(เป็น
objective data)
-เป็นการตรวจเพื่อค้นหาความผิดปกติหรือค้นหาโรคตั้งแต่ระยะเริ่มแรกเพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนและลดความรุนแรงของโรคที่อาจจะเกิดขึ้นในบางโรคได้
ดังนั้นการตรวจร่างกายควรทำต่อเนื่องและเป็นประจำในการตรวจร่างกายนี้ต้องใช้ทักษะการดู
คลำ เคาะ ฟัง
|
||
2.อุปกรณ์ที่ใช้ในการตรวจร่างกาย
´ Thermometer
(ปรอทวัดไข้)
´ Watch
with a second hand (นาฬิกาข้อมือ)
´ Sphygomanometer (เครื่องวัดความดันโลหิต)
´ Stethoscope (หูฟัง)
´ ไฟฉาย
´ ไม้กดลิ้น
´ ไม้ตรวจรีเฟล็กซ์
´ เข็มกลัดซ่อนปลาย
´ ถุงมือ
|
รายการประเมิน
|
ปฏิบัติ
(1คะแนน)
|
ไม่ปฏิบัติ
(0คะแนน)
|
3.ลักษณะทั่วไป (ดู)ดูรูปร่าง
หน้าตา การแต่งกาย เพศ วัย สีหน้า ท่าทาง การเดิน บุคลิกภาพ ผิวพรรณ
ลักษณะของผิวหนังและร่องรอยต่างๆ
|
||
4.สัญญาณชีพ(ดู, คลำ, ฟัง) ให้วัดปรอท
จับชีพจร นับการหายใจ วัดความดันโลหิต
|
||
5.ศรีษะและผม ( ดู,คลำ) รูปร่างของศรีษะ
ลักษณะผม สั้นหรือยาว บางหรือหนา สีดำมัน หรือสีฟางแห้งและกรอบ
คลำศรีษะหาจุดกดเจ็บ หาก้อน ตุ่ม นุน ต่างๆเป็นต้น
|
||
6.ตา (ดู)
ตาภายนอก: ลักษณะโครงสร้างทั่วไป หนังตา ขนตา ลูกตา
การมองเห็น: ถาม และถ้าไม่ชัด
ตรวจสอบโดยให้อ่านหนังสือในระดับที่คนทั่วไปอ่านได้ชัด ถ้ามีปัญหามาก ส่งตรวจVA
เยื่อบุตา:
ผู้ตรวจใช้นิ้วเดียวเหนี่ยวเปลือกตาล่างลงต่ำ เพื่อสำรวจลักษณะสีของเยื่อบุตา
ลักษณะการอักเสบหรือมีความผิดปกติอื่นๆ
ตาขาว: ผู้ตรวจใช้นิ้วเดียวดึงเปลือกตาบนขึ้นไป
แล้วให้ผู้ป่วยมองลงต่ำ เพื่อตรวจลักษณะของตาขาว
ปฏิกิริยาของรูม่านตา: ผู้ตรวจใช้ไฟฉายส่องไปที่รูม่านตาทีละข้างแล้วเลื่อนแสงออกไป
สังเกตรูม่านตาในขณะที่ถูกแสงไฟฉายและขณะที่แสงไฟพ้นไปแล้ว
และให้ผู้ถูกตรวจกลอกตาไปในทิศต่างๆเพื่อดูการทำงานของกล้ามเนื้อและประสาทสมอง
|
รายการประเมิน
|
ปฏิบัติ
(1คะแนน)
|
ไม่ปฏิบัติ
(0คะแนน)
|
7.หู
(ดู,คลำ)
โครงสร้าง ดูโครงสร้างทั่วไปภายนอก
คลำหาความผิดปกติภายนอก เช่น ตุ่ม ก้อนต่างๆ เป็นต้น
การฟังเสียง: ผู้ตรวจกระซิบข้างหูทีละข้าง
แล้วถามผู้ถูกตรวจว่าได้ยินอะไร
ช่องหู:ใช้ไฟฉายส่องดูในช่องหูเพื่อดู discharge หรือลักษณะการอักเสบ
|
||
8.จมูก (ดู,คลำ,เคาะ)
8.1 ดู
โครงสร้าง: ดูโครงสร้างทั่วไป
ช่องรูจมูก :ให้ผู้ถูกตรวจแหงนหน้าขึ้น
ใช้ไฟฉายส่องดูในรูจมูกทีละข้างเพื่อสังเกตโครงสร้างภายใน discharge และความผิดปกติอื่นๆ ถ้ามีอาการผิดปกติ ให้ดมแอมโมเนีย
หรือของที่หาง่าย
|
||
8.2 คลำและเคาะ
คลำและเคาะ ตรงตำแหน่งไซนัสให้ครบทุกตำแหน่ง
|
||
9.ปากและคอ (ดู)
9.1 ริมฝีปาก,เยื่อบุปาก,ฟันและเหงือก,ลิ้น,ลิ้นไก่
ริมฝีปาก: ดูลักษณะริมฝีปาก
เยื่อบุช่องปาก:ให้ผู้ป่วยอ้าปาก
ใช้ไฟฉายส่องดูเยื่อบุในช่องปาก เพื่อดูสีของเยื่อบุ รอยแผลและอื่นๆ
ฟันและเหงือก: ดูลักษณะฟันผุ
ฟันโยก ฟันหลุด เหงือกสีชมพูหรือซีด
ลิ้น: ดูลักษณะทั่วไป สีของลิ้น ร่องรอยบนลิ้น
ลิ้นไก่: ดูลักษณะ ลิ้นไก่อยู่ตรงกลาง หรือเอียงไปด้านใด ดูความผิดปกติอื่นๆ
|
||
รายการประเมิน
|
ปฏิบัติ
(1คะแนน)
|
ไม่ปฏิบัติ
(0คะแนน)
|
9.2 คอหอย, ทอนซิล
Posterior pharyngeal wall: ผู้ตรวจใช้ไม้กดลิ้นกดลงบนลิ้นประมาณ
2/3 ส่วนนับจากปลายลิ้นเข้าไปจะเห็น Posterior pharyngeal wall ให้สังเกตลักษณะตุ่มของ lymphoid follicle สีของเยื่อบุ
dischargeหรือแผล และอื่นTonsil:จากวิธีการตรวจ Posterior pharyngeal wall ให้สังเกตต่อไปถึง ทอนซิล ทั้งสองข้าง เพื่อดูลักษณะบวมแดง
โตมากผิดปกติและอื่นๆ
|
||
10.คอด้านนอก (ดู,คลำ)
10.1
ก้อนทูมและต่อมน้ำเหลือง : ดูโครงสร้างทั่วไป คลำบริเวณหน้าหู หลังหู ใต้คาง
ใต้หูตลอดลงมาตามคอจนถึงกระดูกไหปลาร้า และในร่องเหนือกระดูกไหปลาร้า ของทั้ง 2
ข้าง แล้วมาตรงกลางคอด้านหน้าให้ทั่ว เพื่อตรวจต่อมน้ำเหลืองและก้อนทูมต่างๆ
การกลืน: ให้ผู้ถูกตรวจกลืนน้ำลาย ผู้ตรวจสังเกตดู เช่น
กลืนสะดวกดี หรือติดขัด
|
||
10.2
ต่อมthyroid: ดูมีก้อนนูนผิดปกติหรือไม่
และให้ผู้ถูกตรวจแหงนหน้ากลืนน้ำลาย จะเห็นต่อม thyroid
วิ่งขึ้นลงตามการกลืน
คลำ: คลำบริเวณต่อมทั้ง 2 lobe และคลำทีละ
lobe โดยใช้มืออีกข้าง fixed lobe ที่ยังไม่คลำไว้
|
||
11.ทรวงอกและเต้านม (ดู,คลำ,เคาะ,ฟัง)
**11.1 (ดู,คลำ,เคาะ)
ดูผนังหน้าอก :ดูลักษณะทั่วไปของสีผิว
จุดรอยต่างๆบนผิวตำแหน่งของเต้านมและหัวนม ดูการเคลื่อนไหว:ดูการเคลื่อนไหวของทรวงอกทั้ง 2 ข้าง เท่ากันหรือต่างกัน
คลำ
คลำตามส่วนต่างๆของปอดเพื่อหาจุดกดเจ็บ
การเคาะ เคาะในช่องซี่โครงในบริเวณต่างๆของปอดทั้งด้านหน้าและด้านหลังเช่นเดียวกับการฟังจะเป็นลักษณะเสียง
resonance คือไม่โปร่งเกินและก็ไม่ทึบเกิน
|
||
รายการประเมิน
|
ปฏิบัติ
(1คะแนน)
|
ไม่ปฏิบัติ
(0คะแนน)
|
**11.2 ฟัง
ฟังเสียงปอด โดยการใช้ stethoscope ฟังเสียงปอดและสังเกต สิ่งต่างๆดังนี้
ระดับเสียง สังเกตความดังของการหายใจ เช่น
ดังปกติ ดังมากกว่าปกติ และเกิดขึ้นที่ปอดซ้ายหรือขวาส่วนบนหรือล่าง
เสียงของปอดทั้ง 2 ข้าง ควรจะดังใกล้เคียงกัน
จังหวะ สังเกตจังหวะการหายใจ สม่ำเสมอ
หรือไม่ สม่ำเสมอ ถ้ามีหยุดหายใจเป็นครั้งคราวต้องบันทึกระยะเวลาที่หยุดหายใจนั้นด้วย
อัตราการหายใจ สังเกตภายใน 1 นาที
เสียงผิดปกติ สังเกตเสียงหายใจเข้า
และออกและเสียงผิดปกติ เช่น เสียง wheezing Rhonchi crepitation ถ้ามีเสียงผิดปกติให้บันทึกว่าเป็นเสียงชนิดใดเกิดขึ้นที่ไหน
|
||
**11.3 เต้านม เต้านม: (ดู,คลำ)
การดู สังเกตทั่วๆไป เช่น รอยบุ๋ม โป่งนูน
ขนาดควรเท่ากันทั้ง 2ข้าง ตำแหน่งของหัวนมควรอยู่ระดับเดียวกัน สังเกต discharge
หรือของเหลวที่ออกทางหัวนม การดูเต้านมในท่าห้อยแขนลง
ยกแขนขึ้นและท้าวเอวทั้ง 2 ข้าง
การคลำเต้านม การคลำต้องคลำให้ละเอียดทุกส่วนของเต้านมรวมทั้งบริเวณหัวนม
รอบหัวนมและเต้านมรอบๆซึ่งจะคลำ 3 ท่า
ครบถ้วนถ้าพบความผิดปกติเช่นก้อนควรสังเกตขนาดรูปร่างความแข็ง
การเคลื่อนที่และกดเจ็บหรือไม่เจ็บ เมื่อคลำเต้านมเสร็จแล้วต้องคลำต่อมน้ำเหลืองใต้รักแร้ด้วย
|
รายการประเมิน
|
ปฏิบัติ
(1คะแนน)
|
ไม่ปฏิบัติ
(0คะแนน)
|
12.หัวใจ (คลำ,ฟัง)
12.1
คลำ: หา PMI มักจะอยู่บริเวณช่องซี่โครงที่5
ตัดกับเส้นกึ่งกลางกระดูกไหปลาร้าด้านซ้าย
ฟังเสียงหัวใจ ที่ตำแหน่งmitral
valve โดยการใช้ stethoscope ฟังหัวใจและสังเกตสิ่งต่างๆดังนี้
ระดับเสียง สังเกตความดังของการเต้นของหัวใจ
เช่น ดังแรงมาก เสียงค่อยมาก และเกิดขึ้นบริเวณใดของหัวใจ
จังหวะ สังเกตจังหวะการเต้นของหัวใจ
ถ้าไม่สม่ำเสมอให้สังเกตชนิดของความไม่สม่ำเสมอ เช่น ถี่ผิดปกคิและห่างผิดปกติ
เป็นต้น สังเกตว่าใน 1 นาทีมีความไม่สม่ำเสมอนี้กี่ครั้งหรือกี่รอบ
อัตราการเต้นต่อนาที สังเกตเสียงการเต้นของหัวใจ คือ เสียง
1และเสียง2(ดุบ-ลุบ) เท่ากับการเต้นของหัวใจ 1
ครั้งแล้วจึงนับอัตราการเต้นของหัวใจใน 1 นาที
เสียงผิดปกติ สังเกตเสียงผิดปกติ เช่น murmur
เป็นเสียงฟู่คล้ายของเหลวกระแทก ให้สังเกตว่าเกิดเสียง
murmur ที่ตรงไหนในระหว่างเสียง1 กับเสียง 2 หรือเสียง 2
กับเสียง1 และเกิดขึ้นบริเวณใดของหัวใจ เช่น เกิด murmur
อยู่หลังเสียง 1 หน้าเสียง 2 คือเป็น systolic murmur เสียงดังมากประมาณเกรด
4/6 ได้ยินที่บริเวณ mitral valve
|
||
**12.2 ตรวจที่ตำแหน่ง vale ตำแหน่งที่ใช้
stethoscope ฟังเสียงหัวใจ
จุดที่1 ในช่องซี่โครงที่2 ด้านขวาชิดกับ sternum
เป็น aortic valve
จุดที่2 ในช่องซี่โครงที่2 ด้านซ้ายชิดกับ sternum
เป็น pulmonic
valve
จุดที่3 ในช่องซี่โครงที่4-5 ด้านซ้ายชิดกับ
sternum เป็นบริเวณ tricuspid valve
จุดที่4 ในช่องซี่โครงที่5 ด้านซ้าย
เลื่อนออกด้านนอก พบกับจุดตัดของเส้นกึ่งกลางกระดูกไหปลาร้า ด้านซ้ายเป็นบริเวณ mitral
valve
นอกจากนี้แล้วยังมีการฟังเสียงหัวใจบริเวณที่ไม่ใช่เป็นตำแหน่งของลิ้นหัวใจ
เช่น บริเวณช่องซี่โครงที่3 ด้านซ้ายชิด sternum ที่เรียกว่า Erb’s
point เพื่อตรวจหาความผิดปกติของหัวใจแต่กำเนิด
|
รายการประเมิน
|
ปฏิบัติ
(1คะแนน)
|
ไม่ปฏิบัติ
(0คะแนน)
|
13.ท้อง (ดู,ฟัง,คลำ,เคาะ)
**13.1 (ดู,ฟัง)
ดูผนังหน้าท้อง สังเกตทั่วๆไป เช่น
รอยแผลเป็นบริเวณที่มีลักษณะโป่งนูน เส้นเลือดบนผิวหนัง
และอื่นๆถ้าพบความผิดปกติให้สังเกตว่า อยู่ในตำแหน่งใด
ฟัง Bowel sound ใช้ stethoscope
ฟังที่หน้าท้องบริเวณ lower quadrant
|
||
**13.2 (คลำ,เคาะ)
คลำก้อนม้าม ตับ ให้ผู้ป่วยนอนหงาย ทำท้องให้หย่อนๆ
ผู้ตรวจเข้าทางด้านขวาของผู้ป่วยแล้วเริ่มต้นจากสัมผัสมือเบาๆคลำตื้นๆทั่วไปทั้ง
4 quadrant แล้วคลำลึกๆแต่ละ quadrant ทั้ง 4 โดยเฉพาะRUQ เพื่อคลำตับโดยวิธีการช้อนนิ้วมือข้างขวาของผู้ตรวจเข้าใต้ชายโครงขวาของผู้ป่วย
คลำม้าม โดยช้อนนิ้วมือเข้าใต้ชายโครงซ้ายของผู้ป่วยเล็กน้อยและใช้มือซ้ายยก
ด้านหลังตรงกันขึ้นมาเล็กน้อย
การเคาะ ส่วนมากจะเคาะบริเวณใต้ epigastrium
จะเป็นเสียงโปร่งเพราะมีลม ส่วนอื่นๆก็จะมีเสียงโปร่ง
น้อยกว่าเล็กน้อย ถ้าบริเวณใดมีเสียงทึบ แสดงว่ามีเนื้อหรือมีก้อนบริเวณนั้นมักใช้ตรวจสอบว่า
ม้ามโต ตับโต หรือไม่ โดยเคาะใต้ชายโครงซ้ายและขวาตามลำดับ
การเคาะบริเวณไต ที่ตำแหน่ง CVA
จะเป็น direct หรือ indirect ก็ได้ โดยกำมือแล้วเคาะลงบนบริเวณ ปกติจะ CVA
ไม่เจ็บ
|
||
14.อวัยวะสืบพันธ์ภายนอก (ดู)
ลักษณะโครงสร้างทั่วไป ใช้หลักการสังเกตในขณะทำ flushing
หรือขอตรวจอาการเพิ่มเติม
ดูลักษณะ discharge
|
รายการประเมิน
|
ปฏิบัติ
(1คะแนน)
|
ไม่ปฏิบัติ
(0คะแนน)
|
15.แขน ขา ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแขนขา (ดู,คลำ,เคาะ)
15.1( ดู,คลำ)
ดูลักษณะทั่วไป สังเกตดูรูปร่าง
ขนาด การเคลื่อนไหวทั่วๆไป
คลำ :การตรวจ บวม pitting
edema โดยการกดนิ้วลงบนผิวหนังที่มีกระดูกรองรับ เช่น
หลังมือหลังเท้า แขน และหน้าแข้ง
ทดสอบกำลังแขนและขา
ทดสอบบริเวณมือทั้ง 2 ข้าง โดยให้ผู้ถูกตรวจกำนิ้วของผู้ตรวจแล้วบีบ
พยายามอย่าให้ผู้ตรวจดึงนิ้วออกได้
จับหรือคล้องแขนของผู้ตรวจแล้วออกแรงดึงเข้าหาตัว
พร้อมกันทั้งคู่(กล้ามเนื้อกลุ่ม flexor บริเวณศอก) จับแขนผู้ถูกตรวจแล้วให้ผู้ผู้ถูกตรวจผลักแขนออกผู้ตรวจดันแขนต้านไว้(กล้ามเนื้อกลุ่ม
extensor บริเวณศอก)ให้ผู้ป่วยหงาย
ยกขาขึ้นเหนือพื้นแล้วผู้ตรวจกดบริเวณเหนือเข่าผู้ป่วยต้านไว้
ทำทั้งซ้ายและขวา(กล้ามเนื้อflexor บริเวณสะโพก)จับหรือคล้องขาของผู้ถูกตรวจในท่าตั้งแล้วออกแรงดึงเข้าหาตัวพร้อมกันทั้งคู่(กล้ามเนื้อกลุ่มflexor
บริเวณเข่า )ตรวจกำลังของกล้ามเนื้อ
|
||
15.2.(เคาะ)
การตรวจ reflex การตรวจ deep tendon reflex โดยการเคาะบริเวณดังต่อไปนี้
Superior แขนซ้ายและขวา
Biceps แขนซ้ายและขวา
Triceps แขนซ้ายและขวา
Knees ขาซ้ายและขวา
Anklesขาซ้ายและขวา
|
||
16. การตรวจ planta response ใช้วัสดุปลายเกือบแหลม เช่น ปลาย reflex hammer ขูดฝ่าเท้าเป็นรูปตัว
J ถ้าปกตินิ้วเท้าจะงอเข้าเหมือนกันทุกนิ้ว
แต่ถ้าผิดปกตินิ้วหัวแม่เท้าจะยกขึ้น นิ้วอื่นๆจะกางออก ถือว่า positive
|
||
17. การตรวจประสาทจากไขสันหลัง
ทดสอบ SLR (straight leg raising)
โดยการยกขาขึ้นทีละข้างในแนวตรงจะได้สูงถึงตั้งฉากกับพื้น ถ้ามีความผิดปกติของ spinal
nerve root จะยกได้ไม่ถึง
|
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น